วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

การรับรองบุตร

การรับรองบุตรนอกสมรสให้ชอบด้วยกฎหมาย


ทับไม่ร้อง...ท้องไม่รับ

เท่ากับเป็นบุตรนอกกฎหมาย..

กฎหมายเพื่อความสุข...

ไปร้องขอรับรองบุตรซิครับ...





เด็กที่เกิดจากมารดาที่ไม่ได้
จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย
..ย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ
มารดาเท่านั้น

แต่เป็นได้แค่บุตรนอกกฎหมายหรือ
บุตรนอกสมรสของบิดา หรือ
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วเท่านั้นนะคับ

&& วิธีเปลี่ยนบุตรนอกกฎหมายหรือ
บุตรนอกสมรส ให้กลายเป็นบุตรชอบ
ด้วยกฎหมายของบิดา

ทำได้ 2 ภาค 3 วิธีด้วยกัน คือ

2 ภาค ก็คือภาคสมัครใจ กับ ภาคบังคับ
( ภาษาผมเองนะครับ ยืมมาจากประกันภัย )

ส่วน 3 วิธี ตามกฎหมายแพ่ง มาตรา 1547 ก็คือ

1.บิดามารดาไปจดทะเบียนสมรสกันภายหลัง
ไม่ว่าเด็กจะมีอายุเท่าใดก็ตาม และมีผลให้เป็น
บุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดานับแต่วันที่เด็กเกิด

2.บิดาไปจดทะเบียนว่าเป็นบุตร ตามมาตรา 1547
และมีผลให้บุตรนอกสมรสกลายเป็นบุตรชอบด้วย
กฎหมายของบิดานับแต่วันที่เด็กเกิด

สำหรับวิธีการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรนั้น
ให้ไปยื่นเรื่องจดทะเบียนรับรองบุตรที่อำเภอหรือเขตนะครับ
โดยต้องได้รับจากทั้งเด็กและมารดาของเด็กด้วย

ถ้าเด็กหรือมารดาของเด็กไม่ให้ความยินยอม หรือ
ไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น เด็กเพิ่งเกิด ยังไม่รู้ภาษาเป็นต้น
การจดทะเบียนเป็นบุตร ก็ต้องอาศัยคำพิพากษาของศาล
เจ้าหน้าที่จึงจะสามารถดำเนินการให้ได้

3.ขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร อันนี้ผมขอเรียกว่า
เป็นภาคบังคับก็เเล้วกันนะคับ...
เป็นการรับรองบุตรโดยคำพิพากษาของศาล
โดยการยื่นคำร้องขอรับรองบุตรต่อศาล
มีผลเมื่่อคำพิพากษาศาลถึงที่สุด..

ข้อนี้ใช้สิทธิได้ทั้งพ่อ แม่ ลูก โดยใช้ข้อสันนิษฐาน
ตามกฎหมายเเพ่ง มาตรา 1555
ซึ่งมีอยู่ 7 ประการด้วยกัน คือ

1) เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า
หรือหน่วงเหนี่ยวกักขัง
หญิงมารดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้

2)เมื่อมีการลักพาหญิงมารดาไปในทางชู้สาว
หรือมีการล่อลวงร่วมประเวณีกับหญิงมารดาใน
ระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้

3)เมื่อเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน

4)เมื่อปรากฎในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตร
โดยมีหลักฐานว่า บิดานั้นเป็นผู้แจ้งการเกิด
หรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งการเกิดนั้น
เช่น เซ็นต์สำเนาบัตรประชาชน
ทะเบียนบ้านให้เขาไปแจ้งเกิด

5) เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผย
ใครๆ ก็รู้กันว่าเป็นสามีภริยากัน

6) เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดา
ในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้
เป็นบุตรของชายอื่น

7) เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร
เช่นให้ใช้นามสกุล ให้ความอุปการะเลี้ยงดู ส่งให้เรียน
ให้เรียกว่าพ่อ พ่อๆๆ เป็นต้น

เมื่อเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาแล้ว

- ทำให้บิดามีอำนาจปกครองบุตรได้

- ทำให้บิดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ถ้าไม่จ่าย มารดาหรือบุตร สามารถเลี้ยงค่าเลี้ยงดูได้
โดยสามารถเรียกย้อนหลังได้ถึงวันที่บุตรเกิดเลยนะคับ

ส่วนบุตรนอกกฎหมายทีี่บิดารับรองโดยพฤตินัยนั้น
ทำให้บุตรคนดังกล่าวมีสิทธิรับมรดกของบิดาได้
ตามมาตรา 1627
แต่ยังไม่ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายนะครับ
ทำให้บิดาไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะอุปการะเลี้ยงดู

หากบิดาไม่อุปการะเลี้ยงดู บุตรนอกกฎหมาย
ก็ไม่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจาก
บิดานอกกฎหมายได้

และทำให้บุตรคนดังกล่าว
ไม่สามารถฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะ
จากผู้ทำละเมิดเป็นเหตุให้บิดาตายได้
แต่ฟ้องเรียกค่าปลงศพได้นะครับผม...

และสำหรับมนุษย์เงินเดือน
ที่ต้องจ่ายประกันสังคมกันทุกเดือนนั้น
หากผู้ประกันตนได้ถึงแก่ความตาย...

บุตรหรือบิดานอกกฎหมาย
สามารถขอเบิกเงินค่าทำศพได้ แต่
ไม่สามารถขอเบิกเงินบำเหน็จ
กรณีชราภาพได้นะครับ...
ต้องมาร้องศาลให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายก่อน

บุตรหรือบิดาจึงจะสามารถขอเบิกเงินดังกล่าว
จากประกันสังคมได้...

กฎหมายเพื่อความสุข...
อย่าลืมแบ่งปันเรื่องราวดีดีนี้
ให้เพื่อนคุณนะครับ...
เขาอาจจำเป็นต้องใช้ก็ได้....

แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปคับ..

ธีรวัฒน์  นามวิชา

ทนายความพ่อลูกอ่อน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น