วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เราเลิกกันเถอะ เหตุแห่งการฟ้องหย่า


เหตุแห่งการฟ้องหย่า 12 ประการ


เธอดีเกินไป จะอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ไหม ???

เหตุฟ้องหย่ามีอะไรบ้าง ? เหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายไทย

การฟ้องหย่าต้องอาศัยเหตุประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการดังต่อไปนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๑๕๑๖

  1. สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา ๑๕๑๖ (๑)
       ๒. สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้น จะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
            ( ก ) ได้รับความอับอาย ขายหน้าอย่างร้ายแรง
            ( ข ) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอีีกต่อไป หรือ
            ( ค ) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ

              อีีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา ๑๕๑๖ (๒) (ก) (ข) ( ค)

       ๓. สามีหรือภริยาทำร้ายร่างกาย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจหรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง  อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา ๑๕๑๖ ( ๓ )

       ๔. สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน ๑ ปี อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา ๑๕๑๖ (๔) 
           สาเหตุฟ้องหย่าข้อนี้ เธอจะโดนทิ้ง เธอรู้บ้างไหม ? เธอดีเกินไป เขาทิ้งไปแล้วคับ ฟ้องหย่าได้เมื่อครบ ๑ ปี 
       นับแต่วันที่รู้ว่าถูกทิ้งนะคับผม ข้ัอนี้คนทิ้งฟ้องหย่าไม่ได้ คนถูกทิ้ง ฟ้องหย่าได้คับ

       ๕. สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและได้ถูกจำคุกเกิน ๑ ปี ในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้ก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา ๑๕๑๖ (๔/๑)

       ๖. สามีหรือภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยุ่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน ๓ ปี หรือเเยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเกิน ๓ ปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา ๑๕๑๖ ( ๔/ ๒ ) 
       สาเหตุการฟ้องหย่าขอนี้ต้องเป็นการสมัครใจแยกกันอยู่ทั้งสองฝ่ายนะครับ ถ้าสมัครใจแยกกันอยู่แต่ฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่สมัครใจก็อ้างเป็นเหตุการฟ้องหย่า ตามข้อนี้ไม่ได้นะครับ เเม้จะเกิน ๓ ปี ก็ตามเทียบเคียงฎีกาที่ ๑๗๖๒/๒๕๔๒

       ๗. สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกิน ๓ ปี โดยไม่ทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา ๑๕๑๖ ( ๕ ) 
          ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญได้เมื่อหายไปและไม่มีใครรู้ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เป็นระยะเวลา ๕ ปี หรือ ๒ ปี ในกรณีพิเศษตามมาตรา ๖๑ และเมื่อศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญแล้ว ให้ถือว่าบุคคลนั้นถึงแก่ความตาย ตามมาตรา ๖๒

       ๘. สามีหรือภริยาไม่ให้ความอุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฎิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการ
กระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือนร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉ้ันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา ๑๕๑๖ ( ๖ )

      ๙. สามีหรือภริยาวิกลจริต ( บ้า ) ตลอดมาเกิน ๓ ปี  และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา ๑๕๑๖ ( ๗ ) 
       สาเหตุการฟ้องหย่าข้อนี้ ถ้าทนได้ ประเภทสีทนได้  ก็ไม่ต้องหย่านะครับ ให้ไปร้องเป็นผู้อนุบาลเเทน เพื่อดูแลจัดการทรัพย์สินแทน

     ๑๐. สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา ๑๕๑๖ ( ๘ )

     ๑๑. สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื่้้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา  ๑๕๑๖ (๙ ) อันนี้ก็ยกตัวอย่างเช่น เป็นโรคเอดส์ 

     ๑๒. เเละสาเหตุการหย่าขอสุดท้าย คือสามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ 
ตามมาตรา ๑๕๑๖ ( ๑๐ )

      แต่ถ้าจิ๋มเหม็น ไม่ถือว่าเป็นสาเหตุแห่งการฟ้องหย่าได้  ตาม ฏีกาที่ 488/2557

นาย...... ได้ยื่นฟ้องศาล ขอหย่ากับเมียโดยกล่าวหาว่า เมียจิ๋มเหม็นมาก ศาลได้พิเคราะห์พิจารณาด้วยความละเอียดอ่อนแล้วพิพากษาว่า ข้อหาจิ๋มเหม็น ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะหย่าได้ และอีกอย่างจิ๋มมีไว้เพื่อสืบพันธ์ไม่ได้มีไว้เพื่อดม ศาลจึงยกฟ้อง....

สรุปการฟ้องหย่า มีเพียง ๑๒ สาเหตุตามนี้นะครับ ถ้านอกนี้ก็อ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้

และยังมีข้อยกเว้นการฟ้องหย่าอีก นะครับตามมาตรา ๑๕๑๗ กับ ๑๕๑๘ กล่าวคือ

ถึงเเม้จะมีเหตุฟ้องหย่า ตามมาตรา ๑๕๑๖ แต่ก็ฟ้องหย่าไม่ได้ หากเข้าข้อยกเว้นดังต่อไปนี้

         ๑. ผู้ฟ้องหย่ายินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าเกี่ยวกับการประพฤติผิดทางเพศและความประพฤติชั่วของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖ (๑)และ(๒) จะยกเหตุดังกล่าวขึ้นฟ้องหย่าไม่ได้ตามมาตรา  ๑๕๑๗ วรรคหนึ่ง

         ๒. ผู้ฟ้องหย่ากระทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมีสภาพแห่งกายไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาลอันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖ (๑๐) จะยกเหตุดังกล่าวขึ้นฟ้องหย่าไม่ได้ ตามมาตรา ๑๕๑๗ วรรคสอง

        ๓. หากคู่สมรสที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้กระทำการอันเป็นการแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่าแล้ว สิทธิฟ้องหย่าย่อมหมดไป ตามมาตรา ๑๕๑๘ ซึ่งใช้ได้กับทุกเหตุการฟ้องหย่าทั้ง ๑๒ ประการที่กล่าวมาเเล้ว

        อีกทั้งต้องดูอายุความอีกว่าสิทธิฟ้องร้องระงับไปหรือยังตามมาตรา ๑๕๒๙ วรรคหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้สิทธิฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุในมาตรา ๑๕๑๖ (๑) (๒) (๓) หรือ(๖) มีอายุความ ๑ ปี นับแต่วันที่ผู้กล่าวอ้างรู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตนอาจยกขึ้นกล่าวอ้างได้

        การหย่าโดยคำพิพากษาของศาลมีผลนับแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้วตามมาตรา ๑๕๓๑ วรรคสอง
        ดังนั้นเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้หย่ากันแล้ว เราผู้ฟ้องก็ต้องมาคัดถ่ายรับรองคำพิพากษาและขอหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด เพื่อไปยื่นต่อนายทะเบียน เพื่อขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนต่อไปเท่านั้นครับ

                                        แล้วพบกันใหม่ทีี่บทความต่อไปครับผม...


ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา


       

รถหาย ผ่อนกุญแจต่อไหม ?

รถยนต์ท่ี่เช่าซื้อหาย ต้องทำอย่างไร ??




รถยนต์หาย ทำไงดี ? รถยนต์หาย ผ่อนต่อไหม ? 

                      รถยนต์ที่เช่าซื้อหาย ประกันหมดพอดี ทำไง ?  ติดต่อไฟแนนซ์แล้วเค้าบอกให้ผ่อนกุญแจต่อไป....
ผมก็สงสัยทำไมรถต้องมาหายตอนประกันหมดพอดี ซนกันตอนประกันหมดพอดี ?

ก่อนอื่นต้องมาทำความรู้จักกฎหมายก่อนนะคับ ว่ากฎหมายให้อำนาจไฟแนนซ์ สั่งให้เราผ่อนลูกกุญแจต่อไปหรือเปล่า ?

สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ คืออะไร ?

                       ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๕๗๒ คือ  สัญญาซึ่งเจ้าของทรัพย์เอาทรัพย์สิน ( รถยนต์ ) ออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้น ( รถยนต์ ) ตกเป็นของสิทธิของผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว
                       สัญญาเช่าซื้อนั้นถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ

ที่นี้ถ้าถ้าพูดภาษาชาวบ้าน ให้เข้าใจง่าย ๆ สัญญาเช่าซื้อ ก็คือ สัญญาเช่ารถยนต์ บวกกับ สัญญาว่าเมื่อจ่ายค่างวดและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ครบแล้ว ให้รถยนต์ตกเป็นของผู้เช่าซื้อรถยนต์ 

                      และในปัจจุบัน สคบ. กำหนดให้รถยนต์ต้องตกเป็นของผู้เช่าซื้อทันที เมื่อจ่ายค่างวดครบถ้วนรวมทั้งเงินจำนวนอื่นใดที่กำหนดไว้ในสัญญาแล้ว และกำหนดให้ไฟแนนซ์ต้องไปดำเนินการจดทะเบียนรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื่้อให้เป็นซื่อของผู้เช่าซื้อภายใน ๓๐ วัน....

ที่นี้เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อหาย จะทำยังไงดี

                     ตามกฎหมายก็เขียนไว้ยุติธรรมดี ครับตาม ป.พ.พ. มาตรา ๕๖๗ " ถ้าทรัพย์สินซึ่งให้เช่าสูญหายไปทั้งหมดไซร้ ท่านว่าสัญญาเช่าก็ย่อมระงับไปด้วย" 
                    และตามมาตรา ๕๖๒ " ผู้เช่าจะต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใดๆ อันเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เช่า เพราะความผิดของผู้เช่าเองหรือของบุคคลซื่งอยู่กับผู้เช่าหรือของผู้เช่าช่วง
                    แต่ผู้เช่าไม่ต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่การใช้ทรัพย์สินนั้นโดยชอบ
                    ก็คือกฎหมายคิดว่าเพื่อความยุติธรรม เมื่อรถยนต์หาย คนผ่อนก็ไม่ได้ใช้รถยนต์แล้ว ก็ไม่ควรต้องผ่อนกุญแจต่อไป การให้ต่างคนต่างไปถือว่าสมควรแล้ว ที่่นี้ค่าเสียหาย ถ้ารถยนต์ที่เช่าซื้อหาย เราในฐานะผู้เช่าซื้อจะรับผิดชอบเมื่อเป็นความผิดของผู้เช่าซื้อ เช่นไปจอดรถยนต์ในซอยเปลี่ยว ที่ไม่ปลอดภัย ไม่ระมัดระวังให้ดี เราต้องรับผิดชอบค่าเสียหายที่รถหาย แต่ถ้าเราพิสูจน์ได้ว่า ใครๆ ก็จอดแถวนี้ ไม่เห็นหาย ปลอดภัยดี เราจึงจอดตาม เราก็ควรไม่ต้องรับผิดชอบ ถือว่าเราดูแลดีแล้วตามมาตรฐานของชาวบ้านทั่วไปที่ดูแลรถยนต์ของตัวเอง

                    แต่กฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้น .....ใครกล่าวไว้ ผมก็ไม่ทราบ

เมื่อบริษัทไฟแนนซ์ ได้รับคำแนะนำจากนักกฎหมายผู้ชาญฉลาดว่า " กฎหมายข้อนี้....มาตรา ๕๖๒ ยกเว้นได้นะเพราะไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ....เขียนในสัญญาได้ไม่มีปัญหา
                    เมื่อได้รับคำแนะนำดังกล่าว บริษัทไฟแนนซ์ต่างๆ จึงพร้อมใจกัน เขียนข้อยกเว้นความรับผิดในกรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อหาย  สูญหาย เสียหาย ถูกยึด ถูกอายัติ หรือถูกริบ ให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลง ตาม มาตรา ๕๖๗ ส่วนความรับผิด ให้ผู้เช่าซื้อรับผิดชอบตามสัญญาเช่าชื้อที่ค้างชำระทั้งหมดทันที ไม่ว่ารถยนต์ที่หายจะเป็นความผิดของผู้เช่าชืิ้อหรือไม่ก็ตาม คือให้รับผิดทุกกรณี ปิดปากไว้ไม่ให้โต้แย้งตามสัญญา ( ยกเว้นกฎหมายมาตรา ๕๖๒ )

                   เมื่อรถยนต์หาย เราไม่ผ่อนต่อ ไฟแนนซ์ฟ้อง ศาลจะว่าอย่างไร ?

                       ในอดีตในยุคที่ยังไม่มี พระราชบัญญัติว่าด้วยขอสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.๒๕๔๐  สคบ. ยังไม่เกิด  ่ทนายความของจำเลย ( ผู้เช่าซื้อรถยนต์ ) ก็ไม่อาจยกข้อต่อสู้ว่าข้อสัญญาที่เราไปตกลงไว้ว่าให้เรายอมรับผิดทุกกรณีที่รถยนต์เช่าซื้อหาย ขัดต่อกฎหมายใช้บังคับไม่ได้ เพราะสัญญาเช่าซื้อปิดปากไว้ ต่อสู้ได้เพียงเเค่ว่า จะรับผิดเพียงใด เพราะศาลถือว่าค่าเสียหายทั้งหมดที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดทั้งหมดทันทีที่สัญญาสิ้นสุดลง ถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลมีอำนาจพิจารณาว่าจะให้หรือไม่ให้ก็ได้ โดยพิจารณาว่าบริษัทไฟแนนซ์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายอะไรไปบ้างแล้ว ได้รับชดใช้ค่าเสียหายครบถ้วนแล้วหรือยัง เช่น รถยนต์ที่เช่าซื้อมีประกันภัย บริษัทไฟแนนซ์เรียกร้องค่าเสียหายแล้ว ได้ครบถ้วนพอสมควรแล้ว จะมาเรียกร้องให้เราชำระค่าเช่าซื้อต่อไปไม่ได้ ถ้าเราชำระไปโดยไม่รู้ก็สามารถฟ้องเอาคืนพร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ได้นะครับ

                     ที่นี้ถ้ารถหาย ระหว่างเช่าซื้อยุค สคบ. ไม่ได้เป็นเสือกระดาษแล้ว

                     ก็๋คือก่อนหน้านั้น ยังไม่มี พระราชบัญญัติว่าด้วยขอสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.๒๕๔๐  สคบ. ยังไม่เกิด ยังไม่มีคดีผู้บริโภค ผู้เช่าซื่้อรถยนต์ หรือผู้บริโภค ทั่ว ๆ ไป ก็จะถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการซึ่งมีความรู้ มีอำนาจต่อรองที่มากกว่า ด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เขียนยกเว้นข้อกฎหมายต่างๆ ที่ออกเเบบมาดูดีแล้ว ( เนื่องจากเเต่เดิมรัฐถือว่าการทำนิติกรรมต่างหรือสัญญาต่างๆ มีพื้นฐานมาจากเสรีภาพของบุคคลตามหลักของความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนา รัฐจะไม่เข้าไปแทรกแซงแม้ว่าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เว้นแต่จะเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรืยบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ) 
                      ทำให้บริษัทไฟแนนซ์ ผู้ประกอบการต่างๆ ที่มีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจเหนือกว่า ถือโอกาสอาศัยหลักดังกล่าวเอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งมีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจด้อยกว่าอย่างมาก ซึ่งทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและไม่สงบสุขในสังคม

                     และต่อมาสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจควบคุมสัญญา พ.ศ. ๒๕๔๓ และ พ.ศ. ๒๕๕๕

                       ทำให้บริษัทไฟแนนซ์และลีสซิ่ง ไม่สามารถเชือดลูกค้าได้หวานหมูอีกต่อไป  ทำให้ปัญหาว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย ถูกทำลาย ถูกยึด ถูกอายัด หรือถูกริบ ระหว่างเช่าซื้อโดยไม่ใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดชอบค่าเช่าซื้อให้ครบถ้วนตามสัญญาอีกต่อไป ไชโย.....  

                      สรุป ถ้าสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ทำขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๓  แล้วรถยนต์หาย โดยไม่ใช่ความผิดของเรานะครับ เราก็ไม่ต้องผ่อนกุญแจต่อแต่อย่างใด ด้วยข้อกฎหมายดังกล่าว...นะครับ ยกเว้นไม่รู้ โดยฟ้องแล้ว ไปไม่เป็น ก็ต้องรับผิดตามฟ้องไปครับ.....

                          บทความนี้อ้างข้อกฎหมายมากไปหรือเปล่า แต่คิดว่ารู้ไว้ดีกว่าคับ จะได้คุยกับนักกฎหมาย ผู้ทวงหนี้ ได้ทันเขา....


                           แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปคับ...


ทนายเคน ธีรวัฒน์  นามวิชา