พี่น้องจะเป็นสุขได้อย่างไร ?
สวัสดีครับผม ทนายธีรวัฒน์ นามวิชา ทนายความศรีสะเกษ กับกฎหมายเพื่อความสุข
วันนี้ว่าด้วยเรื่องความทุกข์ ของญาติพี่น้องเมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการแบ่งปันทรัพย์มรดก
กฎหมายเพื่อความสุข จะมีทางออกอย่างไร ??
ก่อนอื่นก็มาดูกฎหมายว่าได้วางหลักเกณฑ์การเเบ่งทรัพย์มรดกไว้อย่างไร
หลักการแบ่งทรัพย์มรดก
กฎหมายได้วา่งหลักเกณฑ์ในการแบ่งทรัพย์มรดกไว้ ๒ อย่างด้วยกัน ก็คือ
๑. ทรัพย์มรดกที่มีการแบ่งปันครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว ทรัพย์มรดกแบบนี้ เวลาแบ่งก็ต้องแบ่งตามสัดส่วนที่ได้ครอบครองของทายาทแต่ละคนแล้ว ใครจะได้มาก ได้น้อย ก็ต้องได้รับส่วนแบ่งตามที่เคยตกลงกันไว้แล้ว จะมาบอกว่าคนนั้นได้มาก คนนี้ได้น้อย ขอแบ่งทรัพย์มรดกใหม่ให้ได้เท่าๆ กันไม่ได้
ส่วนใครจะใจดีตกลงไม่เอาหรือจะเอาน้อยกว่าทายาทคนอื่นก็ได้ อยู่ที่ความสมัครใจครับ..
การสูญเสียสิทธิในการรับมรดก
เนื่องจากฟ้องเรียกมรดกเกินอายุความที่กำหนด คดีขาดอายุความ
อายุความคดีมรดก อายุความฟ้องแบ่งมรดก
เรื่องต่อไปที่สำคัญก็คือ เรื่องอายุความคดีมรดก อายุความในการฟ้องแบ่งทรัพย์มรดก
เพราะถ้าคดีขาดอายุความแล้ว เราจะไปฟ้องขอให้ทายาทคนอื่นแบ่งทรัพย์มรดกก็คงยา่กแล้ว
โอกาสแพ้สูง...
ซึ่งในเรื่องนี้ก็มีอายุความในการฟ้องแบ่งมรดกอยู่ ๔ กรณ๊ ด้วยกัน คือ
๑. ทรัพย์มรดกอายุความคดีมรดก ๑ ปี สำหรับทรัพย์มรดกที่ทายาทคนนั้น
ไม่เคยเข้าไปครอบครองเลย จะต้องฟ้องภายใน ๑ ปี นับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่ต้องไม่เกิน ๑๐ ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย ตามมาตรา ๑๗๕๔ วรรคหนึ่งและวรรคสี่
๒. ทรัพย์มรดกที่ไม่มีอายุความ สำหรับทรัพย์มรดกที่ไม่มีอายุความ ทายาทสามารถมาฟ้องคดีเพื่อขอแบ่งทรัพย์มรดกได้ตลอดไม่ขาดอายุความคือ ทรัพย์มรดกที่ทายาทคนนั้น เคยเข้าไปครอบครองทำประโยชน์หลังจากที่เจ้ามรดกตายแล้ว จะครอบครองเพียง ๑ วัน หลังจากนั้นไปกรุงเทพฯ ไม่เคยครอบครองทำประโยชน์อีกเลย ๑๕ ปี กลับมาบ้าน ก็สามารถฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกที่ตนเคยเข้าไปครอบครองเพียง ๑ วันได้....ตามมาตรา ๑๗๔๘
ที่สำคัญการเข้าครอบครองทรัพย์มรดก ต้องเป็นการครอบครองก่อนขาดอายุความ ๑ ปี ตามข้อ ๑.
ถ้าเข้าครอบครองหลังหมดอายุความมรดกแล้วถือว่าหมดสิทธิรับมรดก
๓.คดีจัดการมรดก ฟ้องผู้จัดการมรดก อายุความ ๕ ปี เป็นการฟ้องผู้จัดการมรดกว่าจัดการมรดกไม่ชอบ มีอายุความ ๕ ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิ้นลง ตามมาตรา ๑๗๓๓ วรรคสอง
๔.ทายาทผู้เยาว์ที่ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม แม้จะเกิน ๑๐ ปี ก็ฟ้องได้ ตามมาตรา ๑๙๓/๒๐
ทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์มีสิทธิฟ้องคดีมรดกได้ภายใน ๑ ปี นับแต่บรรลุนิติภาวะแล้ว เป็นข้อยกเว้น มาตรา ๑๗๕๔ ตามฎีกาที่ ๗๖๐/๒๕๐๘
การแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างทายาท ตามมาตรา ๑๗๕๐
การแบ่งปันทรัพย์มรดกอาจทำได้โดย
๑.ทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินมรดกเป็นสัดส่วน โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน ก็ถือว่าสมบูรณ์แล้ว
๒.โดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งกันระหว่างทายาท
๓. โดยทำสัญญามีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด เช่นทำสัญญาเเบ่งปันทรัพย์มรดกกันเอง ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ก็ถือว่าเป็นการแบ่งทรัพย์มรดกที่สมบูรณ์แล้ว
ตามมาตรา ๑๗๕๐ วรรคสอง
แต่สัญญาดังกล่าวผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น คือไม่ผูกพันทายาทคนอื่น
ที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาด้วย
การฟ้องคดีมรดก จะต้องฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกกับใครบ้าง
กรณีการฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาท ก็ต้องดูก่อนว่า หลังจากเจ้ามรดกตาย
มีผู้จัดการมรดกหรือยัง
๑) ถ้ายังไม่มีผู้จัดการมรดก การฟ้องแบ่งทรัพย์มรดก ก็ต้องฟ้องทายาททุกคนเข้ามาในคดี
เพราะถ้าไม่ฟ้องเข้ามา คำพิพากษาก็ไม่มีผลต่อทายาทคนอื่นที่ไม่ได้ถูกฟ้องเข้ามาครับ..
๒) กรณีมีผู้จัดการมรดกแล้ว ก็สามารถฟ้องผู้จัดการมรดก
เพื่อให้ดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดกให้กับเราได้เลยครับผม...จะสะดวกกว่ากรณีแรก...
หลักการแบ่งทรัพย์มรดก การฟ้องแบ่งทรัพย์มรดก
ก็คงมีหลักเกณฑ์สำคัญๆ ที่เพื่อนๆ ควรรู้ประมาณนี้ครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์ เป็นแนวทางในการนำไปจัดการมรดกของเพื่อน ๆ ได้บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ จะได้ไม่เสียเปรียบคนอื่นเขา
บทความที่เกี่ยวข้อง
ผู้จัดการมรดกขี้โกง การฟ้องผู้จัดการมรดก
การจัดการมรดก การร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
แล้วพบกันใหม่ที่บทความต่อไปครับ
กฎหมายเพื่อความสุข
ทนายธีรวัฒน์ นามวิชา
0852924470ครับติดต่อผมด้วยครับมัเรื่องปรึกษาครับหรือทักlineผมมาได้ที่เบอนี้น่ะครับ.ขอขอบคุณครับ
ตอบลบครับผม..เบอร์ทนายครับ 095-607-8585
ลบ