วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

กฎหมายใหม่ กยศ.2560 หักเงินเดือนคนกู้ กยศ.ทันที ณ ที่จ่าย นายจ้างไม่ยอมหักต้องจ่ายหนี้แทน พร้อมค่าปรับ

พรบ.กยศ.2560 กฎหมายใหม่ กยศ. 
กำหนดให้นายจ้างต้องหักเงินเดือนลูกหนี้ กยศ.ทันที ณ ที่จ่าย

หากนายจ้างไม่หักเงินเดือนลูกหนี้ กยศ. ต้องจ่ายหนี้แทนพร้อมค่าปรับเงินเพิ่ม ร้อยละ 2 ต่อเดือน ครับ


แล้วกฎหมายใหม่ กยศ 2560 ตามพระราชบัญญัติ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560 
จะสามารถหักเงินเดือนทั้งคนกู้เงิน กยศ.หรือ กรอ.เก่า ก่อนที่กฎหมาย กยศ.ใหม่ 2560 
มีผลบังคับใช้ได้หรือเปล่า ?

กฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่า กับทนายธีรวัฒน์  นามวิชา มีคำตอบครับ..

ตาม พระราชบัญญัติ กยศ.ใหม่ 2560 

มีมาตราที่สำคัญ คือ มาตรา 2 พระราชบัญญัติ กยศ.ใหม่ มีผลบังคับเมื่อพ้น 180 นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ( ประกาศ วันที่ 27 มกราคม 2560 ) 

ดังนั้น พรบ.กยศ.2560 จึงมีผลบังคับตัั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2560

มาตรา 42 ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ ต้องปฏิบัติตามสัญญากู้ยืมเงินโดยเคร่งครัด
เพื่อประโยชน์ในการบริหารกองทุนและการติดตามการชำระเงินคืนกองทุน ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) ให้ความยินยอมในขณะทำสัญญากู้ยืมเงิน  เพื่อให้ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้พึ่งประเมิน
ตามมาตรา ๔๐ (๑)  แห่งประมวลรัษฎากร หักเงินได้พึงประเมินของตนตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ เพื่อชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาคืนกองทุน

(๒) แจ้งสถานะการเป็นผู้กู้ยืมเงินต่อหัวหน้าหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนที่ตนทำงานด้วย
ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เริ่มปฏิบัติงาน และยินยอมให้หักเงินได้พึงประเมินของตนเพื่อดำเนินการตามมาตรา ๕๑

(๓) ยินยอมให้กองทุนเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตนที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น รวมทั้งยินยอมให้กองทุนเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน และการชำระเงินคืนกองทุน

ดังนั้นตาม พรบ.กยศ.ใหม่ 2560 ตามมาตรา 42  (๑) (๒)และ (๓)
ทำให้ กยศ.สามารถหักเงินเดือนผู้กู้เงิน กยศ.ได้ โดยผู้กู้ต้องทำหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือน ในขณะทำสัญญากู้ยืมเงิน กยศ. และยินยอมให้เปิดเผยข้อมูล ขอข้อมูลจากหน่วยงานอื่น จากธนาคารอื่นได้ด้วย และประวัติการชำระเงิน กยศ. (เครดิตบูโร ) และเมื่อเข้าทำงานก็ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบด้วยว่าตนกู้เงิน กยศ. และยินยอมให้นายจ้างหักเงินเดือนให้ กยศ. ด้วย

และตาม มาตรา๕๑ ของ พรบ.กยศ.ใหม่ 2560 ได้กำหนดเงื่อนไข 

ในการหักเงินเดือนผู้กู้ยืมเงินไว้ และบทกำหนดโทษ 
หากนายจ้างไม่ยอมหักเงินเดือนส่ง กยศ.  ดังนี้  ทนายขอสรุปเลยแล้วกัน เพราะมันยาวมาก

มาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง ให้นายจ้างทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้จ่ายเงินได้ตามมาตรา ๔๗(๑) แห่งประมวลรัฐฎากร มีหน้าที่หักเงินเดือน ผู้กู้ยืิมเงิน กยศ. ตามที่กองทุนแจ้งให้ทราบ โดยให้นำส่งให้กรมสรรพากรภายในกำหนดระยะเวลานำส่งภาษีหักเงินได้ ณ ที่จ่าย

มาตรา ๕๑ วรรคสอง การหักเงินตามวรรคหนึ่ง ให้หักเงิน ภาษี ณ ที่จ่ายก่อน หลังจากนั้นลำดับที่ 2 ให้หักเงินให้กองทุนเพื่อการศึกษา หลังจากนั้นจึงค่อยไปหัก กองทุนกบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสังคม ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ หนี้ต่างๆ ตามลำดับต่อไป..

มา่ตรา ๕๑ วรรคสาม เมื่อกรมสรรพกรได้รับเงินจากนายจ้างที่หักเงินเดือนผู้กู้ กยศ. ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้กรมสรรพากรนำส่งให้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาต่อไป

่มาตรา ๕๑ วรรคสี่ บทกำหนดโทษนายจ้างที่ไม่ยอมหักเงิน ลูกหนี้ กยศ.
๑ ถ้านายจ้างไม่ยอมหักเงินได้พึงประเมิน หรือ
๒.หักแล้วไม่ได้นำส่ง หรือ
๓. นำส่งแต่ไม่ครบตามจำนวนทีี่กองทุนแจ้งให้ทราบ หรือ
๔. หักแล้วนำส่งเกินกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง

กำหนดโทษให้ นายจ้าง ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ต้องรับผิดชดใช้เงินที่ต้องนำส่งในส่วนของผู้กู้ยืมเงินตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ และต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ผู้จ่ายเงินได้พึ่งประเมินยังไม่ได้นำส่งหรือตามจำนวนที่ยังขาดไป แล้วแต่กรณี นับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดต้องนำส่งตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๕๑ วรรคห้า เมื่อนายจ้างได้หักเงินเดือนของลูกจ้างที่กู้ยืมเงินไว้แล้ว ให้ถือว่าลูกจ้างทีี่กู้ยืมเงิน กยศ.ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามจำนวนที่ได้หักไว้แล้ว ส่วนนายจ้างจะส่งไม่ส่งเป็นเรื่องของนายจ้างที่อยากโดนค่าปรับเงินเพิ่มเองครับ

สรุป กฎหมายใหม่ กยศ.ตาม พระราชบัญญัติกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560

กำหนดให้ลูกหนี้ กยศ.ใหม่ ต้องเซ้นหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือนได้ โดยให้หักเป็นลำดับที่ 2 ต่อจากหักภาษี ณ ที่จ่าย หากนายจ้างไม่ทำตาม ก็ต้องจ่ายหนี้ กยศ.แทน และต้องจ่ายค่าปรับด้วยครับ...

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560

กฎหมายเพื่อความสุข เนรมิตชีวิตที่ดีกว่า 

อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ แบ่งปันเรื่องราวดีดี นี้ให้เพื่อนๆ ทราบนะครับผม

แล้วพบกันใหม่ที่บทความต่อไปครับ

ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น