วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ไม้พะยูงไหหลำลวงโลก ไม้ตะกูยักษ์ภาค 2

ไม้พะยูงไหหลำ Dalbergia Odorifera 

ไม้เทพหรือพะยูงไหหลำลวงโลก ?

ปลูกพะยุงไหหลำวันนี้ ปลูกก่อน รวยก่อน



พะยูงไหหลำ ๓ ปี เริ่มมีแก่น ๕ - ๑๐ ปี ตัดขายได้ กิโลละ ๑๐,๐๐๐ บาท
ต้นพยุงไหหลำต้นหนึ่งก็ได้ราคา ๒๐๐,๐๐๐ - ๔๐๐,๐๐๐ บาท

๑ ไร่ ปลูก ๑๐๐ ต้น ก็ขายได้ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ - ๔๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท...

รวยเร็ว รวยแรง กว่าปลูกยางพารา อ้อยมัน ข้าว...

คำถามคือ พะยุงไหหลำ แพงจริง รวยเร็ว หรือเป็นไม้พยุงไหหลำลวงโลก เหมือนไม้ตะกูยักษ์

ไม้กฤษณา ที่หลอกขายสายพันธ์ุ คนขายรวย เกษตรกรได้ไม้เผาถ่าน



ก่อนการลงทุนปลูกพยุงไหหลำ เรามาค้นหาความจริง ความเท็จที่คนขายโฆษณาเกินจริงกันดีกว่าครับ..

ความจริง คือ...

พะยูงไหหลำ มีชื่อวิทย์ว่า  Dalbergia Odorifera  เป็นคนละตัวกับไม้พยุงไทย...

พะยุงไหหลำ มีชื่อทางการไทยว่า พะยูงหอม...

เเละเจ้า Dalbergia Odorifera  มีชื่อทางการค้า ในไทยตอนนี้ว่า

  1. ประดู่ลาย ชื่อต้นตำหรับจากประเทศลาว
  2. พะยูงหอม ชื่อต้นตำหรับ ที่มาเปิดตัวในไทย
  3. พะยูงไหหลำ ชื่อที่ฮิตติดตลาดในขณะนี้
  4. พะยูงประเทศสีเขียว ชื่อใหม่ล่าสุด ที่เปิดตัวในตลาดขณะนี้
ความจริงอย่างที่ ๒..คือ พะยูงไหหลำ แพงกว่าพะยุงไทย หลายสิบเท่าตัว ราคาพยุงไหหลำที่ตลาดจีนตกคิวเมตรละประมาณ ๔๕ ล้านบาท ขณะที่พยุงไทย ตกอยู่ที่ราคา ประมาณ ๓ ล้านบาท...

สิ่งที่พ่อค้าโฆษณาหลอกลวง โฆษณาเกินจริง ในขณะนี้...

๑. พะยุงไหหลำ ๓ ปี มีแก่น อายุ ๗ - ๑๐ ปี  ตัดขายได้ กิโลละ ๑๐,๐๐๐ บาท 
ได้ต้นละ ๒๐๐,๐๐๐ - ๔๐๐,๐๐๐ บาท....

ความจริงคือ ไม้พยุงไหหลำ อายุ ๗-๑๐ ปี จะมีขนาดแก่นเท่าไหร่? 
ไม้พะยุงไหหลำอ่อน เร่งโต จะมีราคาแพงถึงกิโลละ ๑๐,๐๐๐ บาท เช่นไม้อายุ๑๐๐ ปี ได้อย่างไร?

ถ้าพะยุงไหหลำ อายุ ๗- ๑๐ ปี ่ขายได้กิโลละ ๑๐,๐๐๐ บาท ได้ต้นละ ๒๐๐,๐๐๐ - ๔๐๐,๐๐๐ บาทจริง คนเกาะไหหลำ คงเป็นมหาเศรษฐีหมดเกาะไปแล้ว...

คนจีนคงเช่าที่ดิน ประเทศลาว เขมร พม่า ปลูกพยุงไหหลำ แทนกล้วยหอม ยางพารา ๔ โล ๑๐๐ ในขณะนี้...

๒. พยุงไหหลำแท้คัดสายพันธ์ู ๓ - ๗ ชั่วอายุคน คำถามคือ คัดสายพันธ์ูจากไหน? 
ใบรับประกันคุณภาพอยู่ไหน?  หรือคนขายพูดเอง รับรองกล้าพันธ์ที่ตนนำมาขายเอง.
เพื่อให้ขายได้ราคาแพงๆ กว่าคนอื่นเท่านั้นเอง ??

ความจริงแล้ว ก่อนที่คนจีนจะมาฮิตพะยูงไหหลำ พะยูงไทย นั้น ประเทศจีนเป็นประเทศที่ยากจน ยังไม่สนใจพะยุงไหหลำ พะยุงไทย แต่อย่างใด คนจีนเพิ่งมารวย เพิ่งมาสนใจพะยุงไหหลำ พยุงไทยประมาณ ๑๐ ปี นี้เอง...

ตอนคนจีนจนก็ตัดพะยุงไหหลำ Dalbergia Odorifera ไปเผาถ่าน หุ่งข้าวเกิบหมดประเทศ สนใจปลูกแต่ของกินเท่านั้น...

พอคนจีนรวย จัดโอลิมปิก ซ่อมแซมพระราชวังต้องห้าม กระแสพะยูงไหหลำเริ่มดัง แต่ไม่มีไม้ในประเทศก็เลยต้องสั่งพะยุงไทยไปใช้แทน...ก็เลยเป็นที่มาของการลักลอบตัดไม้พะยุงไทยในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่ามมานี้

๓.พะยูงไหหลำ มีแปลงทดลองปลูกในไทย ๓ ปี ๕ ปี ๗ ปี แล้ว ทดลองในไทยแล้วประสบผลสำเร็จดี

คำถามคือ...หลักฐานอยู่ที่ไหน สวนพะยูงไหหลำ ๓ ปี ๕ ปี ๗ ปี ในไทยอยู่ที่ไหน?

ที่เห็นโฆษณา คือ คนขายพันธ์พยุงไหหลำ ขุดไม้ล้อมพะยูงไหหลำ มาจากไหนไม่รู้ มาโชว์ ๑ -๒ ต้นแล้วอ้างว่าปลูกทดลองสำเร็จแล้วที่ไทย....

๔.พะยุงไหหลำหลอกลวง ลวงโลกที่ไทยวันนีี้ คือ คนไทยไม่รู้ว่าหน้าตาเมล็ด ต้นกล้าพยุงไหหลำ 
ประดู่ลาย หรือพยุงเวียตนาม หน้าตามันเป็นยังไง แตกต่างกันยังไง???

คนขายบางคนก็เลย เอาเมล็ดพะยุงเวียตนาม มาขาย มาเเอบอ้างว่าเป็นเมล็ดพะยุงไหหลำ ฟันกำไรไป

จากอดีตที่ทนายเจอ คนขายยังหลอกลวงเอาเมล็ดชิงขัน ประดู่ป่า มาหลอกขายว่าเป็นเมล็ดพยูงไหหลำแท้นำเข้าจากจีนพร้อมใบรับประกันพันธ์แท้  ตอนนั้นโดนหลอกไปหลายพันคน

๕.คนขายบางคนเอาพะยุงเวียตนาม มาแอบอ้างว่าเป็นกล้าพะยูงไหหลำ 
รับกล้าพยุงเวียตนามมาต้นละ ประมาณ ๔๐ บาท 
มาขายเป็นพยุงไหหลำ ต้นละ ๑๐๐ บาท ๑๕๐ บาท ๒๕๐ บาท ๙๐๐ บาท ....

กลายเป็นพะยุงไหหลำลวงโลก เอากล้าพันธ์พยุงเวียตนามมาหลอกขายเกษตรกรไทย...

๖. คำถามสำคัญอีกอย่างคือ ปลูกแล้ว จะไปขายให้ใคร ? พยุงไทยยังหาคนซื้อยากในขณะนี้

สุดท้ายอยากบอกว่า พะยูงไหหลำ ก็มีคุณค่ามีราคาในตัวของมันเอง มีแต่คนที่ลวงโลก หลอกลวงโฆษณาเกินจริง เพื่อหลอกขายสายพันธ์ ให้ตัวเองรวยๆๆ 
ส่วนเกษตรกรก็ให้ไปวัดดวงเอาเองอีก ๑๕-๒๐ ปีข้างหน้า...ว่าจะรวยหรือไม่มีแก่น ไม่มีราคา...

สำหรับทนายก็ทดลองปลูกเพื่อการศึกษา สะสมไว้วัดดวง อีก ๑๕- ๒๐ ปี ข้างหน้าอาจรวยได้..
เหมือนที่ปลูกพะยุงไทยนั้นละครับ...

ดังนั้น ก่อนเพื่อนๆ จะตัดสินใจปลูกพะยูงไหหลำ Dalbergia Odorifera ก็ศึกษาข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ....

กฎหมายเพื่อความสุข

ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา

วันจันทร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561

ฟ้องได้ กู้ยืมเงินผ่านไลน์ ผ่านเฟสบุ๊ค แล้วไม่คืน แม้ไม่มีสัญญา

ยืมเงินแล้วไม่คืน ไม่มีสัญญา เสียทั้งเพื่อน เสียทั้งเงิน




ปัญหาของการให้เพื่อน คนรู้จักกัน กู้ยืมเงินคือ ความไว้วางใจ เลยไม่มีการทำสัญญากู้ยืมกันไว้

ทำให้เวลาเกิดปัญหา ยืมเงินแล้วไม่ยอมใช้คืน ไม่มีสัญญา ฟ้องร้องก็ไม่ได้

เพราะกฎหมายการกู้ยืมเงิน ได้วางกติกาไว้ว่า " การกู้ยืมเงินเกินกว่า ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไป กฎหมายกำหนดให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องได้ " ตามมาตรา ๖๕๓

สรุป กฎหมายกู้ยืมเงิน ตามมาตรา ๖๕๓

๑. ถ้ากู้เงินไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท สามารถฟ้องร้องได้ โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ

๒. ถ้ากู้ยืมเงินเกิน ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ 
จึงจะสามารถฟ้องร้องได้นะครับ

ซึ่งหลักฐานเป็นหนังสือ จะทำขึ้นก่อนหรือหลังจากการกู้ยืมเงินไปแล้วก็ได้นะครับ...

มันเป็นเทคนิคที่สามารถให้ลูกหนี้จัดทำขึ้นมาได้โดยไม่ได้ตั้งใจ 
เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องคดีกู้ยืมเงินต่อไปได้....

ดังนั้นแต่เดิม การกู้ยืมกัน ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมเงินไว้ ก็ฟ้องไม่ได้ครับ

แต่ต่อมา ได้มี พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๔

ที่ถือว่าการแซทกู้ยืมเงินกันทางเฟสบุ๊ค ทางไลน์ เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

และมีการให้คำนิยามคำว่า " ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ " และตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ ให้ถือว่าข้อความที่มีการแชทกัน ได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว...

และตามมาตรา ๙ ถ้าต้องลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่ามีการลงลายมือชื่อเเล้วเมื่อสามารถยื่นยันว่าสามารถระบุได้ว่าบุคคลในเฟส ในไลน์ดังกล่าว เป็นบุคคลคนเดียวกันกับคนที่กู้ยืมเงินไป...

ดังนั้นตาม พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๔
การแซท กู้ยืมเงินกันทางไลน์ ทางเฟสบุ๊ค จึงถือว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมเงินแล้ว

จึงสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมายครับ

แล้วพบกันใหม่ที่บทความต่อไปครับ

กฎหมายเพื่อความสุข

ทนายธีรวัฒน์ นามวิชา

วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การร้องคัดค้านการครอบครองปรปักษ์ กรณีศึกษาคดีที่ดินวัดสวนแก้ว

เมื่อการร้องครอบครองปรปักษ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย


เจ้าของที่ดิน หรือทายาท ก็สามารถร้องคัดค้านการครอบครองปรปักษ์ได้ครับ




เมื่อคัดค้านแล้ว จากโฉนดที่ดิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ก็มีค่าเพียงถุงกล้วยเเขกครับ

ดังเช่น คดีที่ดินวัดสวนแก้ว ที่หลวงพ่อพยอม ท่านทำไว้เป็นกรณีศึกษาเตือนใจครับ


กรณีคดีที่ดินวัดสวนแก้ว เป็นกรณีที่น่าศึกษาสำหรับนักกฎหมาย นักเรียนกฎหมาย และสำหรับประชาชนทั่วไป เพราะเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายเรื่องด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายมรดก การร้องครอบครองปรปักษ์ การคัดค้านการครอบครองปรปักษ์ การขอพิจารณาคดีใหม่ การขอเพิกถอนนิติกรรม การติดตามเอาทรัพย์มรดกคืน อายุความติดตามเอาทรัพย์มรดกคืน ทางแก้เมื่อการซื้อขายที่ดินวัดสวนแก้วตกเป็นโมฆะถูกเพิกถอน และยังเกี่ยวกับเรื่องมูลนิธิ นิติบุคคลอีก 

วันนี้กระผม ทนายธีรวัฒน์ นามวิชา จึงขอนำคดีเรื่องที่ดินวัดสวนแก้ว แปลงดังกล่าวมาเป็นกรณ๊ศึกษาครับ

ข้อเท็จจริงคดีที่ดินวัดสวนแก้ว มีที่มาประมาณนี้ครับ

นานมาแล้ว คุณแม่ของป้าวรรณได้ไปขอเช่าหรือขออาศัยหรือโดยวิธีอื่นไม่แน่ชัด ในที่ดินของคุณแม่ทองอยู่...ต่อมาคุณแม่ทองอยู่ก็ถึงแก่ความตาย ที่ดินตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทของคุณแม่ทองอยู่
แต่หลังจากคุณแม่ทองอยู่ตาย ป้าวรรณและครอบครัวก็ยังคงครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวตลอดมา

ต่อมาปี่ พ.ศ. ๒๕๒๘ ทายาทของคุณแม่ทองอยู่ได้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกต่อศาล และศาลมีคำสั่งแต่งตั่งให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว แต่อาจจะเป็นเพราะแม่ทองอยู่มีที่ดินอยู่มากมาย ทำให้ทายาทไม่ทราบว่าแม่ทองอยู่มีที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ จึงไม่ได้ทำอะไรกับที่ดินแปลงดังกล่าว ปล่อยให้ป้าวรรณครอบครองเรื่อยมา

ผ่านมานาน ป้าวรรณครอบครองที่ดินแปลงนี้แต่ยังไม่ได้โฉนด ไม่ได้กรรมสิทธิ์ ในปี พ.ศ.๒๕๔๖ 
ป้าวรรณคงได้รับคำแนะนำจากคนอื่น ให้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินแปลงพิพาทนี้ เพื่อที่จะได้ที่ดินแปลงนี้เป็นของตน จึงได้ยื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ต่อศาล

แต่มีข้อผิดผลาดก็คือไม่ได้มีการส่งหมายโดยชอบด้วยกฎหมายให้กับทายาทของคุณแม่ทองอยู่ ทำให้คดีนี้ไม่มีผู้ใดมาโต้แย้งคัดค้านการร้องครอบครองปรปักษ์ ฝ่ายป้าวรรณจึงนำสืบพยานไปฝ่ายเดียว..ซึ่งเป็นเรื่องปรกติอยู่แล้วที่ฝ่ายป้าวรรณ คงนำสืบแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์กับตนให้เข้าข้อกฎหมายเรื่องครอบครองปรปักษ์ เช่นเดียวกับคดีอื่นๆ ถ้าสืบคดีไปฝ่ายเดียวก็คงสืบเข้าข้างฝ่ายตนเป็นเรื่องปรกติ คงไม่มีใครสืบคดีให้ศาลยกฟ้อง ไม่เว้นแม้แต่ท่านอัยการที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐครับผม..

เมื่อสืบคดีฝ่ายเดียวทำให้ศาลหลงเชื่อตามพยานหลักฐานที่ป้าวรรณนำสืบว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ จึงมีคำสั่งให้ป้าวรรณได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าว

หลังจากนั้นป้าวรรณจึงนำคำพิพากษาเดินขึ้นสำนักงานที่ดินเพื่อไปขอออกโฉนด ( ใบแทน ) เพื่อจดทะเบียนเป็นซื่อป้าวรรณตามคำพิพากษาต่อไป 
และป้าวรรณได้มีการแบ่งแยกโฉนดออกเป็น ๒ แปลง และได้นำที่ดินแปลงหนึ่งมีเนี้อที่ประมาณ ๑ ไร่ ๑ งาน ๕๕ ตารางวา มาขายให้มุลนิธิสวนแก้ว จำนวน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาทในปี พ.ศ.๒๕๔๗

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ทายาทของแม่ทองอยู่ ได้มาใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์มรดกคืน โดยมีการขอพิจารณาคดีใหม่ คัดค้านการร้องขอครอบครองปรปักษ์ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ว่ามีการส่งหมายโดยไม่ชอบและไม่ใช่เป็นการครอบครองปรปักษ์ แต่เป็นการครอบครองตามสัญญาเช่า พร้อมกับฟ้องข้อหาเบิกความเท็จ ซึ่งเป็นความผิดทางอาญาด้วย 

และจุดสำคัญของคดีคือป้าวรรณไปยอมรับว่า มีการเช่าที่ดินแปลงดังกล่าวจริง ส่วนที่มาที่ไปของการยอมรับดังกล่าวจะเป็นมาอย่างไรทนายก็ไม่ทราบเมื่อกัน ว่ามีการตกลงสมยอมทางคดีเพื่อให้คดีจบๆกันไปก็ไม่ทราบ  แต่เมื่่อป้าวรรณไม่สู้คดี ยอมรับว่าเป็นการเช่า คดีก็จบครับ ถือว่าไม่ใช่เป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์ แม้ป้าวรรณและครอบครัวจะครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวมานานแสนนานก็ตาม...

หลังจากนั้นทายาทของแม่ทองอยู่จึงได้ฟ้องขอเพิกถอน นิติกรรมการซื้อขายที่ดินกับวัดสวนแก้ว ตามหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน วัดสวนแก้วแพ้คดีตามระเบียบ ตามข้อกฎหมาย 

คดีวัดสวนแก้วสิ้นสุดในปี พ.ศ.๒๕๕๐ แต่ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๗ จนถึงมีการฟ้องคดีและระหว่างสู้คดีอยู่นั้นวัดสวนแก้วก็ยังคงครอบครองในที่ดินแปลงดังกล่าวเรื่อยมา

จนถึงปี พ.ศ.๒๕๕๙ ทางวัดสวนแก้วนับระยะเวลาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๗ ถึงปี พศ.๒๕๕๙ เป็นระยะเวลากว่า ๑๒ ปีแล้วที่ครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าว ทางวัดน่าจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์ ทางวัดสวนแก้วจึงได้ยื่นเรื่องขอครอบครองปรปักษ์ต่อศาล

ต่อมาเดือนตุลาคม ๒๕๖๐ ศาลชั้นต้นได้มีคำตัดสินให้วัดสวนแก้วแพ้คดีเนื่องจาก นับระยะเวลาแล้วทางวัดสวนแก้วครอบครองปรปักษ์ยังไม่ครบ ๑๐ ปี เพราะมีการหักระยะเวลาช่วงที่มีคดีความออกไปครับ

ปัจจุบันคดีวัดสวนแก้วยังอยู่ในชั้นศาลอุทธรณ์ โดยทางวัดสวนแก้วสู้ประเด็นว่าครอบครองครบ ๑๐ ปี แล้วเพราะมูลนิธิสวนแก้ว กับวัดสวนแก้ว เป็นนิติบุคคลคนละคนกัน ไม่เกี่ยวกัน ไม่ได้เป็นคดีด้วย ซึ่งเป็นคดีที่น่าสนใจ รอติดตามชมตอนต่อไปว่าศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจะตัดสินว่าอย่างไรครับผม..

จากคดีวัดสวนแก้วดังกล่าว 

ทำให้เพื่อนๆ ทราบประเด็นข้อต่อสู้คัดค้านการครอบครองปรปักษ์อะไรบ้างคับ

คดีแรก ป้าวรรณร้องครอบครองปรปักษ์  ตอนต้นศาลตัดสินไปแล้วคดีถึงที่สุดแล้ว ให้ป้าวรรณชนะ ป้าวรรณเอาที่ไปขายจดทะเบียนบนสำนักงานที่ดินให้มูลนิธิสวนแก้วเรียบร้อยแล้ว

ทนายความของทายาทแม่ทองอยู่สู้ เรื่องการพิจารณาผิดระเบียบ ส่งหมายไม่ชอบ ขอพิจารณาคดีใหม่ ไม่ใช่เป็นการครอบครองปรปักษ์ แต่เป็นการครอบครองตามสัญญาเช่า

และมีการฟ้องคดีอาญาฐานเบิกความเท็จอีกข้อหาหนึ่งด้วย 

สุดท้ายคดีนี้ป้าวรรณไม่สู้คดี ยอมรับว่าเช่าที่จริง ทายาทแม่ทองอยู่ชนะคดี

คดีที่สอง วัดสวนแก้วร้องขอครอบครองปรปักษ์   ทางทนายทายาทแม่ทองอยู่ก็คงสู้ประเด็นเรื่องเป็นการครอบครองโดยไม่สงบ ระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ยังไม่ถึง ๑๐ ปี ครับ

ซึ่งสุดท้ายทางวัดสวนแก้วก็แพ้คดีในศาลชั้นต้นเพราะนับระยะเวลาหลังจากคดีสิ้นสุดแล้วยังไม่ถึง ๑๐ ปี จึงไม่ครบองค์ประกอบของกฎหมายว่าด้วยการครอบครองปรปักษ์ครับ...

สรุป ข้อต่อสู้การคัดค้านการครอบครองปรปักษ์ ก็สู้ตามประเด็นกฎหมาย มาตรา 1382 คือ ยังไม่ครบไม่เข้าองค์ประกอบของกฎหมายของการครอบครองปรปักษ์คับ ก็คือ

๑. เป็นการครอบครองโดยไม่สงบ เช่นกรณีดังกล่าว เพราะเป็นคดีความกันอยู่ เป็นการครอบครองที่ดินระหว่างเป็นคดีความกันอยู่ ถือว่าครอบครองโดยไม่สงบครับ

๒.ไม่ใช่เป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เช่นคดีแรก ครอบครองตามสัญญาเช่า หรือเป็นกรณีให้อาศัย ขอทำกิน ให้ทำกินต่างดอกเบี้ย ตามสัญญาจะซื้อจะขาย หรือครอบครองระหว่างเป็นคดีความกัน ถือว่าเป็นการครอบครองแทนฝ่ายที่ชนะคดี เพราะบางคดีกว่าคดีจะสิ้นสุดถึงชั้นฎีกา ก็ใช้ระยะเวลากว่า ๑๐ ปีก็ได้ 

๓. ระยะเวลาครอบครองยังไม่ถึง ๑๐ ปี เช่น กรณีที่สองของวัดสวนแก้ว นับระยะเวลาแล้วยังไม่ถึง ๑๐ ปี วัดสวนแก้วก็แพ้คดีครับ หลวงพ่อพยอมท่านน่าจะใจเย็นรออีกสัก ๒ ปี จึงมาฟ้องน่าจะมีโอกาสชนะมากกว่า...เพราะครบ ๑๐ ปี หลังจากคดีแรกจบ...แต่ก็ด้วยความเคารพในมุมมองกฎหมายของวัดสวนแก้วครับ

๔.สู้การครอบครองปรปักษ์ด้วยหลัก เป็นบุคคลภายนอก สุเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนโดยสุจริต ่ตามมาตรา 1299 วรรคสองตอนท้ายครับ คือขายให้บุคคลภายนอกและจดทะเบียนโอนไปซะ เพราะผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแต่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน สู้บุคคลภายนอกไม่ได้ครับ...
แต่ย้ำนะครับว่าต้องเป็นบุคคลภายนอก ที่เสียค่าตอบแทน จดทะเบียนโดยสุจริตครับ

ส่วนการยื่นคำให้การต่อสู้คดีคัดค้านการร้องครอบครองปรปักษ์ ก็ต้องยื่นก่อนหรือภายในวันนัดไต่สวนคำร้องครอบครองปรปักษ์นะครับ

แต่ถ้าการร้องครอบครองปรปักษ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ยื่นภายหลังก็ได้ครับ ดังเช่น คดีครอบครองปรปักษ์คดีแรกระหว่างทายาทกับป้าวรรณครับ..

สุดท้ายหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับท่านไม่มากก็น้อยนะครับ

อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ นะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง 



แล้วพบกันใหม่ที่บทความต่อไปครับ

กฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่า เพื่อชาวบ้าน

ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา

การครอบครองปรปักษ์ หลักเกณฑ์การครอบครองปรปักษ์

ข่าวดัง คดีการเพิกถอนการครอบครองปรปักษ์ที่ดินวัดสวนแก้ว

เนื่องด้วยเมื่อว้นที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ หลวงพ่อพยอม 
ได้ร้องขอเป็นธรรมกับคุณควีน แหม่มโพธิ์ดำ

เรื่องคดีวัดสวนแก้ว เกี่ยวกับการที่วัดร้องขอครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ซื้อมาแล้วโดนเพิกถอนนิติกรรม
จนกลายมาเป็น " โฉนดที่ดินกล้วยแขก "



วันนี้กระผมทนายธีรวัฒน์  นามวิชา กฎหมายเพื่อความสุข กฎหมายเพื่อชาวบ้าน จึงขอมาพูดถึงหลักเกณฑ์การครอบครองปรปักษ์ เพื่อจะมีประโยชน์กับเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดินผู้อื่นอยู่แต่ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ หรือประชาชนทั่วไปครับ..

เมื่อการนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างมูลนิธิสวนแก้ว ตกเป็นโมฆะ ถูกเพิกถอน กรรมสิทธิ์ในที่ดินตกกลับไปเป็นของทายาทของนางทองอยู่เช่นเดิม การร้องครอบครอบปรปักษ์ จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะทำให้วัดสวนแก้วได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวอีกครั้ง

การครอบครองปรปักษ์เป็นการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ตามมาตรา 1299 วรรคสอง ครับผม


.การครอบครองปรปักษ์ หมายถึง การครอบครองที่ดินของผู้อื่นเพื่อเจตนาอยากได้เป็นเจ้าของตนเองครับ..

การครอบครองปรปักษ์ที่ดิน ตา่มมาตรา 1382 สรุปหลักเกณฑ์ได้ว่า " บุคคลใดครอบครองที่ดินของผู้อื่นไว้โดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ได้ครอบครองที่ดินติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นไปครับ"..

สรุปหลักเกณฑ์การครอบครองปรปักษ์ที่ดิน ตามมาตรา 1382 ได้ดังนี้

๑. บุคคล หมายถึง บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล วัดสวนแก้วมีฐานะเป็นนิติบุคคลจึงร้องขอครอบครองปรปักษ์ได้ เทียบเคียงตามฎีกาที่ ๑๔๗๙-๑๔๘๐/๒๕๒๔

๒.ทรัพย์สิน ทีี่ดินต้องเป็นของผู้อืน และที่ดินที่จะร้องครอบครองปรปักษ์ต้องมีกรรมสิทธิ์คือ มีเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดที่ดิน ถ้าเป็นที่ดินมือเปล่า ที่ดินตาม สค.๑ หรือ ตาม น.ส.๓ นั้นมีเพียงสิทธิืครอบครอง จึงไม่สามารถร้องขอครอบครองปรปักษ์ได้ เพราะเจ้าของเดิมยังไม่มีกรรมสิทธิ์ คนครอบครองจึงไม่มีสิทธิ์ดีกว่าเจ้าของเดิมครับ...

๓.การครอบครองปรปักษ์ ต้องเป็นการครอบครองโดยสงบและเปิดเผย ไม่ถูกโต้แย้ง ถูกฟ้อง ถูกแจ้งความดำเนินคดี และการครอบครองที่ดินระหว่างที่เป็นความกันไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยสงบ เทียบเคียงฎีกาที่ ๑๕๓๑/๒๕๒๕
และตัวอย่างกรณีวัดสวนแก้วที่มีการซื้อที่ดินมาและได้ครอบครองที่ดินมาตั้งแต่ปี พศ.๒๕๔๗ แต่มาถูกฟ้องเพิกถอนนิติกรรมเรียกที่ดินคืน ในปี พ.ศ.๒๕๔๙ คดีมาถึงที่สุดปี ๒๕๕๐ ถือว่าระหว่างที่เป็นคดีกันถือว่าเป็นการครอบครองโดยไม่สงบ ต้องนับระยะเวลาใหม่นับแต่คดีถึงที่สุดเป็นต้นไปอีกสิบปี

๔.การครอบครองปรปักษ์ ต้องเป็นการครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของ แปลง่ายๆ คือทำตัวเป็นเจ้าของที่ดินหรือบ้านดังกล่าว บ้านพังชำรุดก็ต้องซ่อมแซม มีการหวงห้ามขัดขวางผู้อื่นไม่ให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินของตน 

และการครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ไม่ใช่เป็นการครอบครองแทน ครอบ หรือครอบครองโดยอาศัยสิทธิ์หรือยอมรับสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินนั้น เช่น ครอบครองที่ดินตามสัญญาเช่า ตามสัญญาจะซื้อจะขาย ตามสัญญากู้ยืมเงินให้ทำกินต่างดอกเบี้ย ตามที่เขาอนุญาตให้อาศัยอยู่ให้ทำกิน

ถ้าเป็นการครอบครองแทน ต้องมีการแจ้งเปลี่ยนเจตนาไปยังเจ้าของหรือทายาทก่อนว่าต้องการที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของตน เช่นไม่จ่ายค่าเช่า ไม่ให้ไถ่ถอน อ้างว่าขายขาดแล้ว..

๕.ระยะเวลาในการครอบครองปรปักษ์ ต้องเป็นการครอบครองทำประโยชน์ในทีิดินติดต่อกัน ๑๐ ปีขั้นไป
จึงจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยนับระยะเวลาของผู้ครอบครองทำประโยชน์เป็นหลักว่าครบ ๑๐ ปีหรือยังโดยไม่ต้องดูว่าที่ดินจะมีการโอนไปให้ผู้อื่นหรือไม่ก็ตาม ถ้าครบ ๑๐ ปี ก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์

จากตัวอย่างกรณีทีี่วัดสวนแก้วร้องขอครอบครองปรปักษ์ที่ดิน โดยทางวัดสวนแก้วนับระยะเวลาตั่งแต่ปีพ.ศ.๒๕๔๗ ที่วัดสวนแก้วซื้อที่ดินมาจนถึงปี ๒๕๕๙ ที่วัดสวนแก้วร้องขอครอบครองปรปักษ์จึงเป็นระยะเวลากว่า ๑๒ ปี แล้ว แต่เมื่อหักระยะเวลาที่เป็นคดีความกันในปี ๒๕๔๙ ถึงปี ๒๕๕๐ ทำให้ระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ของวัดสวนแก้วไม่ครบ ๑๐ ปีื ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาให้วัดสวนแก้วแพ้คดีไป

โดยปัจจุบัน วัดสวนแก้วได้ยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว เป็นประเด็นข้อกฎหมายว่าวัดสวนแก้ว ไม่เกี่ยวกับมูลนิธิสวนแก้ว จึงไม่ได้เคยมีเรื่องกัน ไม่ได้เป็นคู่ความในคดี ระยะเวลาจึงเกิน ๑๐ ปีแล้ว 

ซึ่งผมว่า คดีนี้ก็เป็นกรณีศึกษาต่อไปครับว่าศาลอุทธรณ์และถ้ามีการฎีกา ศาลฎีกาจะตัดสินออกมาอย่างไร ?? ต้องติดตามตอนต่อไปครับผม...

สรุปหลักเกณฑ์การครอบครองปรปักษ์ มาตรา 1382 ก็มีหลักเกณฑ์ดังที่กล่าวมาครับผม...


สุดท้าย ที่ดินมีราคา ดูแลดีดีนะครับ..ถ้าถูกคนอื่นครอบครองปรปักษ์ ก็ยังมีทางแก้นะครับ
ติดตามในบทความต่อไปครับผม...


กฎหมายเพื่อความสุข

ทนายธีรวัฒน์ นามวิชา




วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ตำรวจดึงกุญแจรถไปผิดไหม เมื่อกฎหมายจราจรไม่ได้ให้อำนาจไว้

ตำรวจดึงกุญแจรถไปผิดแน่ 100 %  
เพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้

แต่กฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้น เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน


สวัสดีครับ กฏหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่า 
ผมทนายธีรวัฒน์  นามวิชา ทนายความคนศรีสะเกษ

วันก่อนเห็นเพื่อนในเฟสบุ๊ค เเชร์คลิป ตำรวจนอกเครื่องแบบ ตั้งด่านสกัด ขอตรวจปัสสาวะผู้ขับขี่และทางเจ้าพนักงานตำรวจก็มีการดึงกุญแจรถยนต์ ของผู้ขับขี่ไป เพื่อเป็นการบังคับกลายๆ ให้ผู้ขับขี่ไปตรวจปัสสาวะ ถ้าตรวจไม่พบก็จะคืนกุญแจรถยนต์ให้...

ส่วนผู้ขับขี่ก็ปฎิเสธไม่ยอมให้ตรวจปัสสาวะ เนื่องจากเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบ ถามชื่อยศ เจ้าพนักงานตำรวจก็ไม่ยอมแจ้ง อ้างว่าเป็นความลับ...และบอกเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าเป็นด่านไม่ชอบ ด่านเถือน เจ้าพนักงานตำรวจก็บอกว่าเป็นการตั้งด่านสกัด สามารถทำได้....

คำถามคือ กรณีดังกล่าว

1.เจ้าพนักงานตำรวจ ตั้งด่าน จุดสกัดถูกต้องตามกฎหมาย ตามระเบียบ คำสั่ง ผบ.ตร.
ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาหรือเปล่า ???

2.เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจ " ดึงกุญแจรถยนต์ของประชาชนไปได้หรือเปล่า ? "

กฏหมายเพื่อความสุข ขอตอบว่า

1.เป็นการตั้งด่านที่ชอบด้วยกฎหมายหรือเปล่า ??
ตามหนังสือสังการของ ผบ.ตร. ที่ ๐๐๐๗.๓๔/๕๕๗๘ ่ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๖  เรื่อง การกำชับมาตรการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั่งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีในการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนทั่วไปและผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อป้องกันไม่ให้ภาพลักษณ์ของ ตำรวจ โดยรวมเสื่อมเสีย

โดยตามคำสั่งดังกล่าว จุดสกัด หมายถึง "สถานที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฎิบัติหน้าที่ตรวจค้น เพื่อจับกุุมผู้กระทำความผิดในเขตทางเดินรถหรือทางหลวง ในกรณีที่มีเหตุุการณ์ฉุกเฉิน หรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้น เป็นการชั่วคราวและจะต้องยุบเลิกเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจดังกล่าว"

การตั้งจุดสกัด จะตั้งได้เฉพาะกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้น และจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ระดับหัวหน้าสถานีตำรวจหรือผู้รักษาการณ์แทนขึ้นไปโดยมีกำหนดระยะเวลาเท่าที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนดังกล่าวยังคงมีอยู่เท่านั้น

่การปฏิบัติหน้าที่ ณ ด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัด จะต้องมีนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรระดับตั้งแต่รองสารวัตรขึ้นไปเป็นหัวหน้า และจะต้องเเต่งเครื่องแบบในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว

การปฎิบัติการในการตรวจค้น จับกุม ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ว่าด้วยการนั้นโดยเคร่งครัด

มาตรการป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์ พฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต และสร้างความเดือดร้อนแ่ก่ประชาชน นั้นตามระเบียบดังกล่าว

การตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ต้องเป็นไปตามหลักปฏิบัติโดยเคร่งครัด เมื่อไม่มีการตั้งจุุดตรวจ จุดสกัด ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใดหยุดรถเพื่อทำการตรวจ เว้นแต่พบความผิดซึ่งหน้าและต้องไม่เป็นไปในลักษณะการซุ่มจับอย่างเด็ดขาด

บทลงโทษสำหรับตำรวจที่ไม่ทำตามคำสั่ง ( นอกรีต ตำรวจไม่ดี ๐.๐๑% ) ก็มีทั้งโทษทั้งทางวินัยและอาญา ส่วนหัวหน้าผู้บังคับบัญชาของตำรวจที่กระทำผิดดังกล่าว ก็จะโดนโทษฐานบกพร่องละเลยไม่เอาใจใส่ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาของตน

จากคำสั่งดังกล่าว จึงถือว่าด่านสกัดตามคลิปนั้น เป็นด่านเถือน ด่านลอย เนื่องจากไม่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินจำเป็น เร่งด่วน ไม่มีเจ้าพนักงานในเครื่องแบบ

ดังนั้นเมื่อเป็นด่านเถื่อน จุดสกัดเถือน จุดสกัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีอำนาจสั่งให้ผู้ใดหยุดรถเพื่อทำการตรวจค้นได้ เว้นแต่ความผิดซึ่งหน้า ประชาชนสามารถปฏิเสธไม่ทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจได้ครับ

สรุป กรณีตามคลิป เจ้าพนักงานตำรวจไม่มีอำนาจสั่งหยุดรถ เพื่อขอตรวจค้น ขอตรวจปัสสาวะได้

2.ถ้าเป็นจุดตรวจ จุดสกัด ที่ถูกกฎหมาย เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจ " ดึงกุญแจรถยนต์ของประชาชนไปได้หรือเปล่า ? "
นั้นตามพรบ.จราจรทางบก ฯ นั้นให้อำนาจ เจ้าพนักงานจราจร มีอำนาจว่ากล่าวตักเตือน ออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบได้ ในการออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบปรับ หรือจะเรียกเก็บใบขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ แต่ต้องออกใบแทนใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ต้องรีบนำใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้ส่งมอบให้พนักงานสอบสวนภายใน 8 ชั่วโมง นับแต่วันที่ออกใบสั่ง ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ ใช้แทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นการชั่วคราวไม่เกิน 7 วัน

แต่ตามพรบ.จราจรฯพรบ.รถยนต์ฯ พรบ.การขนส่งฯไม่ได้ให้อำนาจตำรวจดึงกุญแจรถไปได้


่ดังนั้น การชักกุญแจ หรือ ดึงกุญแจรถ ยึดกุญแจรถ ไม่มีกฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะสามารถทำการยึดกุญแจรถนั้นได้ การเอากุญแจรถไปจึงผิด เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชนตาม ป.อ. มาตรา ๑๕๗ แล้ว
 เว้นแต่ มีพฤติการหลบหนี พยายามจะหลบหนีหรือ หลบหนีมาแล้ว การชักกุญแจ หรือ ดึงกุญแจ การยิงสกัด จึงเป็นการป้องกันเหตุ ป้องกันการหลบหนี ซึ่งสามารถกระทำได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๓ วรรคสาม ว่าด้วยการจับ กุม

สรุป ถ้าเป็นจุดตรวจ จุดสกัดที่ชอบด้วยกฎหมาย ตำรวจสามาถดึง
กุญแจรถไปได้ ถ้าผู้ขับขี่มีพฤติการณ์ที่จะหลบหนี หรือพยายามจะหลบหนีหรือหลบหนีไปแล้วตำรวจตามจับ ถ้าไม่หนี ก็ดึงไปไม่ได้นะครับผม..

อย่าลืมกดไลค์ กฎแชร์ แบ่งปันให้เพื่อนๆ นะครับผม

กฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่าเพื่อชาวบ้าน

ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา

วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560

อายุความคดีเช่าซื้อรถยนต์ กฎหมายอายุความคดีเช่าซื้อ มีตั้งแต่ 6 เดือน ถึงตลอดชีพ

อายุความคดี่เช่าซื้อ ไม่ว่าจะเป็นเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์

ซึ่งอายุความคดีเช่าซื้่อนั้นมีอายุความตั้งแต่ 6 เดือนถึงตลอดชีพ.



สวัสดีครับผมทนายธีรวัฒน์  นามวิชา กฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่า เพื่อชาวบ้าน
วันนี้พบกันว่าด้วยเรื่อง " อายุความคดีเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ "

ในเรื่องสัญญาเช่าซื้อ นั้นมีอายุความที่เกี่ยวเนื่องกับคดีเช่าซื้อ อยู่หลายอายุความด้วยกัน คือ

มีอายุความตั้งแต่ 6 เดือน 2 ปี 5 ปี 10 ปี และไม่มีอายุความ แบบอายุความตลอดชีพ
ซึ่งส่วนมากที่โจทก์ บริษัทไฟแนนซ์เช่าซื้อรถยนต์ ฟ้องมาก็จะมีประมาณดังต่อไปนี้ครับ

๑.อายุความค่าขาดประโยชน์ ก่อนสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน มีอายุความ  ๖ เดือน
นับแต่บริษัทให้เช่าซื้อรับรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืน ตาม มาตรา ๕๖๓

๒.อายุความค่าขาดประโยชน์ หลังสัญญาเช่าซื้อรถยนต์เลิกกัน มีอายุความ ๑๐ ปี
นับแต่วันที่สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงครับ

ค่าขาดประโยชน์ คือ ค่าใช้รถยนต์แล้วไม่จ่ายค่างวดคับ ทั้งก่อนบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและ
หลังจากมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ทำให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกัน แต่ผู้เช่าซื้อไม่ยอมคืนรถยนต์
รถจักรยานยนต์ให้กับไฟแนนซ์ครับ ทำให้ไฟแนนซ์เสียหายไม่ได้รับประโยชน์จากรถยนต์คันที่เช่าซื้อได้
เนื่องจากไฟแนนซ์อ้างว่า สามารถเอารถยนต์คันดังกล่าวออกให้เช่าหรือนำไปจัดไฟแนนซ์ต่อได้

๓.อายุความฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันผิดนัดเป็นต้นไป ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๓๔ (๖) ที่บัญญัติว่า " สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีอายุความ ๒ ปี...

( ๖ ) ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ เรียกเอาค่าเช่า

เนื่องจากสัญญาเช่าซื้อ คื่อสัญญาเช่าทรัพย์ บวกสัญญาขายเมื่อชำระค่างวดครบถ้วน ตามมาตรา ๕๗๒
ดังนั้นค่าเช่าซื้อ ค่างวดรถยนต์ จึงเป็นค่าเช่ารถยนต์อย่างหนึ่งด้วยครับ..

๔.อายุความฟ้องเรียกเอารถยนต์คันที่เช่าซื้อคืน ไม่มีอายุความจำกัดไว้ เรียกได้ตลอดชีพ

เนื่องจากเป็นเรื่องเจ้าของรถยนต์ คือบริษัทไฟแนนซ์ ติดตามเอาทรัพย์คือ รถยนต์คันที่เช่าซื้อคืน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ ครับไม่มีอายุความจำกัดไว้

๕.อายุความฟ้องเรียกค่าติดตามยึดรถยนต์คืน มีอายุความ ๑๐ ปี ตามมาตรา ๑๙๓/๓๐

๖.อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหาย ขายรถยนต์ขาดทุน มีอายุความ ๑๐ ปี ตามมาตรา ๑๙๓/๓๐ เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยเรื่องเช่าทรัพย์ และเช่าซื้อไม่ได้กำหนดอายุความไว้

๗.อายุความฟ้องเรียกให้ชดใช้ราคารถยนต์คันที่เช่าซื้อแทน ในกรณีรถยนต์คันที่เช่าซื้อหาย หรือบุษสลายจนไม่สามารถใช้งานได้หรือซ่อมแซมได้ มีอายุความ ๑๐ ปี

แต่ความจริงแล้วในกรณีที่รถยนต์คันที่เช่าซื้อหาย ถือว่าสัญญาเลิกกันโดยปริยาย ถ้าไม่ใช่ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อก็ไม่ต้องรับผิดชอบครับ มีกฎหมายยกเว้นความรับผิดอยู่คับ

๘.อายุความครอบครองปรปักษ์รถยนต์คันที่เช่าซื้อ มีระยะเวลา ๕ ปี ตามมาตรา ๑๓๘๒ การครอบครองปรปักษ์ บัญญัติว่า " บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ด้วยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา ๕ ปีไซร์ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ " แต่ต้องแจ้งเปลี่ยนลักษณะการยึดถือครอบครองไปยังเจ้าของรถคือบริษัทไฟแนนซ์ก่อนนะครับ....

แต่ที่สำคัญแจ้งไปแล้ว อาจโดนฟ้องคดีอาญากลับมาครับ...เจตนายักยอกทรัพย์....

ภาระหน้าทีี่ในการยกอายุความขึ้นต่อสู้คดีเช่าซื้อ

เนื่องจากอายุความสัญญาเช่าซื้อเป็นคดีแพ่ง ศาลไม่สามารถหยิบยกเรื่องอายุความขึ้นมายกฟ้องเองได้ ถ้าไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้

เพราะตามมาตรา ๑๙๓/๒๔ เมื่อคดีขาดอายุความแล้ว ลูกหนี้จะสละประโยชน์แห่งอายุความก็ได้

มาตรา ๑๙๓/๒๘  การชำระหนี้ทีี่ขาดอายุความนั้นไม่ว่าจะจ่ายไปมากหรือน้อย ไม่ว่าจะรู้หรือไม่ว่าขาดอายุความแล้ว ก็เรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนไม่ได้

และมาตราสำคัญคือ มาตรา ๑๙๓/๒๙ เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้...

สรุปข้อต่อสู้คดีเช่าซื้อ เรื่องอายุความ ก็มีประมาณนี้ครับ ที่ไฟแนนซ์ฟ้องเรียกมา...

บทความที่เกี่ยวข้อง 

รถหายต้องผ่อนกุญแจต่อหรือไม่ ?

คดีเช่าซื้อ ขายรถยนต์ขาดทุน ไม่ต้องจ่ายค่าขาดราคาก็ได้?

อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ กดติดตามด้วยนะครับ
แล้วพบกันใหม่ ที่บทความต่อไปครับผม...

กฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่า เพื่อชาวบ้าน


ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา



วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

กฎหมายใหม่ กยศ.2560 หักเงินเดือนคนกู้ กยศ.ทันที ณ ที่จ่าย นายจ้างไม่ยอมหักต้องจ่ายหนี้แทน พร้อมค่าปรับ

พรบ.กยศ.2560 กฎหมายใหม่ กยศ. 
กำหนดให้นายจ้างต้องหักเงินเดือนลูกหนี้ กยศ.ทันที ณ ที่จ่าย

หากนายจ้างไม่หักเงินเดือนลูกหนี้ กยศ. ต้องจ่ายหนี้แทนพร้อมค่าปรับเงินเพิ่ม ร้อยละ 2 ต่อเดือน ครับ


แล้วกฎหมายใหม่ กยศ 2560 ตามพระราชบัญญัติ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560 
จะสามารถหักเงินเดือนทั้งคนกู้เงิน กยศ.หรือ กรอ.เก่า ก่อนที่กฎหมาย กยศ.ใหม่ 2560 
มีผลบังคับใช้ได้หรือเปล่า ?

กฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่า กับทนายธีรวัฒน์  นามวิชา มีคำตอบครับ..

ตาม พระราชบัญญัติ กยศ.ใหม่ 2560 

มีมาตราที่สำคัญ คือ มาตรา 2 พระราชบัญญัติ กยศ.ใหม่ มีผลบังคับเมื่อพ้น 180 นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ( ประกาศ วันที่ 27 มกราคม 2560 ) 

ดังนั้น พรบ.กยศ.2560 จึงมีผลบังคับตัั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2560

มาตรา 42 ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ ต้องปฏิบัติตามสัญญากู้ยืมเงินโดยเคร่งครัด
เพื่อประโยชน์ในการบริหารกองทุนและการติดตามการชำระเงินคืนกองทุน ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) ให้ความยินยอมในขณะทำสัญญากู้ยืมเงิน  เพื่อให้ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้พึ่งประเมิน
ตามมาตรา ๔๐ (๑)  แห่งประมวลรัษฎากร หักเงินได้พึงประเมินของตนตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ เพื่อชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาคืนกองทุน

(๒) แจ้งสถานะการเป็นผู้กู้ยืมเงินต่อหัวหน้าหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนที่ตนทำงานด้วย
ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เริ่มปฏิบัติงาน และยินยอมให้หักเงินได้พึงประเมินของตนเพื่อดำเนินการตามมาตรา ๕๑

(๓) ยินยอมให้กองทุนเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตนที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น รวมทั้งยินยอมให้กองทุนเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน และการชำระเงินคืนกองทุน

ดังนั้นตาม พรบ.กยศ.ใหม่ 2560 ตามมาตรา 42  (๑) (๒)และ (๓)
ทำให้ กยศ.สามารถหักเงินเดือนผู้กู้เงิน กยศ.ได้ โดยผู้กู้ต้องทำหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือน ในขณะทำสัญญากู้ยืมเงิน กยศ. และยินยอมให้เปิดเผยข้อมูล ขอข้อมูลจากหน่วยงานอื่น จากธนาคารอื่นได้ด้วย และประวัติการชำระเงิน กยศ. (เครดิตบูโร ) และเมื่อเข้าทำงานก็ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบด้วยว่าตนกู้เงิน กยศ. และยินยอมให้นายจ้างหักเงินเดือนให้ กยศ. ด้วย

และตาม มาตรา๕๑ ของ พรบ.กยศ.ใหม่ 2560 ได้กำหนดเงื่อนไข 

ในการหักเงินเดือนผู้กู้ยืมเงินไว้ และบทกำหนดโทษ 
หากนายจ้างไม่ยอมหักเงินเดือนส่ง กยศ.  ดังนี้  ทนายขอสรุปเลยแล้วกัน เพราะมันยาวมาก

มาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง ให้นายจ้างทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้จ่ายเงินได้ตามมาตรา ๔๗(๑) แห่งประมวลรัฐฎากร มีหน้าที่หักเงินเดือน ผู้กู้ยืิมเงิน กยศ. ตามที่กองทุนแจ้งให้ทราบ โดยให้นำส่งให้กรมสรรพากรภายในกำหนดระยะเวลานำส่งภาษีหักเงินได้ ณ ที่จ่าย

มาตรา ๕๑ วรรคสอง การหักเงินตามวรรคหนึ่ง ให้หักเงิน ภาษี ณ ที่จ่ายก่อน หลังจากนั้นลำดับที่ 2 ให้หักเงินให้กองทุนเพื่อการศึกษา หลังจากนั้นจึงค่อยไปหัก กองทุนกบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสังคม ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ หนี้ต่างๆ ตามลำดับต่อไป..

มา่ตรา ๕๑ วรรคสาม เมื่อกรมสรรพกรได้รับเงินจากนายจ้างที่หักเงินเดือนผู้กู้ กยศ. ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้กรมสรรพากรนำส่งให้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาต่อไป

่มาตรา ๕๑ วรรคสี่ บทกำหนดโทษนายจ้างที่ไม่ยอมหักเงิน ลูกหนี้ กยศ.
๑ ถ้านายจ้างไม่ยอมหักเงินได้พึงประเมิน หรือ
๒.หักแล้วไม่ได้นำส่ง หรือ
๓. นำส่งแต่ไม่ครบตามจำนวนทีี่กองทุนแจ้งให้ทราบ หรือ
๔. หักแล้วนำส่งเกินกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง

กำหนดโทษให้ นายจ้าง ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ต้องรับผิดชดใช้เงินที่ต้องนำส่งในส่วนของผู้กู้ยืมเงินตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ และต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ผู้จ่ายเงินได้พึ่งประเมินยังไม่ได้นำส่งหรือตามจำนวนที่ยังขาดไป แล้วแต่กรณี นับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดต้องนำส่งตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๕๑ วรรคห้า เมื่อนายจ้างได้หักเงินเดือนของลูกจ้างที่กู้ยืมเงินไว้แล้ว ให้ถือว่าลูกจ้างทีี่กู้ยืมเงิน กยศ.ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามจำนวนที่ได้หักไว้แล้ว ส่วนนายจ้างจะส่งไม่ส่งเป็นเรื่องของนายจ้างที่อยากโดนค่าปรับเงินเพิ่มเองครับ

สรุป กฎหมายใหม่ กยศ.ตาม พระราชบัญญัติกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560

กำหนดให้ลูกหนี้ กยศ.ใหม่ ต้องเซ้นหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือนได้ โดยให้หักเป็นลำดับที่ 2 ต่อจากหักภาษี ณ ที่จ่าย หากนายจ้างไม่ทำตาม ก็ต้องจ่ายหนี้ กยศ.แทน และต้องจ่ายค่าปรับด้วยครับ...

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560

กฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่า 

อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ แบ่งปันเรื่องราวดีดี นี้ให้เพื่อนๆ ทราบนะครับผม

แล้วพบกันใหม่ที่บทความต่อไปครับ

ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา

วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

รับจ้างเปิดบัญชี ความผิดของการรับจ้างเปิดบัญชีธนาคาร

โดนหลอกให้เปิดบัญชี รับจ้างเปิดบัญชีธนาคาร

ความผิด โทษของการรับจ้างเปิดบัญชีธนาคาร จำคุก 1- 10 ปี



สวัสดีครับ วันนี้ไปเปิดบัญชีธนาคาร เห็นป้ายเตือนรับจ้างเปิดบัญชี มีความผิดตามกฎหมาย
ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาติดไว้ ก็เลยขอเขียนบทความกฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่า
ว่าด้วยการรับจ้างเปิดบัญชีธนาคาร หรือโดนหลอกให้ไปเปิดบัญชีธนาคารให้ โดยให้เงินเป็นค่าตอบเเทนเป็นเงิน 2,000- 3,000 บาท หลังจากนั้นวันดีคืนดี ก็มีเจ้าพนักงานตำรวจมาตามหาที่บ้าน แล้วแจ้งว่ากระทำความผิดต่าง ๆ ทั้งทีี่ไม่เคยได้กดเงินออกจากบัญชีมาใช้แม้แต่บาทเดียว

โทษ ความผิดของการรับจ้างเปิดบัญชี

ความจริงแล้ว คนหนึ่งคนสามารถมีบัญชีธนาคารได้หลายบัญชี แล้วทำไมเข้าต้องมาจ้างให้เราเปิดบัญชีธนาคารให้ หรือมาหลอกให้เราเปิดบัญชีธนาคารให้ เพราะคนทั่วไปคงไม่อยากให้ใครมายุ่งเกี่ยว รับรู้เกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆ ของตน

ดัง่นั้นการที่เพื่อน คนรู้จัก มาให้เราเปิดบัญชีธนาคารให้และมอบบัตรเอทีเอ็ม ให้กับเพื่อนไป
หรือโดนหลอก รับจ้างเปิดบัญชีให้คนไม่รู้จัก ย่อมเป็นไปได้ว่าบุคคลเหล่านั้น ต้องนำไปใช้ในการกระทำความผิด เพราะไม่ต้องการให้มีหลักฐานโยงมาถึงคนร้ายได้ หรือทำให้ตรวจสอบเส้นทางการเงินได้อยากขึ้น เพราะจะใช้บัญชีทีี่รับจ้างเปิด เป็นบัญชีต้นทางในการรับโอนเงิน แล้วหลังจากนั้นก็ทำการโอนต่อไปให้บัญชีอื่นต่ออีก...

ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ ว่าคนที่มาจ้างเปิดบัญชี จะเอาบัญชีดังกล่าวไปใช้ในการซื้อขายยาเสพติด ค่าประเวณี ค่ามนุษย์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่หลอกลวงให้ประชาชนโดนเงินให้ หรือไปรับเงินฉ้อโกง หรือเงินยักยอก จากผู้เสียหายก็ได้ และบางข้อหาความผิด ก็เข้าข้อหาฟอกเงินด้วยครับ...

ความผิดของการรับจ้างเปิดบัญชีธนาคาร จึงมีได้หลายข้อหาครับ เช่น


  1. ความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงผู้อื่น
  2. ความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ( แก๊งคอลเซ็นเตอร์ )
  3. ความผิดฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ผู้อื่น
  4. ความผิดฐานร่วมกันค่ามนุษย์ ค่าประเวณี
  5. ความผิดฐานร่วมกันค้ายาเสพติด
  6. ความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน
โทษของการรับจ้างเปิดบัญชีธนาคาร 
เมื่อมีการกระทำความผิด เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบบัญชีธนาคารที่รับจ้างเปิด ก็ทำให้รู้ว่าเป็นของใคร
ก็จะมีการเชิญคนรับจ้างเปิดบัญชี มาสอบปากคำในฐานะพยาน หรือในฐานะผู้ต้องหา

ถ้าเจ้าพนักงานตำรวจแจ้งว่าเรามีส่วนกระทำความผิดด้วย 
ก็ต้องโทษจำคุก ต้องหาเงินมาประกันตัวในชั้นสอบสวนต่อไป

แต่ถ้าโชคดี พนักงานสอบสวนเห็นว่าเราไม่รู้เห็นด้วย ไม่แจ้งข้อหาคนรับจ้างเปิดบัญชีธนาคาร
ส่งสำนวนการสอบสวนไปให้พนักงานอัยการแล้ว อัยการไม่เห็นด้วย มีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้ง่ข้อหาฐานร่วมกันกระทำความผิดด้วย พนักงานสอบสวนก็ต้องแจ้งข้อหากับคนรับจ้างเปิดบัญชีครับ

เมื่อพนักงานสอบสวนเสร็จ อัยการส่งฟ้อง ศาลมีคำสั่งประทับรับฟ้องสั่งขังคนรับจ้างเปิดบัญชี ไว้ก่อนจนกว่าจะมีประกัน คนรับจ้างเปิดบัญชีก็ต้องเข้าไปในห้องขังศาล เพื่อรอการประกันตัวต่อไปครับ

รับจ้างเปิดบัญชีธนาคารแล้วจะติดคุกหรือเปล่า ?

ถ้าถามทนาย ทนายก็บอกว่าคดีรับจ้างเปิดบัญชี โดนหลอกเปิดบัญชี ก็มีทั้งที่สู้คดีได้ และสู้ไม่ได้ 
อยู่ที่ข้อเท็จจริง ข้อหาฐานความผิดทีี่โดนด้วยครับ ว่าโดนข้อหาฐานความผิดอะไร ?

่สุดท้ายเเม้จะสู้คดีชนะ แต่คนเปิดรับจ้างเปิดบัญชีก็ต้องติดคุก ต้องประกันตัวในชั้นพนักงานสอบสวนและในชั้นพิจารณาคดี ต้องเสียเงิน เสียเวลาครับ...

เพราะระบบยุติธรรมไทย เป็นระบบกล่าวหา กล่าวหาว่าคุณกระทำความผิด 
ให้ไปพิสูจน์ความบริสุทธิ์เองในชั้นศาล...

ทางแก้เมื่อโดนหลอกให้ไปรับจ้างเปิดบัญชี

ให้ไปแจ้งความเจ้าพนักงานตำรวจไว้เป็นหลักฐาน ให้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจสอบ และไปแจ้งอายัดบัตรเอทีเอ็ม ไปติดต่อธนาคารเพื่อปิดบัญชีธนาคารที่รับจ้างเปิดต่อไปคับ...

แล้วพบกันใหม่ที่บทความต่อไปครับ..

อย่าลืม กดไลค์ กดแชร์ แบ่งปันเรื่องราวดีดี ให้เพื่อน ญาติพี่น้องทราบนะครับ
จะได้ไม่ตกเป็นเครืองมือของคนไม่ดี ไม่ต้องมาขึ้นโรงขึ้นศาลครับ..

กฎหมายเพื่อความสุข


ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา

วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

โดนยึดทรัพย์ โดนยึดบ้าน ยึดที่ดิน โดนบังคับคดี ต้องทำอย่างไร

เมื่อไม่จ่ายหนี้ตามคำพิพากษา โดนเจ้าหนี้บังคับคดี

ไม่ว่าจะเป็นหนี้ กยศ.หนี้บัตรเครดิต เซ่าชิื้อรถ หรืออื่นๆ 
ทำให้ต้องโดนยึดทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน จะทำยังไง


สวัสดีครับ กฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่า วันนี้มาพบกันอีกครั้ง 
กับกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดี กล่าวคือ เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว เจ้าหนี้ได้ส่งคำบังคับคดีให้ปกิบัติตามคำพิพากษาแล้ว ลูกหนี้ตามคำพิพา่กษาก็ยังไม่จ่ายหนี้ให้กับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

เจ้าหนี้ก็จะขอหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อดำเนินการบังคับคดีนำเอาเงินมาชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ต่อไป

การบังคับคดี  ส่วนมากก็จะเป็นการยึดทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน หรือทรัพย์สินอื่นๆ ของลูกหนี้มาชำระหนี้ หรือไม่ก็จะเป็นการอายัดเงินเดือน หักเงินเดือนมาจ่ายหนี้แทน

เมื่อโดนบังคับคดี โดนยึดทรัพย์ ยึดบ้าน ยึดที่ดิน จะทำยังไงดี  

1.ลองติดต่อเจ้าหนี้ เพื่อไกล่เกลี่ย ขอผ่อนชำระ ขอส่วนลดเพื่อปิดหนี้ได้ เมื่อจ่ายหนี้ครบ เจ้าหนี้ก็จะถอนการยึดทรัพย์ให้คับ

2. ถ้าคุณกับเจ้าหนี้ไม่ได้ หรือเจ้าหนี้ไม่ยอมคุยด้วย เพราะตอนนี้ยึดทรัพย์ไว้แล้ว มีอำนาจต่อรองมากกว่า ลูกหนี้ก็ยังสามารถเลือกได้นะครับว่าจะทำยังไงต่อไป ดังต่อไปนี้ คือ

๑ ).หาเงินมาจ่ายหนี้ตามคำพิพากษาไป เหมาะสำหรับ คนที่มีหนี้น้อย แต่ราคาบ้าน ที่ดินที่โดนยึดมาราคาสูง เช่น เป็นหนี้ กยศ. หนี้บัตรเครดิต หรือหนี้อื่นๆ อยู่ 50,000 บาท แต่โดนยึดบ้าน ยึดที่ดิน ราคา 5,000,000 บาท ก็ควรหาเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาคับ เพราะเมื่อจ่ายหนี้ครบ บวกค่าธรรมเนียมต่างๆ เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะถอนการยึดทรัพย์ให้ครับ.

๒ ) ในกรณีที่หนี้ตามคำพิพากษาสูง ทรัพย์ที่โดนยึดมีราคาไม่แพงมากนัก ก็ใช้วิธียกป้ายสู้ราคาได้ครับ ส่วนมากก็จะให้ญาติพี่น้องไปซื้อแทน...

๓ )   ถ้าเงินจ่ายหนี้ก็ไม่มี หรือเงินซื้อทรัพย์ที่โดนยึดคืนก็ไม่มี ก็ต้องไปดูแลการขายทอดตลาดนะครับ
เพราะกฎหมายให้สิทธิลูกหนี้ หรือเจ้าของทรัพย์สามารถคัดค้านการขายได้ ๑ ครั้ง เพื่ออัพราคาทรัพย์ที่ขายทอดตลาดได้ โดนอาจหาคนอื่นมาซื้อ หรือในครั้งหน้าอาจมีคนให้ราคามากกว่าครั้งแรกก็ได้..

เพราะหากบังคับคดี ยึดบ้าน ยึดที่ดิน หรือยึดทรัพย์สินอื่นๆ ออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็สามารถยึดทรัพย์สินอื่นๆ ของลูกหนี้มาขายได้จนกว่าจะเพียงพอกับหนี้หรือไม่มีทรัพย์สินอื่นๆของลูกหนี้ให้ยึดได้อีกต่อไป ภายใน ๑๐ ปี นับแต่ศาลมีคำพิพากษา

๔) สุดท้ายถ้าทำอะไรไม่ได้ ก็เข้าวัด ทำใจให้สงบครับ เพราะชีวิตยังต้องเดินต่อไป...

แต่ก็มีทรัพย์สินบ้างอย่างที่ยึดไม่ได้ และเงินเดือนถ้าต่ำกว่าเดือนละ 20,000 บาท ก็ยึดไม่ได้นะครับ

ตามกฎหมายใหม่ในการบังคับคดี ตามลิงค์นี้ครับ


แล้วพบกันใหม่ที่บทความต่อไปครับ

กฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่า

         ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา



ขายไม้พยูงถูกกฎหมาย ราคาตันละ 1,000,000 บาท ไม้มีราคา แต่รัฐบาลไม่ส่งเสริม

ขายด่วน ไม้พะยูงถูกกฎหมาย 

ราคาไม้พะยูงวันนี้ ราคากิโลกรัมละ 1,000 บาท



กฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตทีี่ดีกว่า กับคำถามวันนี้

ไม้พะยูง ราคา กิโลกรัมละ 800 - 1,000 บาท ไม้พยูงตันละ 1,000,000  บาท

ข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในโลก กิโลกรัมละ 10 บาท

ต้นยูคาลิปตัส กิโลละ 1 บาท ตันละ 1,000 บาท


คำถามคือ ทำไมรัฐบาลถึงส่งเสริมให้แต่ประชาชนปลูกต้นยูคาลิปตัส กิโลละ 1 บาท 
เพื่อส่งให้นายทุนทำกระดาษ

แต่ทำไม ไม่ส่งเสริมให้ประชาชน ปลูกต้นพะยูง ที่มีราคาสูงถึงตันละ 1,000,000 บาท ???

ที่จะทำให้เกษตรกร อยู่ดีกินดี สามารถมีบำเหน็จ บำนาญได้ เพียงแค่เปลี่ยนคันนาจากต้นยูคาลิปตัส 
มาเป็นต้นพยูงเท่านั้นเอง

แต่ทำไมรัฐบาลถึงทำไม่ได้ ทั้งที่รัฐบาลมีเครื่องไม้ เครื่องมือมากมาย ที่สามารถส่งเสริมขายฝันให้ประชาชนเกิดแรงจูงใจที่จะปลูกต้นพยูงได้...

แต่รัฐบาลกับออกกฎหมายมา เพื่อกีดกัน ไม่ให้ประชาชนปลูกต้นพยุงกัน
จากเดิมที่ ต้นพะยูงที่ขึ้นอยู่ในที่ดินมีโฉนดเป็นสิ่งถูกกฎหมาย วันต่อมากลับกลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย

ชาวบ้านจึงมีทางเลือกว่าจะปล่อยให้ต้นพะยูงที่ปลูกไว้ เจริญเติบโตต่อไป หรือตัดทำลายทิ้งตั้งแต่ต้นยังเล็กๆ ซึ่งในความคิดชาวบ้านก็คงต้องตัดทิ้งอยู่แล้ว เพราะคิดว่าปลูกแล้ว โตแล้ว ตัดไม่ได้ ขนาดล้มใส่บ้านก็ต้องย้ายที่อยู่ เพราะตัดต้นไม้พะยูงออกจากบ้านไม่ได้

ดังนั้น เมื่อกฎหมายป่าไม้ ออกมายังนี้ อย่าแปลกใจ เมื่อท่านๆ ขับรถผ่านทุุ่งนา จึงเห็นต้นยูคาลิปตัสยูบนคันนา...ส่วนต้นไม้ราคาแพง ต้นสัก ต้นพยูง ยางนา นั้นหาดูยากที่จะเห็นชาวบ้านปลูกไว้

เพราะสำหรับชาวบ้านทั่วไปแล้ว ต้นยูคาลิปตัส มีค่าดั่งทองคำ ส่วนต้นสัก ยางนา พยุง คือวัชพืช กาฝาก ที่ต้องกำจัดทิ้งไป... มีไว้แล้วนำมาซึ่งคุกตะราง...

แต่ทุกวันนี้ ก็เห็นมีปราชญ์ชาวบ้านออกมาส่งเสริม ให้ปลูกกันนะครับ  กรมป่าไม้ก็มีการแจกพันธ์ไม้ฟรี ทั้งต้นสัก ยางนา ไม้พยุง หรือไม้อื่นๆ แต่เมื่อชาวบ้านยังไม่เข้าใจก็ไม่ปลูกคับ

ในความเห็นของชาวบ้าน ที่ทนายได้รับฟังมาคือ ปลูกต้นพยุง สัก ยางนา แล้วขออนุญาตตัดลำบาก ช้า

แต่สำหรับผมแล้ว ก็ไม่ต้องคิดมากครับ ปลูกต้นพยุงไปก่อนเลย ต้นนี้ปลูกมาได้ประมาณ 4 ปีแล้ว


โดยต้นพยูงต้นนี้ ผมปลูกไว้บนที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดิน ตอนปลูกเป็นต้นไม้ถูกกฎหมาย แต่ต่อมารัฐบาลแก้กฎหมายใหม่ ให้ต้นพยูงทั้งหมดในประเทศไทยเป็นไม้สงวน กลายเป็นมีไม้ต้องห้ามไว้ในครอบครองไปชะงันครับ...

แต่ด้วยความเข้าใจกฎหมายป่าไม้ กฎหมายสวนป่า ว่าสามารถขออนุญาตตัดต้นพยููงได้ ดังนั้นผมจึงดูแลให้ต้นพยูงที่ปลูกไว้ เจริญเดิบโตต่อไปครับ

คิดว่าอีก 20  ปีข้างหน้า ก็มีเงินล้านไว้ใช้ตอนเกษียณแล้วคับ เพราะปลูกไว้ประมาณ 20 กว่าต้น

ส่วนการขออนุญาตตัด ก็ไม่ต้องคิดมากครับ ไม้พยูงดีมีราคา ของดีมีจำนวนจำกัด เป็นที่ต้องการของตลาดประเทศจีน  ขั้นตอนการขออนุญาตปล่อยให้คนซื้อเป็นคนดำเนินการเอง
นั่งอยู่บ้านดูทีวี รอรับเงินครับ..ทำง่ายๆๆ ไม่ต้องคิดมาก...

อีกอย่างต้นพยุง จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว ปลูกแล้วดินดีครับ ทำให้ข้าวข้างคันนาสวยไปด้วยคับ...

กฎหมายเพื่อความสุข กฎหมายต้นพะยูง ปลูกได้ ตัดได้ครับ

ปลูกต้นพยูงแล้ว ชีวิตดีขึ้น....


สนใจซื้อต้นพยุงที่ทนายปลูกไว้ ติดต่อสั่งจอง ทำ MOU ได้นะครับ

ถ้าซื้อวันนี้  20 ต้น ราคาพยุงต้นละ 200,000 บาท รวม 4,000,000 บาท

ลดพิเศษเหลือเพียง  2,000,000 บาท แถมที่ดินมีโฉนด 200 ตารางวาให้ฟรีอีก 1 แปลง

รับประกันซื้อแล้วไม่ขาดทุน มีแต่กำไร เพราะนับวันต้นไม้พยูงยิ่งโต เนื้อไม้ดีขึ้น มากขึ้น ราคายิ่งเพิ่มขึ้น

สนใจติดต่อ ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา 095-607-8585

รับนายหน้านะครับ ให้ค่าแนะนำ 10 %""


สุดท้ายไม่มีอะไรมากครับ ทีี่เขียนมา ก็คืออยากชวนเพื่อนๆ มาปลูกต้นพยูงครับ

"ปลูกต้นพยุง มีไม้พะยูงไว้ในครอบครองแล้วชีวิตดีขึ้นครับ"

ลงทุน 5 บาท 20 ปี ผ่านไป มีเงินเก็บ 1,000,000 บาท...น่าลุ้นครับ

กฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตทีดีกว่า

           ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา

วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

วิธีรับมือ วิธีปฏิเสธคนขายประกันทางโทรศัพท์

เบื่อคนขายประกันทางโทรศัพท์ โทรมาตื้อ 
จะปฏิเสธคนขายประกันทางโทรศัพท์ได้อย่างไร ?


สวัสดีครับ ผมทนายธีรวัฒน์  นามวิชา กับกฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่า วันนี้ว่าด้วยความเบื่อ ความทุกข์ ่ของคนที่โดนตื้อ ขายประกัน โทรมาจนไม่อยากรับโทรศัพท์จะทำยังไงดี

กฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่า มีทางออกเเบบถูกต้องตามกฎหมาย แบบที่คนขายประกันทางโทรศัพท์ได้ยินแล้ว ไม่อยากโทรมาหาท่านอีกเลย....

เพราะตามกฎหมาย มีการควบคุม ดูแลการขายประกันทางโทรศัพท์ เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวน สร้างความรำคาญแก่ผู้บริโภค ประชาชนทั่วไป ตาม " ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย ผ่านทางโทรศัพท์ พ.ศ.2552 "

ซึ่งมีโทรสูงสุด ถึง เพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทน หรือใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต

ซึ่งคงไม่มีตัวแทน หรือนายหน้าคนไหน อยากโดนเพิกถอนใบอนุญาต เพราะหมายถึงการไม่สามารถทำงานประกันชีวิต ประกันภัยได้อีกต่อไป

วันนี้ทนาย ขอนำเสนอวิธีที่ได้ผลตามกฎหมาย และเคยทำมาเเล้วแบบได้ผลไม่มีการโทรกลับมาขายประกันทางโทรศัพท์อีกเลย

วิธีปฏิเสธการขายประกันทางโทรศัพท์

1.ให้ปฏิเสธไปเลยว่า ไม่ต้องการซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแล้ว ทำให้คนขายประกันทางโทรศัพท์ จะไม่โทรมาติดต่ออีกเป็นระยะเวลา 6 เดือน  ตามระเบียบ คปภ.ถ้าโทรมาก่อนครบกำหนด 6 เดือน เท่ากับเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ตามกฎระเบียบ ทำให้อาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตได้

2. ให้ถามกลับไปว่า " คุณ คนขายไปเอาข้อมูล เบอร์โทร ของเรามาจากไหน ? " ซึ่งตามกฎหมาย กฏระเบียบการขายประกันทางโทรศัพท์ จะต้องตอบคำถามว่าได้ข้อมูลมาอย่างไรก่อน จึงจะวางสายได้ ถ้าวางสายก่อนตอบ ก็เป็นการผิดกฎหมาย ผิดระเบียบของ คปภ. ซึงมีโทษถึงเพิกถอนใบอนุญาตขายประกันได้

เพราะข้อมูลลูกค้าที่ได้มา ส่วนมากก็จะเป็นการไปซื้อข้อมูลมา ซึ่งคนที่โทรมาขายประกันทางโทรศัพท์ก็ไม่อยากบอกว่าได้ข้อมูลมาจากไหน ? เพราะจะทำให้ตนเอง หัวหน้า บริษัท หรือคนขายข้อมูลเดือดร้อนได้  เจอมัดนี้เข้าไปคนโทรมาขายประกันทางโทรศัพท์ ก็จะรียให้คำมั่นสัญญา ว่าจะไม่โทรมารบกวนอีกเลย...

3.ให้ตอบกลับไปว่า " เราเป็นตัวแทนประกันชีวิตอยู่แล้ว หรือญาติเพื่อนเราเป็นตัวแทนอยู่แล้ว" ถ้าบอกว่าเราเป็นตัวแทนหรือนายหน้าอยู่แล้ว คนที่โทรมาขายประกันทางโทรศัพท์ก็คงไม่ตื้อเราต่อไปอีก แต่ถ้าบอกว่าญาติหรือเพืี่อนเราขายประกันอยู่ เจ้าหน้าที่ที่โทรมาขาย อาจมีข้อโต้แย้งว่า เเบบประกันที่โทรมาขาย มีเฉพาะฝ่ายขายทางโทรศัพท์เท่านั้น ? ซื้อประกันทางโทรศัพท์ได้รับประโยชน์มากกว่า ? ก้ได้

4.บล็อคเบอร์ขายประกันไปเลย  วิธีนี้ก็ได้ผลครับ โทรมาแล้วไม่ติด ปรากฎว่าไม่โทรมาอีกเลย เพราะส่วนมากเบอร์ทีี่โทรมาขายประกัน ต้องเป็นเบอร์บริษัท เพราะต้องบันทึกเสียงสนทนาไว้ ตามระเบียบ คปภ. ส่วนมากจึงไม่มีการใช้เบอร์ส่วนตัวของพนักงานขายประกันทางโทรศัพท์โทรมา...

และในปัจจุบัน ก็มีเเอ็พพิเคชั่น ที่สามารถบล็อคเบอร์โทรศัพท์ได้ ถ้าไม่อยากคุย ก็ใช้วิธีนี้ได้นะครับ

5.ตกลงทำประกันเพิ่อตัดความรำคาญไปก่อน แล้วมายกเลิกกรมธรรม์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้ผู้ซื้อประกันได้รับกรมธรรม์ประกันภัยจากบริษัทประกัน โดยกฎหมายให้สิทธิบอกเลิกได้โดยไม่มีข้อยกเว้น และบริษัทประกันภัย ต้องคืนเบี้ยประกันภัยเต็มจำนวนโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่บริษัทได้รับแจ้งการใช้สิทธิยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย

ส่วนเพื่อนๆ มีวิธีไหน ที่ใช้แล้วได้ผล ก็แนะนำได้นะครับ...

การขายประกันทางโทรศัพท์ เป็นสิ่งที่ดี เพราะสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคได้

แต่การที่โทรมาขายประกันจนเป็นการรบกวน หรือสร้างความรำคาญใจแก่ผู้บริโภค เป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง กฎหมายจึงต้องออกกฎระเบียบเพื่อให้คนขายประกันทางโทรศัพท์ปฏิบัติตามครับ...

กฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่า

ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา...

วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

กฎหมายใหม่ กฎหมายบังคับคดีใหม่ เงินเดือนต่ำกว่า 20,000 บาท ห้ามยึด ห้ามอายัติเงินเดือน

กฎหมายใหม่ กฎหมายบังคับคดีใหม่ พ.ศ.2560

กฎหมายบังคับคดีใหม่ แก้ไขใหม่เพื่อให้ชีวิตลูกหนี้อยู่ได้

เงินเดือน รายได้ ลูกหนี้ต่ำกว่า 20,000 บาท ห้ามยึด ห้ามอายัติ



สวัสดีครับ ผมทนายธีรวัฒน์  นามวิชา ทนายความศรีสะเกษ 
กับกฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่า วันนี้เป็นของลูกหนี้ ของมนุษย์เงินเดือนกันครับ

หลักเป็นหนี้ต้องใช้ แต่ลูกหนี้ ก็ต้องใช้ชีวิตอยู่ได้โดยสงบสุข ตามสมควร โดยคำนึงถึงฐานะทางครอบครัวของลูกหนี้ ร่วมทั้งจำนวนบุพการี และจำนวนลูกหลาน ที่อยู่ในความดูแลของลูกหนี้ด้วย

เมื่อเป็นหนี้แล้วไม่ใช้คืน เจ้าหนี้นำคดีมาฟ้องต่อศาล จนศาลมีคำพิพากษาให้ใช้หนี้แล้ว ไม่ยอมชดใช้ให้ตามคำพิพากษาของศาล เจ้าหนี้ก็ต้องมีการบังคับคดี ยึดทรัพย์ อายัดเงินของลูกหนี้ มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป...

แต่มีีทรัพย์สินบางชนิดของลูกหนี้ที่ไม่สามารถยึดได้ ไม่อาจถูกบังคับคดีได้  เดิมบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๕ แก้ไขใหม่เป็นกฎหมายบังคับคดีใหม่ในมาตรา ๓๐๑ ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ย่อมไม่อยู่ในกความรับผิดแห่งการบังคับคดี

(๑) เครื่องนุ่งห่มหลับนอน เครื่องใช้ในครัวเรื่อน หรือเครื่องใช้สอยสวนตัว โดยประมาณรวมกันราคาไม่เกินประเภทละ 20,000 บาท หรือเกินกว่า 20,000 บาทได้ โดยคำนึงถึงความจำเป็นตามฐานะของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

( ๒ ) สัตว์ สิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการประกอบอาชีพหรือประกอบวิชาชีพเท่าที่จำเป็นในการเลี้ยงชีพของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ราคารวมกันโดยประมาณไม่เกิน 100,000 บาท  หรือเกินหนึ่งแสนบาทได้ถ้าแสดงเหตุจำเป็นให้เห็นได้

(๓) สัตว์ สิ่งของ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ทำหน้าที่ช่วยหรือแทนอวัยวะของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ได้รับการยกเว้นให้ทั้งหมด เจ้าหนี้จะยึดหรืออายัดมาไม่ได้เลย  

(๔ ) ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันมีลักษณะเป็นของส่วนตัวโดยแท้ เช่น หนังสือสำหรับวงศ์ตระกูลโดยเฉพาะ จดหมาย หรือสมุดบัญชีต่างๆ จะยึดหรืออายัดไม่ได้เลย

( ๕ ) ทรัพย์สินอย่างใดที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย หรือตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เช่น ที่ดินในนิคมสร้างตนเอง ที่ดิน สปก.๔-๐๑  หรือสิทธิการเช่า แม้สิทธิการเช่านั้นจะมีมูลค่าสูงเพียงใดก็ตาม  แต่ถ้าเป็นประเภทให้เช่าช่วงได้ ไม่เฉพาะเจาะจงให้ลูกหนี้เท่านั้น ยึดได้

แต่เงินค่าหุ้นของสมาชิกสหกรณ์ ยึดได้พ้นจากการเป็นสมาชิกแล้ว โดยใช้วิธีการอายัดไว้ก่อน ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 7448/ 2550  เมื่อโดนอายัดแล้ว ลูกหนี้จะไปทำการโอนหรือเปลี่ยนแปลงสิทธิที่ได้ถูกอายัดโดยชอบแล้วไม่ได้

บทคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษา ขยายไปถึงสินสมรสที่เป็นของคู่สมรสของลูกหนี้ด้วย ตามมาตรา ๓๐๑ วรรคสี่

ในส่วนของเงินเดิือน เบี้ยเลี้ยง ค่าจ้าง บำเหน็จ บำนาญ เงินก้นถุง หรือเงินอื่น ๆ ที่ไม่สามารถยึด หรืออายัติได้นั้น ได้ระบุไว้ในมาตรา ๓๐๒ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ได้แก้ไขใหม่ พ.ศ.๒๕๖๐ ที่บัญญัติว่า

" ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

(๑) เบี้ยเลี้ยงชีพ เงินเดือน หรือเงินรายได้เป็นคราวๆ ไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท หรือตามจำนวนที่เห็นสมควร ง่ายๆ คือมนุษย์เงินเดือนเอกชน รายได้ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ห้ามยึดห้ามอายัติ

(๒) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัด เงินก้นถุง ของข้าราชการ ลูกจ้างในหน่วยราชการจะยึดไม่ได้เลย ( มนุษย์เงินเดือนภาครัฐ ) แต่ของรัฐวิสาหกิจ มหาลัยในควบคุม ยึดได้...

(๓) เงินเดือน ค่าจ้าง หรือรายได้อื่นๆ ของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน เป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท

( ๔ ) บำเหน็จหรือค่าชดเชยของบุคคลตามข้อ (๓) ได้รับเป็นจำนวนไม่เกิน 300,000 บาท

( ๕ ) เงินฌาปนกิจส่งเคราะห์ที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้รับอันเนื่องจากความตายของบุคคลอื่นเป็นจำนวนตามที่จำเป็นในการดำเนินการฌาปนกิจศพตามฐานะของผู้ตาย ที่่เหลือเกินสมควรยึดได้

โดยในการบังคับคดี ยึดเงินของลูกหนี้นั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องคำนึงถึง ฐานะในทางครอบครัวของลูกหนี้ตามคำพิพากษา และจำนวนบุพการีและผู้สืบสันดาน ลูกหลาน เหลน ซึ่งอยู่ในความอุปการะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วย......

ถ้ายึดเงินเดือนแล้ว ลูกหนี้ไม่พอกิน ลูกหนี้ก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลกำหนดจำนวนเงินใหม่ให้ก็ได้ด้วยนะครับ

จากเดิมที่เงินเดือนขั้นต่ำ รายได้ขั้นต่ำต่อเดือนที่ห้ามยึด อายัด คือเดือนละ 15,000 บาท 
แต่เนื่องด้วยสภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป จึงขยายวงเงินเป็น 20,000 บาท สรุปคือลูกหนี้มีเงินเพิ่มขึ้น 5,000  บาท ครับ...

กฎหมายบังคับคดีใหม่ ที่ออกมาก็คงเป็นประโยชน์กับลูกหนี้อยู่บ้างนะครับ

แม้ส่วนใหญ่จะเเก้ไขเพื่่ิอให้การบังคับคดีสะดวกรวดเร็วขึ้นก็ตาม 

กฎหมายบังคับคดีใหม่ มีผลบังคับใช้ 4 กันยายน 2560 ครับ

ดูรายละเอียดกฎหมายบังคับคดีใหม่ได้ที่นี้ครับ 


แล้วพบกันใหม่ที่บทความต่อไปครับ

อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ ติดตามเพจด้วยนะครับ



กฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่า

ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา ทนายศรีสะเกษ