วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

การรับสารภาพในคดีอาญา

คำให้การรับสารภาพในคดีอาญา..

หลักในการประเมินคดี

เมื่อจำเลยหรือผู้ต้องหาให้การรับสารภาพในคดีอาญา



โอกาสรอดเมื่อคุณรับสารภาพในคดีอาญา


โอกาสรอดเมื่อคุณรับสารภาพในคดีอาญา""

เมื่อคุณให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมหรือในชั้นสอบสวนแล้ว

ถ้าคุณจะกลับคำให้การเป็นปฏิเสธ คุณจะมีโอกาสรอดหรือเปล่า...
  1. รับสารภาพในชั้นสอบสวน โอกาสรอด 70 %
  2. รับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน โอกาสรอด 50 %
  3. รับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนและทำแผนที่ประกอบคำรับสารภาพ โอกาสรอด 30 %
  4. รับสารภาพในชั้นศาล โอกาสรอด 10 %

แม้กฎหมายจะบอกว่า       


  1. คำรับสารภาพในชั้นจับกุมหรือในชั้นรับมอบตัวผู้ถูกจับ ( ผู้ต้องหา ) ว่า "ตนได้กระทำความผิด ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน   
          แต่ ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้
          ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามมาตรา 84 วรรคหนึ่ง หรือตาม มาตรา 83 วรรคสอง
แก่ผู้ถูกจับแล้วแต่กรณี

คำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ 
ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้โดยเด็ดขาดและไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิน

เหตุผลที่กฎหมายห้ามไม่ให้รับฟังคำรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นพยานหลักฐาน เพราะว่า
การแจ้งสิทธิต่างๆ ให้ผู้ถูกจับกุมทราบตั้งแต่ชั้นจับกุม ก็ยังไม่สามารถทำให้ผู้ถูกจับรักษาสิทธิของตนได้
เนื่องจากยังอยู่ในภาวะตกใจและไม่มีทนายความให้ความช่วยเหลือ การที่ผู้ถูกจับให้การรับสารภาพไปนั้นจะถือว่าเป็นการรับสารภาพด้วยความเข้าใจถึงผลที่จะตามมาอย่างแท้จริงไม่ได้ และหากผู้ต้องหาประสงค์จะให้การรับสารภาพก็ยังสามารถให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนได้ภายหลังจากที่พนักงานสอบสวนได้แจ้งสิทธิต่างๆ ให้ผู้ต้องหาทราบและจัดหาทนายความให้ผู้ต้องหาแล้ว...

           ส่วนถ้อยคำอื่น ๆ รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ เช่น คำให้การปฏิเสธว่าตนไม่ได้กระทำความผิด คำให้การต่อสู้ว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย คำให้การยอมรับว่าอยู่ในที่เกิดเหตุแต่ไม่ได้ทำร้าย คำให้การซัดทอดผู้ร่วมกระทำผิดคนอื่น  ไม่ถือว่าเป็นคำรับสารภาพ ว่าตนได้กระทำความผิด จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หากเจ้าหน้าที่ได้แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับทราบตาม มาตรา 83 วรรคสองหรือ 84 วรรคหนึ่ง

          ฎีกาที่ 1280/2557 บันทึกการจับกุม นอกจากมีคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสองแล้ว ยังมี รายละเอียดเก่ี่ยวกับสถานที่นำทรัพย์ที่ลักไปขายและการนำชี้จุดทิ้งแผ่นป้ายทะเบียนด้วย อ้ันเป็นถ้อยคำอื่นที่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งสองได้ ทั้งเจ้าพนักงานตำรวจได้แจ้งสิทธิแก่จำเลยทั้งสองก่อนที่จะให้ถ้อยคำแล้ว จึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม
ป.วิ.อาญา มาตรา 84 วรรคท้าย

           2. คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวน เป็นเพียงพยานบอกเล่า  ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 226/3 วรรคหนึ่ง ห้ามรับฟังพยานบอกเล่าตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 226/3 วรรคสอง
แต่ถือว่าบันทึกคำให้การรับสารภาพของผู้ต้องหาถือเป็นพยานบอกเล่าที่ต้องด้วยข้อยกเว้นให้รับฟังได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 266/3 วรรคสอง ( 1 )  เช่น เมื่อรับฟังพยานโจทก์ประกอบกันแล้วเป็นที่พอใจว่า จำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน  ( ฎีกาที่ 447/2557 )

          3. การวินิจฉัย ชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่า พยานซัดทอด มีน้ำหนักน้อย  ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่จะมีเหตุุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอืนมาสนันสนุน ตาม ป.วิ.อาญา
มาตรา 227/1


ตัวอย่างคดี รับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน แล้วรอด ในคดีลักทรัพย์คำเบิกความของเจ้าพนักงานตำรวจชุดจับกุมและพนักงานสอบสวนที่ว่า " จำเลยได้ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนว่าได้ร่วมกันลักทรัพย์ลักรถยนต์ของผู้เสียหาย " เป็นเพียงพยานบอกเล่าไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้โดยลำพัง เมื่อจำเลยให้การปฎิเสธในชั้นพิจารณาว่ามิได้กระทำความผิดและโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่น พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักให้ฟังว่า จำเลยได้ร่วมกันกับพวกลักรถยนต์ของผู้เสียหายไป ตามฎีกาที่ 465/2538

ตัวอย่างคดี รับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน แล้วติดคุุก  ในคดีที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย เเม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นว่าจำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหายไปและคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนที่รับว่าได้ลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายเป็นเพียงพยานบอกเล่าก็ตาม แต่การที่จำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมไปตรวจค้นและยึดเครื่องยนต์และชิ้นส่วนอุปกรณ์ของรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายได้เป็นของกลาง เมื่อนำคำรับสารภาพของจำเลยดังกล่าวมาประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ ซึ่งเป็นผู้จับกุมและสอบสวน พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยได้ ตามฎีกาที่ 381/2531


 คำเตือน..." คุณมีสิทธิจะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ 
                    และคำให้การของคุณจะถูกใช้ปรับปรำคุณเองในชั้นศาล "

สิ่งที่ตำรวจพูดกับเมื่อจับผู้ร้าย ผู้ต้องหาได้ ในหนังฝรั่ง...

แต่เป็นสิทธิ ที่มีอยู่จริงของผู้ต้องหา ในกฎหมายอาญาและในกฎหมายรัฐธรรมนูญ...

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 83 วรรคสอง " ผู้จับต้องแจ้งสิทธิแก่ผู้ถูกจับด้วยว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้และผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ มีสิทธิแจ้งให้ญาติหรือผู้ซ่ึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุม....

เพราะในคดีอาญา เป็นหน้าที่ของตำรวจ พนักงานอัยการ

โจทก์ที่มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ความผิดของคุณ ให้แจ่มแจ้งดั่งแสงตะวัน


แต่เมื่อคุณรับสารภาพ ก็เป็นหน้าที่คุณต้องพิสูจน์ว่า 

คุณไม่ได้ทำผิดแล้วทำไม่จึงได้รับสารภาพ..

ผมรับสารภาพเพราะโดนซ้อม โดนทำร้ายร่างกาย

ผมรับสารภาพเพราะโดนข่มขู่ ตำรวจบอกว่าถ้าไม่รับสารภาพ จะจับเมีย พ่อและแม่ไปหมดบ้าน 

ผมรับสารภาพเพราะโดนหลอกลวง ตำรวจบอกว่ามีพยานหลักฐาน แต่จริงๆ แล้วไม่มี

ผมรับสารภาพแต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้แจ้งสิทธิให้ผมทราบ

ผมอยากได้ทนายแต่พนักงานสอบสวนบอกว่าให้ไปสู้เอาที่ศาล...


สรุปสุดท้าย 

คำรับสารภาพในชั้นจับกุมและสอบสวน 
เป็นเพียงพยานบอกเล่า มีน้ำหนักน้อย

ศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานอื่นประกอบก่อนจึงจะลงโทษจำเลยได้...


ทนายความก็ต้องรับฟังหลักฐานอื่น ๆ ประกอบ 

เพื่อให้คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับลูกความได้


กฎหมายเพื่อความสุข

ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น