ยืมเงินแล้วไม่คืน ไม่มีสัญญา เสียทั้งเพื่อน เสียทั้งเงิน
ปัญหาของการให้เพื่อน คนรู้จักกัน กู้ยืมเงินคือ ความไว้วางใจ เลยไม่มีการทำสัญญากู้ยืมกันไว้
ทำให้เวลาเกิดปัญหา ยืมเงินแล้วไม่ยอมใช้คืน ไม่มีสัญญา ฟ้องร้องก็ไม่ได้
เพราะกฎหมายการกู้ยืมเงิน ได้วางกติกาไว้ว่า " การกู้ยืมเงินเกินกว่า ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไป กฎหมายกำหนดให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องได้ " ตามมาตรา ๖๕๓
สรุป กฎหมายกู้ยืมเงิน ตามมาตรา ๖๕๓
๑. ถ้ากู้เงินไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท สามารถฟ้องร้องได้ โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
๒. ถ้ากู้ยืมเงินเกิน ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้
จึงจะสามารถฟ้องร้องได้นะครับ
ซึ่งหลักฐานเป็นหนังสือ จะทำขึ้นก่อนหรือหลังจากการกู้ยืมเงินไปแล้วก็ได้นะครับ...
มันเป็นเทคนิคที่สามารถให้ลูกหนี้จัดทำขึ้นมาได้โดยไม่ได้ตั้งใจ
เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องคดีกู้ยืมเงินต่อไปได้....
ดังนั้นแต่เดิม การกู้ยืมกัน ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมเงินไว้ ก็ฟ้องไม่ได้ครับ
แต่ต่อมา ได้มี พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๔
ที่ถือว่าการแซทกู้ยืมเงินกันทางเฟสบุ๊ค ทางไลน์ เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
และมีการให้คำนิยามคำว่า " ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ " และตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ ให้ถือว่าข้อความที่มีการแชทกัน ได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว...
และตามมาตรา ๙ ถ้าต้องลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่ามีการลงลายมือชื่อเเล้วเมื่อสามารถยื่นยันว่าสามารถระบุได้ว่าบุคคลในเฟส ในไลน์ดังกล่าว เป็นบุคคลคนเดียวกันกับคนที่กู้ยืมเงินไป...
ดังนั้นตาม พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๔
การแซท กู้ยืมเงินกันทางไลน์ ทางเฟสบุ๊ค จึงถือว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมเงินแล้ว
จึงสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมายครับ
แล้วพบกันใหม่ที่บทความต่อไปครับ
กฎหมายเพื่อความสุข
ทนายธีรวัฒน์ นามวิชา
ที่ถือว่าการแซทกู้ยืมเงินกันทางเฟสบุ๊ค ทางไลน์ เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
และมีการให้คำนิยามคำว่า " ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ " และตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ ให้ถือว่าข้อความที่มีการแชทกัน ได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว...
และตามมาตรา ๙ ถ้าต้องลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่ามีการลงลายมือชื่อเเล้วเมื่อสามารถยื่นยันว่าสามารถระบุได้ว่าบุคคลในเฟส ในไลน์ดังกล่าว เป็นบุคคลคนเดียวกันกับคนที่กู้ยืมเงินไป...
ดังนั้นตาม พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๔
การแซท กู้ยืมเงินกันทางไลน์ ทางเฟสบุ๊ค จึงถือว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมเงินแล้ว
จึงสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมายครับ
แล้วพบกันใหม่ที่บทความต่อไปครับ
กฎหมายเพื่อความสุข
ทนายธีรวัฒน์ นามวิชา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น