การขอความเป็นธรรมต่ออัยการ
สิทธิของผู้ต้องหาที่สามารถทำได้ตามกฎหมาย....
เพิื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม และเป็นการเปิดโอกาส
ให้มีการนำเสนอข้อเท็จจริงให้มากที่สุด
ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดจนเป็นเหตุให้คนอื่นถึงความตาย ยังขาดอายุความได้
แล้วสงกรานต์นี้ ประชาชนผู้หาชาวกินค่ำ นั่งท้ายกระบะเล่นน้ำ
โดนตำรวจปรับ 500 บาท ทำไมจะร้องขอความเป็นธรรมไม่ได้???
การขอความเป็นธรรมชั้นพนักงานสอบสวน ชั้นอัยการผู้ต้องหาทุกคนสามารถทำได้
ไม่ใช่ทำได้แต่คนรวย คนจนก็มีสิทธินะครับ...
การร้องขอความเป็นธรรม เป็นสิทธิของผู้ต้องหาที่สามารถทำได้ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ตามมาตรา ๕๙ "บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลการพิจารณา
ภายในเวลาอันรวดเร็ว"
ประชาชนจึงสามารถยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ ขอความเป็นธรรมต่อหน่วยงานต่างๆ ได้
ตลอดจนการขอทูลเกล้าฯถวายฎีกาต่อในหลวง ก็สามารถทำได้เช่นกัน
แม้สิทธิผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญาจะไม่มีการกำหนดเรื่องสิทธิการร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการไว้
แต่ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีระเบียบให้ผู้ต้องหา ผู้เสียหาย ประชาชนสามารถยื่นร้องขอความเป็นธรรมได้
และตามระเบียบอัยการสูงสุุดก็สามารถร้องขอความเป็นธรรมได้....
ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๔๗
ข้อที่ ๗๐ "เมื่อผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องในคดีร้องขอต่อพนักงานอัยการว่า
ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการสอบสวนก็ดี หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าพยานให้การโดยไม่สมัครใจหรือให้การขัดต่อความจริงก็ดี หรือเมื่อมีเหตุอื่นที่เห็นสมควรและพนักงานอัยการเห็นว่าการซักถามพยานจะได้ความชัดแจ้งและรวดเร็วกว่าสอบสวนเพิ่มเติม ให้พนักงานอัยการสั่งให้พนักงานสอบสวนส่งพยานคนใดมาให้ซักถามได้"
และตามข้อ ๔๘ ว่าด้วยการสั่งคดีกรณีร้องขอความเป็นธรรม
บัญญัติว่า " คดีที่มีการร้องขอความเป็นธรรม ในกรณีที่จะมีคำสั่งไม่ฟ้องผุ้ต้องหาทุกข้อหาหรือบางข้อหา ให้เสนอสำนวนพร้อมความเห็นตามลำดับชั้นถึงอธิบดีเพื่อพิจารณาสั่ง
กรณีที่มีคำสั่งฟ้อง ให้ดำเนินการให้ได้ตัวผู้ต้องหามายื่นฟ้องต่อศาล และให้รีบทำบันทึกส่งคำร้องขอความเป็นธรรม สำเนาความเห็นและคำสั่งพร้อมทั้งสำนวนรายงานการสอบสวนเสนออธิบดีเพื่อทราบ
กรณีดังกล่าวในวรรคก่อน หากเป็นกรณีที่ต้องกลับความเห็นหรือกลับคำสั่งเดิม หรือต้องถอนฟ้อง ให้นำความในข้อ ๖ วรรคท้าย หรือข้อ ๑๒๘ มาใช้บังคับแล้วแต่กรณี "
ตามระเบียบของสำนักงานอัยการสูงสุดดังกล่าว
ผู้มีสิทธิร้องขอความเป็นธรรมต่อพนักงานอัยการ คือ
- ผู้เสียหาย
- ผู้ต้องหาหรือญาติ
- ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องในคดี ซึงสำนักงานอัยการสุงสุดไม่ได้กำหนดให้คำนิยามไว้ว่า จะมีประโยชน์เกี่ยวข้องกับคดีอย่างไร หรือมีขอบเขตส่วนเกี่ยวข้องในคดีเพียงใด คือ เปิดกว้างให้ทุกคนสามารถยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมได้อย่างกว้างขวาง เพราะต้องการความจริงในคดีและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาแก่ประชาชน ดังนั้นทุกคนจึงสามารถยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมต่อพนักงานอัยการได้
กำหนดเวลาในการยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการ ตามระเบียบดังกล่าว ไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องไว้ และไม่ได้กำหนดจำนวนครั้งในการยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมไว้
ดังนั้นผู้เสียหาย หรือผู้ต้องหาจึงสามารถยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมต่อพนักงานอัยการได้ตลอดเวลา ไม่ว่าทั้งก่อนได้รับสำนวนจากพนักงานสอบสวน ได้รับสำนวนสอบสวนมาแล้ว สั่งฟ้องไปแล้วหรือศาลได้มีคำพิพากษาไปแล้วก็สามารถยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมได้
และการที่ไม่ได้กำหนดจำนวนครั้งในการยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมไว้ ทำให้ผู้ต้องหาสามารถยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมได้ 1 ครั้ง 2 ครั้ง 3 ครั้ง 4 ครั้ง ....ได้ ( ทำให้ผู้ต้องหาบางคนใช้ในการประวิงคดีให้ล่าช้าออกไปได้ )
สามารถยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการได้ที่ไหนบ้าง
การยื่นคำร้องก็สามารถยื่นคำร้องโดยตรงต่อสำนักงานอัยการได้ หรือจะยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมต่อหน่วยงานอื่นๆ ก็ได้ เช่น ยื่นต่อสภาผู้แทนราษฎร ,วุฒิสภา ,สนช. เช่น กรณีของคดีทายาทกระทิงแดง ก็มีการยื่นขอความเป็นธรรมกับกรรมมาธิการตำรวจ ใน สนช. เมื่อหน่วยงานอื่นได้รับคำร้องขอความเป็นธรรมแล้วก็จะส่งเรื่องต่อไปให้กับอัยการต่อไป เป็นต้น
เรื่องที่สามารถยื่นขอความเป็นธรรมต่ออัยการได้ ตามระเบียบข้อ ๗๐
- ร้องขอความเป็นธรรมว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการสอบสวนก็ดี เช่น พนักงานสอบสวนทำสำนวนอ่อน สอบถามพยานไว้่ไม่ครบถ้วน ขอให้พนักงานอัยการสั่งให้พนักงานสอบสวนสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นต่างๆ ได้
- ร้องขอความเป็นธรรมว่าพนักงานอัยการไม่มีความเป็นธรรม อาจเอียงข้างเข้าฝ่ายผู้ต้องหาหรือผู้เสียหาย ขอให้สอบสวน เพื่อพิจารณาเปลี่ยนตัวท่านอัยการเจ้าของสำนวนได้
จากระเบียบการร้องขอความเป็นธรรมและการสั่งคดีที่มีการร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าว
ทำให้เราสามารถยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมเพื่อ
1.ร้องขอความเป็นธรรมเพื่อขอความเป็นธรรม...เนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรมจริงๆๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อประกอบการตัดสินใจสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องต่อไป
2. ร้องขอความเป็นธรรมเพื่อขอเวลาทำใจ ( ประวิงคดี ) ประเภทรู้ว่าตัวเองผิด ตำรวจก็ทำสำนวนมาดีแล้ว ช่วยเหลือเต็มที่แล้ว แต่ขอยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมเพื่อขอเวลาทำใจ หรือเพื่อประวิงคดีให้เลื่อนการสั่งฟ้องออกไป ส่วนจะขอเลื่อนคดีได้นานแค่ไหน ก็เป็นความสามาุรถของแต่ละบุคคลครับ ท่านจะสามารถขอเลื่อนคดีได้ 5 ปี จนคดีขาดอายุความแบบคดีทายาทกระทิงแดงหรือเปล่านั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ
สุดท้าย ขอปิดด้วยคดีตัวอย่าง คดีทายาทกระทิงแดง 5 ปี ขอเลื่อนคดี อัยการท่านเมตตาให้เลื่อน 7 ครั้งจนบางข้อหาขาดอายุความไปแล้ว
คดีทายาทกระทิงแดง เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๕ เมื่อคุณวรยุทธ อยู่วิทยา หรือคุณบอส ทายาทกระทิงแดง ขับรถยนต์ชน ด.ต.วิเชียร เสียชีวิตระหว่างปฏิบัติหน้าที่ หลังชนแล้วก็มีการขับรถลากตำรวจไปอีกร้อยกว่าเมตร และขับรถยนต์หนีไปไม่ลงไปให้ความช่วยเหลือ...
วันต่อมาก็มีการส่งลูกจ้างออกมารับแทนว่าขับรถหรูชนตำรวจตาย แต่ชาวบ้านไม่เชื่อจึงมีการออกมายอมรับว่าคุณบอส ทายาทกระทิงแดง เป็นคนขับรถยนต์หรูชนตำรวจตายจริง...
ต่อมามีการเจรจาตกลงค่าเสียหายกับญาติผู้ตาย และสามารถตกลงค่าเสียหายกันได้เป็นจำนวนเงิน 3,000,000 บาท โดยให้ญาติผู้ตายบันทึกข้อตกลงว่าไม่ติดใจเรืยกร้องค่าเสียหายทั้งทางแพ่งและทางอาญากับคุณบอส ทายาทกระทิงแดงอีกต่อไป...
ต่อมาได้มีตั้งข้อหา กับคุณบอส ทายาทกระทิงแดงหลายข้อหาด้วยกันคือ
- ข้อหาเมาแล้วขับ มีคำสั่งไม่ฟ้องเนื่องจากตำรวจบอกว่า เมาหลังขับ ข้อหานี้จบไป
- ไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือ ชนแล้วหนี มีีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน อายุความ 5 ปี
- ขับรถเร็วกว่ากฎหมายกำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท อายุความ 1 ปี ขาดอายุความแล้ว
- ทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย
- ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายมีโทษจำคุุกไม่เกิน 10 ปี อายุความ 15 ปี
ปัจจุบันวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐ ผ่านมาแล้ว ๔ ปี กับอีก ๕ เดือนกว่า คดีนี้อัยการยังไม่ได้ตัวคุณบอส ทายาทกระทิงแดงไปส่งฟ้องต่อศาล เพราะที่ปรึกษาทางกฎหมายคุณบอสทายาทกระทิงแดง อาศัยเทคนิค ช่องโหว่ ของระเบียบอัยการในการที่ผู้ต้องหาร้องขอความเป็นธรรม ท่านอัยการจึงเมตตาอนุญาตให้เลื่อนนัดมาโดยตลอด...
ดังนั้นประชาชนผู้หาเช้ากินค่ำก็สามารถใช้เทคนิคดังกล่าว ในการขอความเป็นธรรม ขอเลื่อนนัดส่งตัวฟ้องต่อศาลได้เช่นกันนะครับ ส่วนจะเลื่อนได้จนคดีขาดอายุความเหมือนคดีคุณบอส ทายาทกระทิงแดงหรือเปล่านั้น เป็นดุลพินิจของท่านอัยการที่ผุ้เขียนไม่อาจก้าวล่วงได้...แต่ท่านผุ้ร้องขอความเป็นธรรมสามารถยกตัวอย่างคดีคุณบอส ทายาทกระทิงแดง ว่าท่านอัยการก็เคยอนุญาตมาแล้ว ท่านอัยการกลับมาไม่อนุญาตคดีของชาวบ้านจนๆ ท่านเลือกปฎิบัติหรือเปล่า ขอร้องเรียนท่านอัยการต่อก็แล้วกัน...
แต่สุดท้ายแล้วคดีทายาทกระทิงแดง ส่งผลกระทบต่อสำนักงานอัยการไม่มากก็น้อย ดังนั้นหลังจากคดีทายาทกระทิงแดง ที่ร้องขอความเป็นธรรมจนคดีขาดอายุความ อาจจะเป็นเหตุผลให้สำนักงานอัยการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบในการร้องขอความเป็นธรรม ก็เป็นไปได้ โดยกำหนดหรือลดจำนวนในการยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมลง...เพื่อป้องกันการใช้ช่องโหว่ดังการในการประวิงคดีก็ได้ครับ...
แต่สุดท้ายแล้วคดีทายาทกระทิงแดง ส่งผลกระทบต่อสำนักงานอัยการไม่มากก็น้อย ดังนั้นหลังจากคดีทายาทกระทิงแดง ที่ร้องขอความเป็นธรรมจนคดีขาดอายุความ อาจจะเป็นเหตุผลให้สำนักงานอัยการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบในการร้องขอความเป็นธรรม ก็เป็นไปได้ โดยกำหนดหรือลดจำนวนในการยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมลง...เพื่อป้องกันการใช้ช่องโหว่ดังการในการประวิงคดีก็ได้ครับ...
สุดท้ายไปโรงไปศาล ต้องใช้เงิน มีค่าใช้จ่าย
แม้จะมีเจ้าหน้าที่่ค่อยให้การบริการ ทำเองไม่จ้างทนายความ แต่ก็ยังเสียเงิน เสียเวลาอยู่ดีนะครับ
การเลือกหนทางรับสารภาพ แล้วจ่ายค่าปรับ 500 บาท เพื่อให้คดีจบๆ กันไป
อาจคิดว่าเป็นทางเลือกที่ดีกว่า การไปขึ้นโรงขึ้นศาล
ด้วยแนวคิดแบบนี้เอง จึงทำให้ตำรวจชอบจับ พวกขี่มอไซด์ รถกระบะ มากกว่ารถหรู ราคาแพง
เพราะจับแล้วไม่มีปัญหา จ่ายเงิน เรื่องจบ
แต่ถ้าจับรถหรู อาจโดนเล่นงานจากผู้อยู่เบื้องหลังรถหรูเหล่านั้นได้
แต่ถ้าประชาชนลุกขึ้นสู้ ไม่จ่ายเงินให้ ตำรวจก็อาจจับน้อยลงก้ได้
เพราะจับแล้ว ไม่ได้ค่าปรับ...
ไปจ่ายค่าปรับที่ศาล รับสารภาพลดค่าปรับกึ่งหนึ่ง เงินเข้าหลวง
ถ้าไม่มีเงินเสียค่าปรับจริงๆ ยังขอทำงานบริการสาธารณะได้...
สิทธิของทุกคนมี แต่เราจะสุ้เพื่อปกป้องสิทธิของเราหรือเปล่า ??
หรือจะรับๆ ไป เพื่อให้เรื่องมันจบ...
บทความที่เกี่ยวข้อง
สิทธิของผู้ต้องหา ผู้ถูกจับกุมตามกฎหมาย
ขอบคุณภาพประกอบบทความจากคุณชูวิทย์...
กับบทความ หรือกฎหมายไทยจะไม่สามารถบังคับใช้ได้กับคนรวย ?
https://www.facebook.com/ChuvitIamBack/photos/rpp.193319037381500/1386374168075975/?type=3&theater
แล้วพบกันใหม่ที่บทความต่อไปครับผม.
กฎหมายเพื่อความสุข
ทนายธีรวัฒน์ นามวิชา
แม้จะมีเจ้าหน้าที่่ค่อยให้การบริการ ทำเองไม่จ้างทนายความ แต่ก็ยังเสียเงิน เสียเวลาอยู่ดีนะครับ
การเลือกหนทางรับสารภาพ แล้วจ่ายค่าปรับ 500 บาท เพื่อให้คดีจบๆ กันไป
อาจคิดว่าเป็นทางเลือกที่ดีกว่า การไปขึ้นโรงขึ้นศาล
ด้วยแนวคิดแบบนี้เอง จึงทำให้ตำรวจชอบจับ พวกขี่มอไซด์ รถกระบะ มากกว่ารถหรู ราคาแพง
เพราะจับแล้วไม่มีปัญหา จ่ายเงิน เรื่องจบ
แต่ถ้าจับรถหรู อาจโดนเล่นงานจากผู้อยู่เบื้องหลังรถหรูเหล่านั้นได้
แต่ถ้าประชาชนลุกขึ้นสู้ ไม่จ่ายเงินให้ ตำรวจก็อาจจับน้อยลงก้ได้
เพราะจับแล้ว ไม่ได้ค่าปรับ...
ไปจ่ายค่าปรับที่ศาล รับสารภาพลดค่าปรับกึ่งหนึ่ง เงินเข้าหลวง
ถ้าไม่มีเงินเสียค่าปรับจริงๆ ยังขอทำงานบริการสาธารณะได้...
สิทธิของทุกคนมี แต่เราจะสุ้เพื่อปกป้องสิทธิของเราหรือเปล่า ??
หรือจะรับๆ ไป เพื่อให้เรื่องมันจบ...
บทความที่เกี่ยวข้อง
สิทธิของผู้ต้องหา ผู้ถูกจับกุมตามกฎหมาย
ขอบคุณภาพประกอบบทความจากคุณชูวิทย์...
กับบทความ หรือกฎหมายไทยจะไม่สามารถบังคับใช้ได้กับคนรวย ?
https://www.facebook.com/ChuvitIamBack/photos/rpp.193319037381500/1386374168075975/?type=3&theater
แล้วพบกันใหม่ที่บทความต่อไปครับผม.
กฎหมายเพื่อความสุข
ทนายธีรวัฒน์ นามวิชา