วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ขายดาวน์รถ ผ่อนต่อไม่ไหว ไม่เปลี่ยนสัญญา

การขายดาวน์รถยนต์ ที่ยังผ่อนไม่หมด ผ่อนต่อไม่ไหว

ระวัง เสียทั้งรถ เสียทั้งเงิน แถมติดคุก !!










การขายดาวน์รถยนต์ คือ การขายรถยนต์ที่เช่าซื้อ
ที่ยังติดไฟแนนซ์ ยังผ่อนชำระค่างวดเช่าซื้อยังไม่ครบนั้นเองคับ

ปัญหาทีี่่จะตามมาจากการขายดาวน์รถยนต์ ผ่อนต่อไม่ไหว ไม่เปลี่ยนสัญญา
เพราะรถยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมด ยังติดไฟแนนซ์อยู่นั้น
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันที่เช่าซื้อ ยังเป็นของบริษัทไฟแนนซ์อยู่
ส่วนผู้เช่าซืิ้อมีเพียงสิทธิครอบครองใช้รถยนต์เท่านั้น...

การขายดาวน์รถ โดยไม่เปลี่ยนสัญญา นอกจากจะผิดสัญญาแล้ว
ยังอาจผิดกฎหมายอาญา " ในข้อหายักยอกทรัพย์ " ด้วยนะครับผม.

  ความเสี่ยงของการขายดาวน์รถ ไม่เปลี่ยนสัญญา

เนื่องจากผู้ขายดาวน์รถยนต์ ยังเป็นคู่สัญญากับบริษัทไฟแนนซ์อยู่ 

ดังนั้น เมื่อมีการผิดนัดค้างชำระค่างวดเกิน 3 งวดติดต่อกัน บริษัทไฟแนนซ์ก็จะมีหนังสือแจ้งให้เราชำระค่างวดที่ค้างชำระ ถ้าเราไม่ชำระก็จะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาล เพื่อเรียกรถยนต์คืนหรือให้ใช้ราคารถยนต์แทน พร้อมค่าเสียหายต่างๆ กับผู้ขายดาวน์รถยนต์และผู้ค้ำประกันได้

1.คนซื้อดาวน์รถต่อ ไม่ผ่อนชำระต่อ เรายังต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อกับไฟแนนซ์

2.คนซื้อดาวน์รถยนต์ต่อ ไม่ผ่อนชำระต่อ และเอารถยนต์หนี ตามคืนไม่ได้
   ทำให้ต้องเสียทั้งรถ เสียทั้งเงิน...รับผิดชอบตามสัญญาเช่าซื้อ

3.อาจเสี่ยงติดคุก ถูกฟ้องดำเนินคดีอาญาในข้อหายักยอกทรัพย์ได้

กฎหมายเพื่อความสุขวันนี้ มีแนวทางการขายดาวน์รถ
ไม่เปลี่ยนสัญญายังไงให้ไม่ติดคุกและปลอดภัยเสียหายน้อยที่สุดมาฝากครับ

1.ทำสัญญาขายดาวน์รถยนต์ ขายสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ
   โดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ซื้อดาวน์รถยนต์ผ่อนชำระค่างวดต่อไป ในนามผู้ขายดาวน์
   ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อกับไฟแนนซ์

2. ในสัญญาขายดาวน์รถยนต์ ให้ระบุเงือนไขให้เราได้เปรียบไว้ เช่น กำหนดเงือนไข ถ้าผู้ซื้่อดาวน์                ผิดนัดค้างชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกัน ให้ถือว่าผิดสัญญาให้ถือว่าสัญญาเลิกกัน ให้ผู้ขายดาวน์          สามารถติดตามรถยนต์คืนได้ เพราะทำให้เรายังมีเวลาอย่างน้อยอีกประมาณ 60 วัน ในการแก้ปัญหา        กับทางไฟแนนซ์ ว่าจะเอารถยนต์ไปขายดาวน์ต่อ เพื่อเอาเงินมาชำระค่างวดที่ค่าชำระได้

 3.หากเกิดผู้ซื้อดาวน์รถยนต์ ผิดนัดผิดสัญญา ไม่ชำระค่างวด จนถูกบริษัทไฟแนนซ์บอกเลิกสัญญาแล้ว
    หากไฟแนนซ์มาติดตามเอารถยนต์คืน ก็ต้องแจ้งตามความจริงว่าเราขายดาวน์ไปให้ใคร รถยนต์อยู่กับ    ใครในตอนนี้ ห้ามบอกเจ้าหน้าที่ว่าเราขายดาวน์รถยนต์แล้ว แต่ไม่ยอมบอกว่าเราขายให้ใคร ? 
    เพราะถือว่าเรามีเจตนาเบียดบังเอาทรัพย์รถยนต์ของไฟแนนซ์ได้...

    แต่ตามปกติถ้าเราไม่บอกว่าเราขายดาวน์รถยนต์ไปแล้ว ทางไฟแนนซ์ก็คงไม่ทราบว่าเราขายดาวน์รถยนต์ไปแล้ว ทางไฟแนนซ์ก็จะใช้สิทธิฟ้องศาลเพื่อให้ผู้ขายดาวน์ส่งรถยนต์คืนหรือใช้ราคารถยนต์แทน พร้อมค่าเสียหาย ค่าใช้รถยนต์ระหว่างผิดสัญญา...อันนี้ไม่ติดคุกครับ แค่ให้ใช้เงินคืน

   แต่ถ้าเราบอกว่าเราขายดาวน์ แบบไม่เปลี่ยนสัญญา ก็มีความเสี่ยงที่จะโดนฟ้องคดีอาญาได้ครับ
เพราะทางไฟแนนซ์อาจใช้สิทธิ์ฟ้องคดีอาญาไปก่อน ให้เรามาต่อสู้ต่อรองเอาที่ศาลก็ได้...

ฎีกาที่เกี่ยวข้องกับการขายดาวน์รถยนต์ ไม่เปลี่ยนสัญญา ไม่ติดคุก

ฎีกาที่ 2716/2554 การทีี่ อ.ผู้เสียหายตกลงให้จำเลยเอารถยนต์กระบะที่ผู้เสียหายทำสัญญาเช่าซื้อมา ไปใช้โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย ถือว่าเป็นการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมีข้อตกลงระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายว่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย ต่อมาการที่จำเลยเอารถยนต์ไปขายดาวน์ต่อให้ ช.นั้น ยังมิใช่การเอารถยนต์ทรัพย์สินของผู้ให้เช่าซื้อไปขาย แต่เป็นเพียงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ช. โดยมีข้อตกลงให้ ช. มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อต่อไป เพราะจำเลยประสงค์จะหาบุคคลอื่นมาช่วยรับภาระในการผ่อนค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย จำเลยจึงมิได้เบียดบังเอารถยนต์กระบะดังกล่าวเป็นของตนเองหรือของผู้อื่นโดยทุจริต ไม่เป็นเหตุให้การกระทำของจำเลยที่ไม่เป็นความผิดกลับกลายเป็นความผิดแต่อย่างใด การที่จำเลยโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ช. แม้มิได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซื้อก็มีผลในทางแพ่งเพียงว่า ผู้ให้เช่าซื้อยังคงมีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างจากผู้เสียหายผู้เช่าซื้อเดิมต่อไป รวมทั้งเรียกค่าเสียหายในการที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่อาจติดตามยึดรถยนต์กระบะคืนจากจำเลยได้ จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานยักยอก


แต่ถ้าเป็นการขายขาด ตีใช้หนี้ นำไปจำนำโดยไม่มีเจตนาที่จะไถ่ถอนคืน
 ถือว่ามีเจตนาเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้เสียหายที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยไปโดยทุจริต
 จึงเป็นความผิดฐานยักยอก ฎีกา 11294 /2553


สุดท้ายจะขายดาวน์รถยนต์ ให้ผ่อนต่อ ไม่เปลี่ยนสัญญา 

ก็ขอให้มีีความสุขและปลอดภัยจากคุกนะครับ...



กฎหมายเพื่อความสุข

ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา





วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 มาตรา 44 นิติรัฐ นิติธรรม

มาตรา 44 ชอบด้วยหลักนิติรัฐ นิติธรรมหรือไม่???

ถ้าคำสั่งตามมาตรา 44  ไม่ชอบ ไม่เป็นธรรม จะไปพึ่งใครได้?

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พ.ศ.2557 มาตรา 44

มาตรา 44 " ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบันลังค์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือนอกราชอาณาจักรให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทำการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่ง หรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายยกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว "

และในมาตรา 45 ที่ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้หรือไม่ ก็ไม่มีอำนาจตรวจสอบมาตรา 44 ได้นะครับผม..

จากข้อกฎหมายดังกล่าว สรุปใจความ มาตรา 44 ได้ว่า

1.คำสั่งหรือการกระทำใด ๆ ตามมาตรา 44 ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ก็ให้ถือว่าเป็นคำสั่งหรือการกระทำ ที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้

2.คำสั่งหรือการกระทำใด ๆ ตามมาตรา 44 ให้ถือว่าเป็นที่สุด คือจะโต้แย้ง อุทธรณ์ ฎีกา ไม่ได้
เพราะให้ถือว่าชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดแล้ว อีกทั้งให้ถือว่าคำสังดังกล่าวเป็นที่สุด และยังห้ามไม่ให้่ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยว่าคำสั่งตามมาตรา 44 ดังกล่าวจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 หรือไม่???

        ดังนั้น คำสั่ง คสช.ตามมาตรา 44 จึงถือว่าเป็นที่สุด  ข้าราชการ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากมาตรา44 จึงไม่สามารถที่จะนำคดีไปร้องต่อศาลต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นศาลปกครอง ศาลแพ่ง ศาลอาญา หรือแม้แต่ศาลรัฐธรรมนูญ

         แล้วประชาชนจะไปพึ่งใคร พึ่งศาลก็ไม่ได้...

ถามว่าคำสั่ง คสช.ตามมาตรา 44 เป็นกฎหมายหรือเปล่า ?

ก็ตอบได้ว่าเป็นกฎหมาย แถมเป็นกฎหมายสูงสุด ที่กฎหมายหรือคำสั่งอื่นจะขัดหรือแย้งกับคำสั่ง คสช.ตามมาตรา 44 ไม่ได้

แล้วถามว่าคำสั่ง คสช. ตามมาตรา 44 ชอบด้วยหลักนิติรัฐ นิติธรรม หรือไม่ ?

ผมก็ตอบได้ว่า คำสั่งตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เป็นกฎหมายพิเศษ
ที่ยกเว้นหลักกฎหมายทั่วไป ยกเว้นหลักนิติรัฐ นิติธรรม
หลักการแบ่งแยกอำนาจ ของฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ

เพราะ มาตรา 44

1.ให้อำนาจ คสช.หรือนายกรัฐมนตรี ที่จะออกคำสั่ง กฎหมายอะไรก็ได้

ประเภทที่สามารถออกได้ตามอำเภอใจก็ว่าได้...

2. คำสั่ง หรือกฎหมาย ที่ออกตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ให้ถือว่าชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญและให้ถือว่าเป็นที่สุด  ไม่สามารถ โต้แย้ง คัดค้าน ไม่สามารถฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและทางอาญา หรือฟ้องศาลปกครองเพื่อให้เพิกถอนคำสั่งของ คสช. ของนายกรัฐมนตรี ตาม มาตรา 44 ได้

วันนี้นายกจะย้ายข้าราชการ ก็ต้องใช้มาตรา 44 ทั้งๆ ที่เป็นอำนาจที่สามารถทำได้อยู่แล้ว
แต่เป็นเพราะประเทศไทยนายกไม่สามารถแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการได้ เดียวถูกฟ้องศาลปกครอง
นายกแต่งตั้้ง โยกย้าย ข้าราชการไม่ได้ แล้วงานจะเดินได้อย่างไร ? เจอข้าราชการสายตรงข้าม
ใส่เกียร์ว่าง....แต่บอกว่าสามารถทำงานได้...

ดังนั้นผมสนับสนุนให้มีมาตรา 44 คงอยู่ตลอดไป เพื่อให้นายกสามารถแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการได้...

แต่มาตรา 44 ที่ไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรม ก็ทำให้ประชาชนได้รับความเดือนร้อน ไม่ได้รับความคุ้มครอง สิทธิ เสรีภาพ ตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญรับรองไว้เช่นกัน

คำสั่ง คสช.ที่ 4/2559 เรื่องยกเว้นผังเมือง สำหรับโรงงานไฟ้ฟ้า โรงงานขยะ

ก็มีประชาชนออกมาชุมนุมคัดค้าน...


ภาพประชาชนออกมาเรียกร้องขอกฎหมายผังเมืองคืน ภาพถ่ายจาก EnLAW


ต่อมาได้มีการยื่นคำฟ้องร้องต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อให้เพิกถอนคำสั่งตามมาตรา 44 ดังกล่าว

แต่สุดท้ายศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งไม่รับฟ้องไว้พิจารณา โดยศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยโดยสรุปได้ว่า " แม้เนื้อหาของคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 4/2559 มีสถานะเป็นกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งโดยทั่วไปอยู่ในอำนาจของศาลปกครองสูงสุด ( ตามมาตรา 3และมาตรา 11 (2) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ) แต่เนืองจาก
การออกคำสั่งหัวหน้า คสช.ดังกล่าว อาศัยอำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญฯ ( ฉบับชั่วคราว ) พ.ศ.2557 มาตรา 44 มิได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ประกอบกับรัฐธรรมนูญฯมาตรา 44 
บัญญัติให้คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ออกมาถือว่าชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด
ศาลปกครองสูงสุดจึงไม่อาจรับคำฟ้องไว้พิจารณาเพื่อควบคุมตรวจสอบความชอบดว้ยกฎหมาย
ของคำสั่งดังกล่าวได้ "

ดูบทความ ที่ศาลปกครองสูงสุดไม่รับวินิจฉัยคดี ผังเมือง.จากมาตรา 44 ได้ที่น้ี้
http://enlawfoundation.org/newweb/?p=3027

และที่เป็นข่าวดังในขณะนี้ ก็คือ คำสั่ง คสช.ที่ 5/2560 ที่ให้อำนาจ DSI ตัดน้ำ ตัดไฟ ตัดสัญญาณโทรศัพท์ ของประชาชนในบริเวณวัดพระธรรมกาย ซึ่งทำให้ พระ แม่ชี ลูกศิษย์วัด และประชาชนที่อยู่บริเวณนั้นได้รับความเดือนร้อน และในกรณีนี้ก็มี พระ ลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย ออกมาโต้แย้ง คัดค้าน
คำสั่งดังกล่าวเนื่องจากเห็นว่าไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม เป็นการใช้อำนาจเกินกว่าเหตุอันสมควร

สุดท้ายด้วยคำสั่งนี้ ทำให้มีลุงปีนเสาสัญญาณประท้วง เพื่อให้นายกยกเลิก มาตรา 44 ที่สั่งตัดสัญญาณโทรศัพท์ดังกล่าว แต่ไม่เป็นผล ทำให้ลุงตัดสินใจฆ่าตัวตายเพื่อประท้วงคำสั่งตามมาตรา 44 ดังกล่าว

เพราะด้วยคำสั่งตามมาตรา 44  ลุงจะไปฟ้องศาลเป็นที่พึ่งก็ไม่ได้ จะพึ่งสื่อมวลชน เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมก็ไม่ได้ เพราะสือเองก็กลัวมาตรา 44 เหมือนกัน....


สุดท้ายที่นี้ประเทศไทย... เเม้เราจะพึ่งศาลไม่ได้ จากการใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมตามมาตรา 44 ได้

แต่เรายังมีที่พึ่งสุดท้ายของปวงชนชาวไทย

คือสถาบันพระมหากษัตริย์ เรายังมีในหลวงรัชกาลที่ 10

เป็นที่พึ่งสุดท้ายที่จะปัดเป่าความทุกข์ของประชาชนชาวไทย...

โดยประชาชนชาวไทย สามารถยื่นถวายฎีกาต่อพระองค์ได้....

                                  ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด


ทุกปัญหามีทางออกเสมอ.....

กฎหมายเพื่อความสุข

ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา




วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ไม่ทำผิดจะกลัวอะไร ? ไม่ทำผิดจะหนีทำไม ?

ไม่ทำผิดจะกลัวอะไร ?

ไม่ทำผิดจะหนีทำไม ?

มอบตัวสู้คดีสิครับ...



แต่ถ้าวันหนึ่งคุณดวงซวย โดนกลั่นแกล้ง ไปขัดผลประโยชน์กับผู้มีอำนาจ

อะไรก็เกิดขึ้นได้ในสังคมไทย.....

เห็นข่าวเป็นประจำ ก็คดีแพะต่าง ๆ ๆ ครับ

เช่นคดีดัง ๆ ก็ คดีแพะเชอรี่แอน แพะเพราะเป็นคดีดัง ตำรวจต้องปิดคดีให้ได้

คดีแพะ ตายายเก็บเห็ด ติดคุก 15 ปี และล่าสุดก็คดีแพะ ครูจอมทรัพย์ ซึ่งทางตำรวจบอกว่าเป็นแกะไม่ใช่แพะ...ซึ่งต้องรอผลคำพิพากษากันต่อไปว่าจะออกมายังไง..

แล้วไม่ทำผิดจะกลัวอะไร ???

มันน่ากลัวอย่างไง ??

ก. โดยยัดข้อหา  ก็มีทั้งประเภทที่ไม่ได้กระทำผิดเลยแบบจับแพะมา

กับแบบโดยยัดข้อหารุนแรงเกินจริง....แล้วตำรวจกับอัยการบอกว่าให้คุณไปสู้เอาเองที่ชั้นศาล

ข.ไม่ได้ประกันตัว ก็มีทั้งแบบไม่มีเงินประกันตัว คนจนติดคุก หรือแบบมีเงินประกันตัวแต่ศาลไม่ให้ประกันตัว เนื่องจากกลัวหลบหนี หรือเป็นคดีร้ายแรงจากการโดนยัดข้อหาข้อ ก. ซึ่งมีตั้งแต่ชั้นฝากขังของพนักงานสอบสวน ชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น ของศาลอุทธรณ์ และชั้นศาลฎีกา....
เมื่อคุณไม่ได้รับการประกันตัว....คุณก็ต้องติดคุกสู้คดี กว่าคดีจะสิ้นสุดชั้นฎีกา ก็อาจจะ 2-5 ปี

สุดท้ายศาลตัดสินว่าคุณเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ข่าวทีวีได้ออกไปแล้วเมื่อ 2 ปี ที่แล้วว่าคุณเป็นคนร้าย
เป็นโจรปล้น ฆ่าข่มขืน...เป็นต้น... ครอบครัวแตกสลาย ลูกถูกเพื่อนล้อว่าเป็น "ลูกฆาตกร" พ่อขี้คุก

ค.ติดเชื้อในกระแสเลือด คือตาย ก่อนศาลตัดสิน ก็มีให้เห็นเป็นข่าวเป็นประจำ ทั้งตายที่โรงพัก 
ที่ DSI ที่เรือนจำก็มี ไม่ว่าจะผูกคอตายเอง โดนคนอื่นทำให้ตาย โดนสั่งเก็บ โดนเพื่อนในห้องขังเล่นงานเพราะเป็นคดีดังน่ารับน้องใหม่ก็เป็นได้นะครับ....

ดังนั้นการที่บางคนเลือกที่จะหนี ไม่ทำผิดจะหนีทำไม ?

เขาอาจไม่ได้กลัวติดคุก แต่กลัวโดนยัดข้อหา ไม่ได้ประกันตัว 
หรือตายในคุก ก่อนพิสูจน์ถูกผิดก็เป็นได้นะครับ

แล้วสำหรับคุณคิดว่าอะไรน่ากลัวที่สุด...

สำหรับคำถามที่ว่า " ไม่ทำผิดจะกลัวอะไร ?? "

สำหรับผมแล้วไม่ขอพบเจอเหตุการณ์แบบนี้ดีกว่า....

บทความต่อไปทางแก้เมื่อคุณตกเป็นแพะ เป็นผู้ต้องหา เป็นจำเลย...

แล้วพบกันใหม่ครับ...

กฎหมายเพื่อความสุข




ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา

ทนายความคนศรีสะเกษ



วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สิทธิในการเลี้ยงดูบุตร ลูกควรอยู่กับใคร หลังหย่า

สิทธิการเลี้ยงดูบุตร หลังหย่า 

เมื่อเลิกกันแล้ว ลูกควรอยู่กับใคร ??

อยากมีสิทธิเลี้ยงดูลูกบ้าง ??





คุณทนายค่ะ ตอนนี้อึดอัดมาก โดนพรากลูกไปจากอก

ทั้งๆ ที่พ่อเด็กไม่เคยสนใจช่วยเลี้ยงดูเลย

แต่ตอนนี้พอเลิกกัน กลับรั้งตัวลูกไว้ สงสารแต่ลูก

ตอนนี้คงร้องไห้หาแม่แล้ว....


สวัสดีครับ

ผมทนายธีรวัฒน์  นามวิชา  ทนายความคนศรีสะเกษ

กฎหมายเพื่อความสุข มีคำตอบว่า 

สิทธิการเลี้ยงดูบุตร หลังหย่า เลิกกันแล้ว ลูกควรอยู่กับใครนั้น ?

กฎหมายสิทธิการเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ มีกำหนดไว้ในมาตรา 1520 

ในกรณีหย่าโดยความยินยอมสมัครใจหรือโดยคำพิพากษาของศาลแล้ว
สามีภริยาไม่ได้ตกลงกันไว้หรือ
ตกลงกันไม่ได้ว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร

ศาลมีอำนาจชี้ขาดว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ตามมาตรา 1520

และหากว่าภายหลังปรากฎว่าผู้ใช้อำนาจปกครองดังกล่าว
ประพฤติตนไม่สมควร ศาลก็มีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองได้
ตามมาตรา 1521

ทั้งหมดล้วนเป็นกรณีที่ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
ตามมาตรา 1566 วรรคสอง (6)

เมื่อเลิกกันแล้ว ลูกควรอยู่กับใครนั้น

ศาลมีหลักเกณฑ์ โดยคำนึงถึง
ความผาสุขและประโยชน์ของผู้เยาว์เป็นสำคัญ

โดยจะมีสถานพินิจและคุ้มครองเด็กเป็นผู้สืบเสาะนำเสนอข้อเท็จจริงต่างๆ
และทำความเห็นเสนอต่อศาลว่าเด็กควรอยู่กับใครมากกว่ากัน

โดยพิจารณาจาก

- ความสัมพันธ์ผูกพันธ์ ระหว่างพ่อ กับแม่ ฝ่ายใดมีมากกว่ากัน
เช่น อยู่กับฝ่ายแม่มีตายายค่อยช่วยเลี้ยงดูมาตั้งแต่เด็ก
- เด็กผู้เยาว์ประสงค์จะอยู่กับใครมากกว่า...
- อยู่กับใครแล้วสุขภาพจิตของผู้เยาว์ดีขึ้น เช่น โดนภริยาใหม่เกลียดชัง
   กลั่นแกล้งและข่มขู่ผู้เยาว์จนเกิดความกลัว 
   ลูกเกิดความว้าเหว่ ถูกทิ้งให้อยู่กับคนใช้ เป็นต้น...  

ศาลไม่ได้ดูว่าใครมีเงินมากกว่ากัน แล้วลุูกควรอยู่กับคนนั้นนะครับ

เพราะถ้าพ่อรวย การงานมั่นคง กลับบ้านดึก 
ไม่มีเวลาให้ลูก ปล่อยลูกให้อยู่กับแม่เลี้ยงใจร้าย...

กับคุณแม่ที่มีอาชีพมั่นคงพอที่จะเลี้ยงดูผู้เยาว์ได้โดยไม่เดือนร้อน
มีเวลาเล่านิทานก่อนนอนให้ลูกน้อยฟ้ง ลูกอยู่กับแม่แล้วมีความสุขมากกว่า

ศาลย่อมให้คุณแม่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ได้ 

เพราะสุดท้าย ศาลยังมีอำนาจสั่งให้คุณพ่อชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
จนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะได้ครับ....

ซึ่งในกรณีที่มีการฟ้องหย่า และมีบุตรผู้เยาว์ 
ศาลจะมีการสั่งให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูมาด้วยเสมอในคำพิพากษา
แม้ไม่ได้ขอให้ชำระก็ตาม


สรุป สิทธิการเลี้ยงดูบุตร หลังหย่า

ศาลสามารถตั้งได้ เปลี่ยนตัวคนปกครองบุตรได้ตามความเหมาะสม 

เพื่อประโยชน์และความผาสุขของเด็กผู้เยาว์เป็นสำคัญ


อยากมีสิทธิในตัวลูกบ้าง ??

วันนี้เรายังไม่พร้อมเราอาจยอมยกลูกให้เขาไปดูแล

แต่เมื่อเราพร้อมเราคิดว่าเราดูแลลูกได้ดีกว่า

เราก็สามารถขอศาลสั่งให้ลูกกลับมาอยู่กับเราได้ครับ..

สุดท้าย เพื่อประโยชน์และความผาสุขของเด็กผู้เยาว์เป็นสำคัญ



กฎหมายเพื่อความสุข














ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา

ทนายความศรีสะเกษ

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สิทธิในบุตร สิทธิในการเลี้ยงดูบุตร

              เมื่อพ่อ - แม่ ไม่ได้จดทะเบียนสมรส

ใครจะมีสิทธิในการเลี้ยงดูบุตรมากกว่ากันค่ะคุณทนาย

ตอนแจ้งเกิดใช้นามสกุลของสามีนะค่ะ...






















สวัสดีครับ ผมทนายธีรวัฒน์  นามวิชา ทนายความคนศรีสะเกษ

วันนี้มาพบกับกฎหมายเพื่อความสุข เรื่อง เมื่อพ่อ - แม่ ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ลูกจะต้องไปอยู่กับใคร ??

ในกรณีที่ตกลงกันไม่ได้ ใครจะมีสิทธิดีกว่ากัน ระหว่างพ่อ กับแม่

ก็มาดูข้อกฎหมายกันเลยคับ....

1.เด็กที่เกิดจากหญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับชาย
ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1546

2.บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย
   เมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส จึงต้องอยู่กับมารดาครับ..ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1566

3. ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1567
     (1) กำหนดที่อยู่ของบุตร
     (4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย

4. บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน ตามมาตรา 1627

5.ป.พ.พ.มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น มีสิทธิรับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้
   ลำดับที่ (1) ผู้สืบสันดาน

จากข้อกฎหมายดังกล่าว สิทธิในการเลี้ยงดูบุตร ระหว่างพ่อ-แม่ ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส

นั้น ถือว่าบุตรเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของคุณแม่เท่านั้นครับ ส่วนคุณพ่อเป็นได้เพียงพ่อนอกกฎหมาย พ่อนอกสมรสครับ

คุณแม่จึงมีสิทธิในตัวบุตร สิทธิในการเลี้ยงดูบุตร 
สิทธิที่จะกำหนดว่าจะให้บุตรอยู่ที่ไหนกับใคร
และก็มีอำนาจติดตามเอาบุตรคืนจากจากสามีนอกสมรสได้ครับ..

ส่วนการที่คุณพ่อไปแจ้งเกิด ให้ใช้นามสกุลของพ่อ
ก็เป็นเพียงพฤติการณ์การรับรองว่าเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดา
ให้การรับรองแล้วเท่านั้น ยังไม่ทำให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของคุณพ่อแต่อย่างใด

ทำให้บุตรมีสิทธิรับมรดกของคุณพ่อได้
แต่คุณพ่อรับมรดกจากบุตรนอกสมรสไม่ได้นะครับ...

ทางแก้ของคุณพ่อนอกสมรส ก็คือการไปขอรับรองบุตรคับผม

ดูรายละเอียดเงื่อนไขการรับรองบุตรนอกสมรสได้ที่นี้ครับผม

การรับรองบุตรนอกสมรสให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย


แล้วพบกันที่บทความต่อไปคับ

เมื่อหย่ากันแล้ว พ่อหรือแม่ใครจะมีอำนาจปกครองบุตรมากกว่ากัน


กฎหมายเพื่อความสุข

ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา

( ทนายความศรีสะเกษ )


วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ฟ้องภริยาน้อย ฟ้องชู้ได้เท่าไร

แฟนหนูมีชู้...ไม่อยากหย่า

แต่อยากฟ้องภรรยาน้อย...




ไม่อยากหย่า 
แต่อยากเรียกร้องค่าเลี้ยงดูจากสามี
ูและฟ้องเรียกค่าเสียหายจากหญิงชู้ทำได้
หรือเปล่าคุณทนายธีรวัฒน์  นามวิชา ???

กฎหมายเพื่อความสุข มีทางเลือก ดังนี้

1. การที่สามีมีชู้ หรือยกย่องอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่น
ฉันภริยา เป็นเหตุให้ฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา 1516(1)

2.ถ้าสามีไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตามสมควร

ำให้เราได้รับความเดือนร้อน
เกินควร เมื่อเอาสภาพ ฐานะ
และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา
มาคำนึงประกอบ เป็นเหตุ
ให้ฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา 1516 (6)

฿฿฿ ที่นี้เฉพาะภริยาซึ่งเป็นฝ่ายที่ถูกนะครับ 
มี 2 ทางเลือกคือ

1) ฟ้องหย่าสามี และก็ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย 


ซึ่งเรียกได้ 2 อย่าง คือ

1.ค่าทดแทน

2.ค่าเลี้ยงชีพ

1.1ฟ้องหย่าและฟ้องเรียกค่าทดแทน
จากสามีและหญิงชู้ได้
ตามมาตรา 1523 วรรคหนึ่ง โดยฟ้องให้รับผิดร่วมกัน

เช่น ตัวอย่างฎีกา 6516/2552 แม้จำเลยที่ ๑ ( สามี) จะไม่เคย
พาจำเลยที่ ๒ ( หญิงชู้ ) ออกงานสังคม หรือแนะนำให้บุคคลอื่นรู้จักในฐานะภริยา

แต่การที่จำเลยทั้งสองไปไหนมาไหนด้วยกันอย่างเปิดเผย 
อยู่ในบ้านซึ่งปลูกสร้างในแหล่งชุมชน
ด้วยกันในเวลากลางคืน ขับรถรับส่งเมื่อไปทำธุระหรือ
ไปซื้ออาหารด้วยกัน ย่อมบ่งชี้ว่าจำเลยทั้งสองมีความสัมพันธ์
ฉันชู้สาวและเอื้ออาทรดูแลเอาใจใส่ต่อกัน แสดงว่าจำเลยที่ ๑ 

ยกย่องจำเลยที่ ๒ ฉันภริยา
อันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1615(1) แล้ว 


โจทก์(เมียหลวง )ยังมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ ๒ (หญิงชู้ ) 

ที่แสดงตัวโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์
ฉันชู้สาวกับจำเลยทีี่ ๑ ซึ่งเป็นสามีโจทก์ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ 

ได้ตามมาตรา 1523 วรรคหนึ่งครับผม 

1.2 ถ้าสามีไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู ก็ฟ้องหย่าและเรียกค่าทดแทนจากสามีได้
ตามมาตรา 1524

ส่วนค่าเลี้ยงชีพ นั้น 
สามารถเรียกได้ 2 กรณีคือ

2.1 การที่สามีไปมีชู้ เราเลือกที่จะฟ้องหย่าและ
ถ้าการหย่านั้นทำให้เรายากจนลง เราก็สามารถฟ้องเรียกค่าเลี้ยงชีพได้
ตามมาตรา 1526 โดยต้องฟ้องเรียกไปพร้อมกับฟ้องหย่านะคับ
อันนี้ฟ้องได้เมื่ออีกฝ่ายเป็นฝ่ายผิดนะครับ...


ถ้าอีกฝ่ายไม่ผิด เช่นกรณีสมัครใจแยกกันอยู่ ฟ้องหย่าได้

...แต่เรียกค่าเรียกดูไม่ได

2.2 ถ้าการหย่ากันเป็นเพราะเหตุ
อีกฝ่ายเป้นคนบ้า วิกลจริต ตามมาตรา 1516(7) 

หรือเพราะเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง ตามมาตรา 1516 (9)
ฟ้องหย่าได้ แต่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้กับอีกฝ่าย
ตามหลักมนุษยธรรม...
ตามมาตรา 1527

2) ทางเลือกที่ 2 ไม่ฟ้องหย่า
แต่จะเรียกค่าเสียหายจากสาม
และหญิงชู้ของสามี
เรียกได้ 2 อย่างด้วยกันนะครับ... คือ

2.1 เรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้ ที่แสดงตัวโดยเปิดเผยว่าตนม
ความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวได้ตามมาตรา 1523 วรรคสอง

....ค่าเสียหายส่วนนี้เป็นค่าเสียหายพิเศษมากๆ 

สำหรับภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะถึงแม้เรากับสามีไม่ได้อยู่ด้วยกันแล้ว
แต่ยังไม่ได้หย่า ซึ่งไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ภริยา 
ก็ฟ้องเรียกจากหญิงชู้ได้ ตามฎีกาที่4130/2548

และตามฎีกาที่ 6383/2537 ภริยามีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่น

ที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวได้
ตามมาตรา 1523 วรรคสอง ซึ่งค่าทดแทนนี้เป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่ง
มีความหมายรวมถึงค่าเสียหายแก่ชื่อเสียง
และเกียรติคุณของภริยาด้วย...

&&&ซึ่งสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหาย
จากหญิงชู้ได้โดยไม่ต้องฟ้องหย่าก่อน
แต่อย่างใด ตามฎีกาที่ 4818/2551


2.2 ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูจากสามีได้ ตามมาตรา 1598/38 ซึ่งบัญญัติว่า 

"ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยานั้น
อีกฝ่ายสามารถเรียกได้ในเมื่อ
ฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะเลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือ

ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ 
โดยศาลจะกำหนดให้เท่าใดก็ได้หรือไม่ให้ก็ได้
โดยศาลจะดูจากความสามารถของสามี ฐานะของภริยาและพฤติการณ์แห่งกรณี

เพราะตามมาตรา 1461 บัญญัติให้สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะ
เลี้ยงดูกันตามความสามารถแลฐานะของตน

ดังนั้นหากสามีไปมีชู้แล้ว ส่งเสียเลี้ยงดูแต่ชู้ ไม่ส่งเงินให้ภริยาหลวง 

ทำให้ภริยาหลวงได้รับความเดือดร้อน ไม่พออยู่พอกิน 
ก็ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูได้นะครับ โดยไม่ต้องฟ้องหย่าก่อนแต่อย่างใด....

สรุป สามีมีชู้ ไม่อยากฟ้องหย่า 

ก็สามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี

และสามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนจาก
หญิงชู้ได้นะครับ....


จากประสบการณ์ที่ทำมา คดีแบบนี้ ส่วนมากหญิงชู้ ไม่ค่อยมาศาล
แต่ส่งสามีเรามาคุยแทน เพราะทนายธีรวัฒน์ ฟ้องทั้งสามีและหญิงชู้

แต่ถ้าไม่อยากให้สามีมา ก็ฟ้องแต่หญิงชู้ก็ได้คับ...


แล้วฟ้องชู้ ได้เท่าไร 

อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับหน้าตาทางสังคม เพราะแต่ละคนไม่เท่ากัน
แล้วพบกันใหม่ ในบทความต่อไปนะครับ


บทความที่เกี่ยวข้อง

เหตุแห่งการฟ้องหย่า 12 ประการ


กฎหมายเพื่อความสุข
















  ทนายธีรวัฒน์ นามวิชา

ทนายความจังหวัดศรีสะเกษ

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

น้องเมเปิ้ล Live สดถอดหมด ผิดอะไร ?

"น้องเมเปิ้ล" สาวใจกล้า โชว์สดถอดหมด"


 น้องเมเปิ้ล ทำผิดอะไร ???

ใครๆ ก็ทำกัน...


นี้ร่างกายของเธอ ?

เธอไม่ได้ไปทำร้ายใคร ? 

ตำรวจมาล่าตัว น้องเมเปิล ทำไม ?

คงปรับแค่ 500 บาท ข้อหาลามกอนาจาร ??





ที่นี้มาดูกฎหมาย ว่าน้องเมเปิ้ล ผิดอะไร ?

ปรับไม่เกิน 500 บาท  
ตามกฎหมายอาญา มาตรา 388 ข้อหากระทำลามกอนาจาร

แต่ที่เธอไม่รู้คือ โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี 
หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
ความผิดตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2560
ตามมาตรา 14 (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ 
ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

เหตุผลที่มีโทษหนัก เพราะทำให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อสังคม 
ความสงบเรียบร้อยและศิีลธรรมอันดีของประชาชน ในวงกว้าง 
ประชาชน เด็กเยาวชนสามารถเข้าถึงง่ายโดยเฉพาะเฟสบุ๊ค....

คือเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี กลัวคนอื่นเลียนแบบครับ...

จึงกำหนดโทษไว้สูง เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปราม 
การกระทำผิดดังกล่าวคับผม...


แล้วเราๆ ที่เขาไปดู ส่งต่อให้เพื่อน ๆ จะผิดอะไรคับ...

ใครเผยแพร่หรือส่งต่อ โชว์สด ถอดหมด ก็ผิดนะครับ...

ผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (5) ครับ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท 
หรือทั้งจำทั้งปรับ  โทษเท่ากับคนโชว์เลยนะครับ....


แต่ถ้าเป็นโชว์สด ถอดหมด ของเด็ก คือเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี

โทษหนักมากนะครับสำหรับคนส่งต่อหรือเผยแพร่ คือ 

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี 
และปรับตั้งแต่ 60,000 บาทถึง 200,000 บาท
ตามกฎหมายอาญา มาตรา 287/2 (3) 

เหตุผลที่โชว์เด็ก โทษหนักกว่า 

เพราะสื่อลามกอนาจารเด็กเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก
ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการล่วงละเมิด
ทางเพศต่อเด็กและส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพของเด็กครับผม...

สำคัญ...แค่ครอบครองสื่อลามกเด็กก็มีความผิดนะครับ..



คนอื่น ก็โชว์กัน ทำไมไม่ผิด...
แล้วน้องเมเปิล ทำไมถึงผิด..
ลิมิต ลามกอนาจาร อยู่ที่นม กับ อวัยวะเพศคับ...

ถ้าโชว์นม แล้วไม่ปิดหัวนมก็ผิด...คือห้ามโชว์หัวนม
และก็ไม่ให้โชว์อวัยวะเพศ...

อันนี้ไม่เกี่ยวกับดำไม่ดำนะครับ...


ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าคดีน้องเมเปิล ตำรวจจะเอายังไงต่อ...
และสุดท้ายศาล จะว่ายังไง...จะลงโทษเพื่อเป็นการป้องกัน
ไม่ให้คนอื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่างหรือเปล่า...

สุดท้ายด้วยความหวังดี 

อย่าส่งต่อ ชี้ช่อง โชว์สดถอดหมดนะครับ
คุณอาจดวงซ่วย ถูกล่อซื้อจากตำรวจก็ได้...


กฎหมายเพื่อความสุข

ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา