วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

คุกมีไว้ขังคนจนจริงหรือ??

คุกไทยมีไว้ขังคนจนจริงหรือ ??




คนจน แบบตายายเก็บเห็ดติดคุก 15 ปี 


คนรวยขับรถชนคนตาย ทำไมรอลงอาญา


ใครเป็นผู้กำหนดให้เป็นเช่นนี้ ศาล อัยการ ตำรวจ ทนายความ ฝ่ายนิติบัญญัติ สส. สว. สนช.

หรือฝ่ายบริหาร ที่มีนายกรัฐมนตรี ต้องรับผิดชอบ หรือ เราๆ ทุกคนที่เป็นประชาชนคนธรรมดา

กฎหมายนั้นเขียนขึ้นโดยคน ไม่ใช่มาจากพระเจ้า เราจึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้

เช่นที่เป็นข่าวมีการรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อแก้กฎหมาย ให้คดีข่มขืน ได้รับโทษประหารชีวิตทุกกรณี เป็นต้น

วันนี้ผมในฐานะทนายความตัวเล็กๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมน้้น ซึ่งไม่มีอำนาจเพียงพอท่ี่จะไปเเก้ไขกฎหมายได้

แต่ผมเชื่อมั่นในพลังของสังคม พลังของโซเชียลเน็ตเวิร์ค พลังของคนที่รักความเป็นธรรม ว่าเราสามารถส่งเสียงไปให้ผู้ที่มีอำนาจ

เปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมได้ ต่อไปจะได้ไม่มีคำว่า คุกมีไวัขังคนจน อีกต่อไป

ที่นี้กฎหมายที่ออกแบบเพื่อจับคนเขาคุกหรือเอาคนออกจากคุก หลักๆ ก็คือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

เพราะตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด พ.ศ.๒๕๔๐ มาตรา ๓๑ บัญญัติไว้ว่า 

"ให้การจับ คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคล หรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายจะกระทำมิได้

เว้นแต่ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย " ดังนั้น หลังจากมีรัฐธรรมนูญดังกล่าวแล้ว ทำให้มีการแก้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตามมา

แต่ก็ยังไม่มีการแก้กฎหมายที่ทำให้คนจนเสียเปรียบต้องติดคุกอยู่นะคับ

โดยมีกฎหมายที่ทำให้คนจนติดคุก เสียเปรียบผู้มีอันจะกินในสังคมอยู่หลัก ๆ ก็คือ

คนจน คนไม่มีเส้นติดคุกก่อนศาลตัดสินว่าถูกหรือผิด และ

คนจน ติดคุกหลังศาลตัดสินแต่คนรวยรอดตัวแบบสบาย ๆ


คนจนติดคุกก่อนศาลตัดสินว่าถูกหรือผิด ก็คือ ติดคุกระหว่างศาลพิจารณาคดีคับ

๑. หมวดที่ ๓ ว่าด้วยการปล่อยตัวชั่วคราว หรือที่ชาวบ้านเราเรียกว่า การประกันตัวนั้นเอง

ซึ่งตามมาตรา ๑๑๐ กำหนดไว้ว่า " ในคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินห้าปีขึ้นไป ผู้ที่ถูกปล่อยตัวชั่วคราวต้องมีประกันและจะมีหลักประกันด้วย

หรือไม่ก็ได้

            วรรคสองในคดีอย่างอื่นจะปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันเลย หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันด้วยก็ได้ "

และตามมาตรา ๑๑๑ " เมื่อจะปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีประกันเลย ก่อนที่จะปล่อยไป ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยสาบานหรือปฎิญาณตนว่าจะมาตามนัด

หรือหมายเรียก "

 ซึ่งจากกฎหมายทั้งสองมาตราดังกล่าว ก็จะสรุปได้ว่า ถ้าเป็นโทษเล็กๆ น้อย ๆ ศาลก็สามารถให้จำเลยหรือผู้ต้องหาสาบานตัวว่าจะมาตามนัดแล้วปล่อยกลับ

บ้านได้ คนจนไม่มีเงินก็กลับบ้านได้ ไม่ต้องติดคุก รอก่อนค่อยตัดสินที่หลัง

แต่ตามมาตรา ๑๑๐ นั้นกลับกำหนดให้คดีที่มีโทษจำคุกเกินห้าปีขึ้นไป การปล่อยตัวชั่วคราวต้องมีหลักประกัน ซึ่งทำให้ศาลไม่สามารถให้จำเลยสาบานตัวแล้ว

กลับบ้านได้เหมือนคดีเล็กๆ น้อยๆ ได้ จึงทำให้คนจนต้องติดคุกเพราะไม่มีเงินมาประกันตัว 

เพราะตามมาตรา ๑๑๔ " เมื่อจะปล่อยชั่วคราวโดยให้มีประกันและหลักประกันด้วย ก่อนปล่อยตัวไป ให้ผู้ร้องขอประกันจัดหาหลักประกันมาดังต้องการ

ซึ่งหลักประกันมี ๓ ชนิด ดังนี้
  1. มีเงินสดมาวาง
  2. มีหลักทรัพย์อื่นมาวาง
  3. มีบุคคลมาเป็นหลักประกัน โดยเเสดงหลักทรัพย์
จากกฎหมายดังกล่าวทำให้คนจน คนไม่มีเส้นต้องติดคุก เพราะไม่มีเงินมาประกันตัว และหาบุคคลมาประกันตัวให้เขาก็ไม่มาให้

ส่วนคนชั้นกลาง หาเช้ากินค่ำ ไม่มีเงินสด ไม่มีหลักทรัพย์ จำพวกโฉนดที่ดิน ก็ต้องไปหาหยิบยื่ม หรือกู้หนี้นอกระบบ ร้อยละ ๓ หรือ๕ ต่อเดือน

เพื่อเอาเงินมาเช่าหลักทรัพย์จากหน้าประกันอาชีพต่อไป

ส่วนคนรวยนั้น ก็สบายๆ หาเงินหาหลักทรัพย์มาประกันตัวได้อยู่แล้วครับ

อีกทั้งความเลื่อมล้ำในสังคมทำให้เงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ของคนหาเช้ากินค่ำ คนชั้นกลาง กับเศรษฐี มหาเศรษฐี นั้นมีคุณค่าต่างกัน

เพราะ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ของมหาเศรษฐี อาจเป็นเพียงค่าอาหารเพียงมื้อเดียว ส่วน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ของคนจน คือค่าอาหารทั้งปีของครอบครัว

ดังนั้นจึงไม่เเปลกที่คนจน คนไม่มีเส้นต้องติดคุก เพราะไม่มีเงินมาประกันตัว และไม่มีใครมาประกันตัวให้....

คำถามก็คือ ทำไมเราต้องใช้เงินมาเป็นหลักประกันด้วยว่าเขาจะไม่หนี ?

ทั้งที่ความจริงแล้วคนที่เขาจะหนี ต่อให้ใช้วงเงินมากเท่าไหรเขาก็หนี

คนจนที่ไม่หนี เขาก็เขามอบตัวต่อตำรวจโดยดีตลอดมา...แต่ไม่มีเงิน จึงต้องติดคุก...หรือคับ

ทำไมเราไม่ออกเเบบกฎหมายไทยใหม่ ไม่ใช้เงินเป็นที่ตั้งในการปล่อยตัวชั่วคราวบ้างละคับ ??

เช่น ในความคิดเห็นของผมนะคับ เมื่อเรากลัวว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหนีนะคับ..

เราก็มา่ดูว่าเขาหนีคดีเพราะอะไร ? เพราะเขาคิดว่าเขาหนีประกันแล้วจะทำให้คดีขาดอายุความหรือเปล่า ?

ถ้าใช่เราอาจมาแก้กฎหมายใหม่ กำหนดให้คนที่หนีคดีในชั้นประกันตัว ไม่ให้คดีขาดอายุความ และถ้าจับตัวได้

ก็ไม่มีสิทธิประกันตัวอีกต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เพื่อเป็นการลงโทษคนที่หนีไม่ดีกว่าหรือคับ...ดีกว่าขังคนจนบริสุทธื์ไว้

และที่ผมเขียนมาทั้งหมดนี้ ไม่ใช่เป็นการเรียกร้องว่าศาลต้องให้ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนนะคับ

เพียงแต่อยากให้ตัดประเด็น เรื่อง " ความเชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด"  ตามหลักเกณฑ์การวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวของศาล

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๐๘ (๔) ส่วนหลักเกณฑ์อื่นยังขอให้คงเดิม เช่นความหนักเบาแห่งข้อหา พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร หรือเป็นผู้มีอิทธิพล 

ปล่อยไปเเล้วอาจไปข่มขู่พยานได้

เพราะเมื่อคนจนไม่มีหลักประกันหรือหลักประกันไม่น่าเเชื่อถือ เช่น ที่ดินไม่ติดทางสาธารณะ ศาลบางท่านก็ยกคำร้องได้โดยให้เหตุผลว่า

 หลักประกันไม่น่าเชื่อถือ ไม่สะดวกแก่การบังคับคดีเป็นตน.. สุดท้ายคนจนก็ติดคุกคับ หรือไปจ้างนายประกันอาชีพให้หาหลักทรัพย์มาให้

และในส่วนที่สอง

คนจน ติดคุกหลังศาลตัดสินแล้วแต่คนรวยรอดตัวแบบสบาย ๆ

ก็คือในคดีอาญาที่มีโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับนะครับ

เมื่อศาลพิพากษาว่าทำผิดจริง แต่โทษจำคุกให้รอการลงอาญาไว้ และให้ชำระค่าปรับจำนวน......บาท 

ถ้าไม่ชำระค่าปรับให้ขังแทนวันละ ๒๐๐ บาท

ผลก็คือคนจนไม่มีเงินชำระค่าปรับ ก็ติดคุกซิครับ ติดคุกแทนค่าปรับ

ส่วนคนรวยไม่ติดคุกเพราะมีเงินชำระค่าปรับคับ สบายๆๆ

ความจนมันน่ากลัวนะคับ...

อันนี้ที่พูดมาทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของข้อกฎหมายที่เขียนไว้นะคับ ยุติธรรมคับแต่คนจนเสียเปรียบคนรวย

และที่เป็นปัญหา เพราะคนจนเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เลยทำให้มีคนติดคุกเพราะไม่ได้ประกันตัวเต็มคุกคับ

สุดท้ายกฎหมายเเก้ได้ครับผม เขาบอกว่า " คนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก "

และผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่เป็นคนดี เป็นคนที่รักความยุติธรรม และผมเชื่อว่าประชาชนคนธรรมดาก็มีพลังเปลี่ยนแปลงสังคมได้

เราทุกๆ คนทำได้ด้วยปลายนิ้ว เพียงแต่ท่านช่วยแชร์ บทความนี้ หรือเสนอแนะให้ผู้มีอำนาจในสังคมได้เห็น เพื่อสังคมไทยที่ดีขึ้น

ต่อไปจะได้ไม่มีคำว่า " คุกไทยมีไว้ขังคนจน " อีกต่อไป

แต่ถ้าท่านอ่านแล้ว หลับตาข้างหนึ่งทำเป็นมองไม่เห็นความไม่ยุติธรรมในสังคมไทย ก็ตัวใครตัวมันครับ...

เวลาคนรวยทำผิดแล้วไม่ติดคุก ก็ไม่ต้องมีอารมณ์นะครับ ว่าคุกมีไว้ขังคนจน

แล้วไปโทษศาลว่าไม่ยุติธรรม เมื่อกฎหมายมันว่าอย่างนั้น แล้วศาลจะไม่ไปตามกฎหมายได้อย่างไรครับผม..

เพราะเราทุกคนเป็นคนเลือกเอง ที่จะให้มันเป็นอยู่เช่นนั้นเอง

แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปนะคับ

ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา 





 










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น