ตามกฎหมาย ป.วิอาญา
ผู้ต้องหา คือ " บุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังไม่ถูกฟ้องต่อศาล "
ตาม ป.วิอาญา มาตรา ๒ (๒)
จำเลย คือ " บุคคลซึ่งถูกฟ้องต่อศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด "
ตาม ป.วิอาญา มาตรา ๒ (๓)
จากบทนิยามของกฎหมายดังกล่าว ใครจะตกเป็นผู้ต้องหาตามกฎหมาย จะต้องมีการร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษ ว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิดอาญา ต่อเจ้าพนักงาน
เนื่องจากประเทศไทยใช้ระบบการดำเนินคดีอาญาระบบกล่าวหา ตามนานาอารยประเทศ
ได้ยกเลิกกา่รดำเนินคดีอาญาระบบไต่สวน แบบท่านเปาปุ้นจิ้น ที่สอบสวนเอง ตัดสินเอง
แถมสั่งทรมานนักโทษให้รับสารภาพได้....
และตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ และตามป.วิอาญา มาตรา ๒๒๗ วรรคสอง ท่ี่ให้สันนิฐานไว้ก่อนว่า
ผู้ต้องหาหรือจำเลย ไม่มีความผิด
ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนว่าเป็นผู้กระทำความผิดมิได้...
และตามรํฐธรรมนูญไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔๐(๗) ได้ให้การรับรองสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยไว้ว่า
" ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง รวดเร็ว
และเป็นธรรม โอกาสต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว "
แม้รัฐธรรมนูญดังกล่าวจะถูกยกเลิกไปแล้ว แต่รัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.๒๕๕๗ ก็ยังให้การรับรองคุ้มครองตามสิทธิเดิมที่เคยได้รับอยู่
ส่วนสิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา ตามป. วิอาญา ก็ได้มีการแก้ไขรับรองสิทธิของผู้ต้องหาหรือของจำเลยเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดเช่นกัน ดังนี้
สิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา ตาม ป.วิอาญา มาตรา ๗/ ๑ มีดังนี้
- มีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานเเจ้งญาติหรือผู้ไว้ใจทราบให้ทราบว่าถูกจับและสถานที่ควบคุม
- มีสิทธิพบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
- ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้ใจเข้าฟังการสอบสวนด้วย
- ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร
- ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเจ็บป่วย
สิทธิของผู้ถูกจับ ผู้ต้องหาตาม ป.วิอาญา มาตรา ๘๓ และ ๘๔
6. ผู้ถูกจับมีสิทธิจะให้การหรือไม่ให้การก็ได้
7. ผู้ถูกจับมีสิทธิประกันตัว ถูกควบคุมตัวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น มาตรา ๘๗ ,๑๐๖
สิทธิของผู้ต้องหา ผู้ถูกจับ ในชั้นสอบสวน ตามป.วิอาญา
7. ผู้ถูกจับมีสิทธิประกันตัว ถูกควบคุมตัวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น มาตรา ๘๗ ,๑๐๖
สิทธิของผู้ต้องหา ผู้ถูกจับ ในชั้นสอบสวน ตามป.วิอาญา
8. ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรม
ตามป.วิอาญามาตรา ๑๓๔
9. ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับทนายความฟรี เพื่อให้ต่อสู้คดีได้อย่างยุติธรรม...
ตาม "หลักอาวุธที่เท่าเทียมกัน " เนื่องจากผู้ต้องหาไม่มีความรู้ด้านกฎหมาย
อาจโดนหลอกให้ติดคุกโดยไม่มีความผิดตามกฎหมายก็ได้ ส่วนผู้เสียหายมีตำรวจ
อัยการทำหน้าที่ให้อยู่แล้ว
สิทธิของผู้ต้องหาที่ได้รับทนายความฟรี ตามป.วิอาญา มาตรา ๑๓๔/ ๑ แบ่งเป็น ๒ กรณี คือ
๑) กรณีผู้ต้องหาโดนคดีที่มีโ่ทษประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้องหาเป็นเด็กมีอายุไม่เกิน ๑๘ ปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีทนายความ ให้พนักงานสอบสวนต้องจัดหามาให้ฟรีๆ แก่ผู้ต้องหา ( ภาคบังคับของพนักงานสอบสวนที่ต้องหาทนายความให้ )
ตามป.วิอาญามาตรา ๑๓๔
9. ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับทนายความฟรี เพื่อให้ต่อสู้คดีได้อย่างยุติธรรม...
ตาม "หลักอาวุธที่เท่าเทียมกัน " เนื่องจากผู้ต้องหาไม่มีความรู้ด้านกฎหมาย
อาจโดนหลอกให้ติดคุกโดยไม่มีความผิดตามกฎหมายก็ได้ ส่วนผู้เสียหายมีตำรวจ
อัยการทำหน้าที่ให้อยู่แล้ว
สิทธิของผู้ต้องหาที่ได้รับทนายความฟรี ตามป.วิอาญา มาตรา ๑๓๔/ ๑ แบ่งเป็น ๒ กรณี คือ
๑) กรณีผู้ต้องหาโดนคดีที่มีโ่ทษประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้องหาเป็นเด็กมีอายุไม่เกิน ๑๘ ปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีทนายความ ให้พนักงานสอบสวนต้องจัดหามาให้ฟรีๆ แก่ผู้ต้องหา ( ภาคบังคับของพนักงานสอบสวนที่ต้องหาทนายความให้ )
๒) ในคดีที่มีีโทษจำคุก ถ้าผู้ต้องหาไม่มีทนายความ และผู้ต้องหาต้องการทนายความ ให้พนักงานสอบสวนจัดหาให้...( ภาคสมัครใจของผู้ต้องหา )
10. ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟ้งการสอบปากคำของผู้ต้องหาได้ ตามป.วิอาญา มาตรา ๑๓๔/ ๓
11. ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ จะให้การอย่างไร ก็ได้ ให้การเท็จก็ได้ ตาม ป.วิอาญา มาตรา ๑๓๔/๔ (๑)
12. ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะไม่ถูกพนักงานสอบสวนบังคับ ขู่เข็ญ ให้คำมั่นสัญญา หลอกลวง ทรมาน สะกดจิต หรือกระทำโดยมิชอบด้วยประการใดๆ เพื่อจูงใจให้เขาให้การอย่างใดๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้น
สุดท้ายสิทธิของผู้ถูกจับ ผู้ต้องหาต้องได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมาย ป.วิอาญา
โดยมีการออกกฎหมายตาม ป.วิอาญา ออกมาบังคับให้เจ้าพนักงานตำรวจชุดจับกุม เจ้าพนักงานสอบสวน ต้องแจ้งสิทธิต่าง ๆ ให้แก่ผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับ ทราบก่อนเสมอ ถ้าไม่เเจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบก่อน ทำให้ถ้อยคำใดๆ ของผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับ ที่ให้การไว้กับเจ้าพนักงานชุดจับกุมหรือพนักงานสอบสวน รับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสุจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้ ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ป.วิอาญา มาตรา ๘๔ และ มาตรา ๑๓๔/ ๔
ถ้าผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา ถูกบังคับบังคับ ขู่เข็ญ ให้คำมั่นสัญญา หลอกลวง ทรมาน สะกดจิต หรือกระทำโดยมิชอบด้วยประการใดๆ เพื่อจูงใจให้เขาให้การอย่างใดๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้น พยานหลักฐานที่ได้มา ก็รับฟังไม่ได้ ตามบทตัดพยาน ตามป.วิอาญา มาตรา ๒๒๖
สิทธิการอยู่เฉยๆ ของผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับ การอยู่เฉยๆ ของผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับเท่ากับเป็นการปฎิเสธ เพราะในคดีอาญาเป็นภาระหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ อัยการ ที่จะต้องพิสูจนฺ์ให้ศาลเห็นว่า ผุ้ต้องหา จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องจริงโดยให้ปราศจากความสงสัย ให้เห็นแจ้งปานแสงตะวันในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส ศาลจึงจะสามารถลงโทษจำเลยได้
ดังนั้นสิทธิของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนที่จะอยู่เฉยๆ จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ จะปฎิเสธลอยๆ ไม่อ้างพยานให้พนักงานสอบสวนสอบก็ได้ และจะไม่ถูกบังคับ ขู่เข็ญ หลอกลวงต่างๆ เพื่อให้ผู้ต้องหาต้องให้การกับพนักงานสอบสวนได้ตามสิทธิของผู้ต้องหาที่มีตามกฎหมายรับรองไว้
สุดท้ายสิทธิของผู้ต้องหาหรือผู้ถุกจับ มีจึงต้องรู้และใช้ชะ
จะได้ไม่โดนเอาเปรียบจากกระบวนการยุติธรรม
บทความที่เกี่ยวข้อง
คำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม รับฟังไม่ได้
แล้วพบกันใหม่ที่บทความต่อไปครับ
กฎหมายเพื่อความสุข
ทนายธีรวัฒน์ นามวิชา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น