วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

กฎหมายใหม่ กฎหมายบังคับคดีใหม่ เงินเดือนต่ำกว่า 20,000 บาท ห้ามยึด ห้ามอายัติเงินเดือน

กฎหมายใหม่ กฎหมายบังคับคดีใหม่ พ.ศ.2560

กฎหมายบังคับคดีใหม่ แก้ไขใหม่เพื่อให้ชีวิตลูกหนี้อยู่ได้

เงินเดือน รายได้ ลูกหนี้ต่ำกว่า 20,000 บาท ห้ามยึด ห้ามอายัติ



สวัสดีครับ ผมทนายธีรวัฒน์  นามวิชา ทนายความศรีสะเกษ 
กับกฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่า วันนี้เป็นของลูกหนี้ ของมนุษย์เงินเดือนกันครับ

หลักเป็นหนี้ต้องใช้ แต่ลูกหนี้ ก็ต้องใช้ชีวิตอยู่ได้โดยสงบสุข ตามสมควร โดยคำนึงถึงฐานะทางครอบครัวของลูกหนี้ ร่วมทั้งจำนวนบุพการี และจำนวนลูกหลาน ที่อยู่ในความดูแลของลูกหนี้ด้วย

เมื่อเป็นหนี้แล้วไม่ใช้คืน เจ้าหนี้นำคดีมาฟ้องต่อศาล จนศาลมีคำพิพากษาให้ใช้หนี้แล้ว ไม่ยอมชดใช้ให้ตามคำพิพากษาของศาล เจ้าหนี้ก็ต้องมีการบังคับคดี ยึดทรัพย์ อายัดเงินของลูกหนี้ มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป...

แต่มีีทรัพย์สินบางชนิดของลูกหนี้ที่ไม่สามารถยึดได้ ไม่อาจถูกบังคับคดีได้  เดิมบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๕ แก้ไขใหม่เป็นกฎหมายบังคับคดีใหม่ในมาตรา ๓๐๑ ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ย่อมไม่อยู่ในกความรับผิดแห่งการบังคับคดี

(๑) เครื่องนุ่งห่มหลับนอน เครื่องใช้ในครัวเรื่อน หรือเครื่องใช้สอยสวนตัว โดยประมาณรวมกันราคาไม่เกินประเภทละ 20,000 บาท หรือเกินกว่า 20,000 บาทได้ โดยคำนึงถึงความจำเป็นตามฐานะของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

( ๒ ) สัตว์ สิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการประกอบอาชีพหรือประกอบวิชาชีพเท่าที่จำเป็นในการเลี้ยงชีพของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ราคารวมกันโดยประมาณไม่เกิน 100,000 บาท  หรือเกินหนึ่งแสนบาทได้ถ้าแสดงเหตุจำเป็นให้เห็นได้

(๓) สัตว์ สิ่งของ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ทำหน้าที่ช่วยหรือแทนอวัยวะของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ได้รับการยกเว้นให้ทั้งหมด เจ้าหนี้จะยึดหรืออายัดมาไม่ได้เลย  

(๔ ) ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันมีลักษณะเป็นของส่วนตัวโดยแท้ เช่น หนังสือสำหรับวงศ์ตระกูลโดยเฉพาะ จดหมาย หรือสมุดบัญชีต่างๆ จะยึดหรืออายัดไม่ได้เลย

( ๕ ) ทรัพย์สินอย่างใดที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย หรือตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เช่น ที่ดินในนิคมสร้างตนเอง ที่ดิน สปก.๔-๐๑  หรือสิทธิการเช่า แม้สิทธิการเช่านั้นจะมีมูลค่าสูงเพียงใดก็ตาม  แต่ถ้าเป็นประเภทให้เช่าช่วงได้ ไม่เฉพาะเจาะจงให้ลูกหนี้เท่านั้น ยึดได้

แต่เงินค่าหุ้นของสมาชิกสหกรณ์ ยึดได้พ้นจากการเป็นสมาชิกแล้ว โดยใช้วิธีการอายัดไว้ก่อน ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 7448/ 2550  เมื่อโดนอายัดแล้ว ลูกหนี้จะไปทำการโอนหรือเปลี่ยนแปลงสิทธิที่ได้ถูกอายัดโดยชอบแล้วไม่ได้

บทคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษา ขยายไปถึงสินสมรสที่เป็นของคู่สมรสของลูกหนี้ด้วย ตามมาตรา ๓๐๑ วรรคสี่

ในส่วนของเงินเดิือน เบี้ยเลี้ยง ค่าจ้าง บำเหน็จ บำนาญ เงินก้นถุง หรือเงินอื่น ๆ ที่ไม่สามารถยึด หรืออายัติได้นั้น ได้ระบุไว้ในมาตรา ๓๐๒ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ได้แก้ไขใหม่ พ.ศ.๒๕๖๐ ที่บัญญัติว่า

" ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

(๑) เบี้ยเลี้ยงชีพ เงินเดือน หรือเงินรายได้เป็นคราวๆ ไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท หรือตามจำนวนที่เห็นสมควร ง่ายๆ คือมนุษย์เงินเดือนเอกชน รายได้ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ห้ามยึดห้ามอายัติ

(๒) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัด เงินก้นถุง ของข้าราชการ ลูกจ้างในหน่วยราชการจะยึดไม่ได้เลย ( มนุษย์เงินเดือนภาครัฐ ) แต่ของรัฐวิสาหกิจ มหาลัยในควบคุม ยึดได้...

(๓) เงินเดือน ค่าจ้าง หรือรายได้อื่นๆ ของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน เป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท

( ๔ ) บำเหน็จหรือค่าชดเชยของบุคคลตามข้อ (๓) ได้รับเป็นจำนวนไม่เกิน 300,000 บาท

( ๕ ) เงินฌาปนกิจส่งเคราะห์ที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้รับอันเนื่องจากความตายของบุคคลอื่นเป็นจำนวนตามที่จำเป็นในการดำเนินการฌาปนกิจศพตามฐานะของผู้ตาย ที่่เหลือเกินสมควรยึดได้

โดยในการบังคับคดี ยึดเงินของลูกหนี้นั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องคำนึงถึง ฐานะในทางครอบครัวของลูกหนี้ตามคำพิพากษา และจำนวนบุพการีและผู้สืบสันดาน ลูกหลาน เหลน ซึ่งอยู่ในความอุปการะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วย......

ถ้ายึดเงินเดือนแล้ว ลูกหนี้ไม่พอกิน ลูกหนี้ก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลกำหนดจำนวนเงินใหม่ให้ก็ได้ด้วยนะครับ

จากเดิมที่เงินเดือนขั้นต่ำ รายได้ขั้นต่ำต่อเดือนที่ห้ามยึด อายัด คือเดือนละ 15,000 บาท 
แต่เนื่องด้วยสภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป จึงขยายวงเงินเป็น 20,000 บาท สรุปคือลูกหนี้มีเงินเพิ่มขึ้น 5,000  บาท ครับ...

กฎหมายบังคับคดีใหม่ ที่ออกมาก็คงเป็นประโยชน์กับลูกหนี้อยู่บ้างนะครับ

แม้ส่วนใหญ่จะเเก้ไขเพื่่ิอให้การบังคับคดีสะดวกรวดเร็วขึ้นก็ตาม 

กฎหมายบังคับคดีใหม่ มีผลบังคับใช้ 4 กันยายน 2560 ครับ

ดูรายละเอียดกฎหมายบังคับคดีใหม่ได้ที่นี้ครับ 


แล้วพบกันใหม่ที่บทความต่อไปครับ

อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ ติดตามเพจด้วยนะครับ



กฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่า

ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา ทนายศรีสะเกษ


1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ28 สิงหาคม 2560 เวลา 03:44

    กรณีมีการอายัดเงินเดือนหลัง 4 กันยายน 2560 และหลังจากนั้นเราถูกปลดออกจากงานโดยได้รับเงินชดเชย แต่ไม่เกินสามแสนบาท เงินส่วนนี้จะโดนยึดทั้งหมด 100% หรือไม่คะ เพราะกฎหมายเดิมทราบว่าเงินโบนัสโดนอายัด 50% เงินชดเชยออกจากงานโดนอายัด 100%

    ตอบลบ