วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สิทธิในการเลี้ยงดูบุตร ลูกควรอยู่กับใคร หลังหย่า

สิทธิการเลี้ยงดูบุตร หลังหย่า 

เมื่อเลิกกันแล้ว ลูกควรอยู่กับใคร ??

อยากมีสิทธิเลี้ยงดูลูกบ้าง ??





คุณทนายค่ะ ตอนนี้อึดอัดมาก โดนพรากลูกไปจากอก

ทั้งๆ ที่พ่อเด็กไม่เคยสนใจช่วยเลี้ยงดูเลย

แต่ตอนนี้พอเลิกกัน กลับรั้งตัวลูกไว้ สงสารแต่ลูก

ตอนนี้คงร้องไห้หาแม่แล้ว....


สวัสดีครับ

ผมทนายธีรวัฒน์  นามวิชา  ทนายความคนศรีสะเกษ

กฎหมายเพื่อความสุข มีคำตอบว่า 

สิทธิการเลี้ยงดูบุตร หลังหย่า เลิกกันแล้ว ลูกควรอยู่กับใครนั้น ?

กฎหมายสิทธิการเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ มีกำหนดไว้ในมาตรา 1520 

ในกรณีหย่าโดยความยินยอมสมัครใจหรือโดยคำพิพากษาของศาลแล้ว
สามีภริยาไม่ได้ตกลงกันไว้หรือ
ตกลงกันไม่ได้ว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร

ศาลมีอำนาจชี้ขาดว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ตามมาตรา 1520

และหากว่าภายหลังปรากฎว่าผู้ใช้อำนาจปกครองดังกล่าว
ประพฤติตนไม่สมควร ศาลก็มีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองได้
ตามมาตรา 1521

ทั้งหมดล้วนเป็นกรณีที่ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
ตามมาตรา 1566 วรรคสอง (6)

เมื่อเลิกกันแล้ว ลูกควรอยู่กับใครนั้น

ศาลมีหลักเกณฑ์ โดยคำนึงถึง
ความผาสุขและประโยชน์ของผู้เยาว์เป็นสำคัญ

โดยจะมีสถานพินิจและคุ้มครองเด็กเป็นผู้สืบเสาะนำเสนอข้อเท็จจริงต่างๆ
และทำความเห็นเสนอต่อศาลว่าเด็กควรอยู่กับใครมากกว่ากัน

โดยพิจารณาจาก

- ความสัมพันธ์ผูกพันธ์ ระหว่างพ่อ กับแม่ ฝ่ายใดมีมากกว่ากัน
เช่น อยู่กับฝ่ายแม่มีตายายค่อยช่วยเลี้ยงดูมาตั้งแต่เด็ก
- เด็กผู้เยาว์ประสงค์จะอยู่กับใครมากกว่า...
- อยู่กับใครแล้วสุขภาพจิตของผู้เยาว์ดีขึ้น เช่น โดนภริยาใหม่เกลียดชัง
   กลั่นแกล้งและข่มขู่ผู้เยาว์จนเกิดความกลัว 
   ลูกเกิดความว้าเหว่ ถูกทิ้งให้อยู่กับคนใช้ เป็นต้น...  

ศาลไม่ได้ดูว่าใครมีเงินมากกว่ากัน แล้วลุูกควรอยู่กับคนนั้นนะครับ

เพราะถ้าพ่อรวย การงานมั่นคง กลับบ้านดึก 
ไม่มีเวลาให้ลูก ปล่อยลูกให้อยู่กับแม่เลี้ยงใจร้าย...

กับคุณแม่ที่มีอาชีพมั่นคงพอที่จะเลี้ยงดูผู้เยาว์ได้โดยไม่เดือนร้อน
มีเวลาเล่านิทานก่อนนอนให้ลูกน้อยฟ้ง ลูกอยู่กับแม่แล้วมีความสุขมากกว่า

ศาลย่อมให้คุณแม่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ได้ 

เพราะสุดท้าย ศาลยังมีอำนาจสั่งให้คุณพ่อชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
จนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะได้ครับ....

ซึ่งในกรณีที่มีการฟ้องหย่า และมีบุตรผู้เยาว์ 
ศาลจะมีการสั่งให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูมาด้วยเสมอในคำพิพากษา
แม้ไม่ได้ขอให้ชำระก็ตาม


สรุป สิทธิการเลี้ยงดูบุตร หลังหย่า

ศาลสามารถตั้งได้ เปลี่ยนตัวคนปกครองบุตรได้ตามความเหมาะสม 

เพื่อประโยชน์และความผาสุขของเด็กผู้เยาว์เป็นสำคัญ


อยากมีสิทธิในตัวลูกบ้าง ??

วันนี้เรายังไม่พร้อมเราอาจยอมยกลูกให้เขาไปดูแล

แต่เมื่อเราพร้อมเราคิดว่าเราดูแลลูกได้ดีกว่า

เราก็สามารถขอศาลสั่งให้ลูกกลับมาอยู่กับเราได้ครับ..

สุดท้าย เพื่อประโยชน์และความผาสุขของเด็กผู้เยาว์เป็นสำคัญ



กฎหมายเพื่อความสุข














ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา

ทนายความศรีสะเกษ

3 ความคิดเห็น:

  1. ตอนนี้ ลูกหนู4เดือน และต้องการหย่ากับสามีเพราะว่าทะเลาะกัน สามีไม่ค่อยสนใจลูก สามีทำงานไปรษณีย์แต่หนูไม่ได้ทำงานเพราะอยู่บ้านเลี้ยงลูก ถ้าหย่ากันใครจะมีสิทธิในการเลี้ยงดูบุตรคะ เพราะแม่สามีไม่ยอมให้เอาลูกไปเลี้ยง แม่สามีจะเอาไว้เลี้ยงเองทั้งๆที่เค้าทำงานและจะจ้างคนมาเลี้ยง ส่วนหนูก็ไม่ได้ทำงานอยู่บ้านเลี้ยงลูกให้ลูกกินนม ถ้าหย่ากันใครมีสิทเลี้ยงดูบุตรคะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  2. ตอนนี้ ลูกหนู4เดือน และต้องการหย่ากับสามีเพราะว่าทะเลาะกัน สามีไม่ค่อยสนใจลูก สามีทำงานไปรษณีย์แต่หนูไม่ได้ทำงานเพราะอยู่บ้านเลี้ยงลูก ถ้าหย่ากันใครจะมีสิทธิในการเลี้ยงดูบุตรคะ เพราะแม่สามีไม่ยอมให้เอาลูกไปเลี้ยง แม่สามีจะเอาไว้เลี้ยงเองทั้งๆที่เค้าทำงานและจะจ้างคนมาเลี้ยง ส่วนหนูก็ไม่ได้ทำงานอยู่บ้านเลี้ยงลูกให้ลูกกินนม ถ้าหย่ากันใครมีสิทเลี้ยงดูบุตรคะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ลูก 4 เดือนควรกินนมแม่ครับ...ถ้าคุณเลี้ยงมาแต่ต้น ลูกสนิทสนมกับคุณมากกว่า...

      ส่วนพ่อมีหน้าทีี่จ่ายค่าเลี้ยงดูครับ...ถ้าหย่าแล้ว ก็เรียกค่าเลี้ยงดูบุตรได้ครับ

      คำถามคือ ถ้าหย่าคุณจะไปอยู่ไหน จะทำงานอะไร ไปทำงานใครจะเลี้ยงลูกครับ ???

      ลบ