วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

รถชนหมา รถชนวัวควาย ใครถูก ใครผิด

คดีรถชนหมา รถชนวัว ชนควาย ใครถูก ใครผิด



ภาพรถชนควาย ใครผิด ใครถูก ??

ขับรถชนหมา ชนวัวควาย ใครถูกใครผิด?

"ควายไม่รู้ภาษา คนซิต้องผิด"

ใช่ครับควายไม่ผิด เพราะไม่รู้ภาษา 

แต่คนรู้ภาษา จึงต้องผิด แต่คนไหนจะผิด

คนขับรถหรือเจ้าของควาย....หรือคนเลี้ยงควาย

เรื่องรถชนควาย ชนวัว หรือชนสุนัข มีหลักเกณฑ์ กฎหมาย ดังนี้ครับ

๑.ถนนมีไว้ให้รถวิ่ง กฎหมายออกมาเพื่อความปลอดภั
ของคนใช้รถ ใช้ถนนครับ 

....คือไม่ได้มีไว้สำหรับให้สุนัขวิ่ง หรือให้วัวหรือควายเดิน
ถ้าจะให้ควายวัว หมาเดิน เจ้าของต้องดูแลให้ดีครับ
ดูแลไม่ดี ไม่เพียงพอ เจ้าของหมา วัว ควาย 
จึงต้องรับผิด

...ขนาดมีป้ายให้วัวควายเดินแล้ว
เจ้าของวัวควาย ก็ยังผิด ถ้าดูแลไม่ดี
ไม่เพียงพอ...

...รับผิดตาม พรบ.จราจร...

๒.หมา วัว ควาย ไม่รู้ภาษาไม่ผิด คนซิต้องผิด

ใช่ครับ หมา วัว ควาย ไม่รู้ภาษา ไม่รู้กฎจราจร 

ข้ามได้ ข้ามไม่ได้...ดังนั้น หมา วัว ควาย จึงไม่ผิดครับ

แต่เจ้าของหมา วัว ควาย รู้ภาษา รู้กฎจราจรไหมครับ..
เมื่อเจ้าของหมา วัว ควาย รู้ภาษาคน
จึงต้องรับผิดแทนหมา วัวควาย ครับ ถ้า???

....เจ้าของวัวควาย หรือสุนัข ผิดเพราะไม่ดูแลหมา วัว ควายให้ดี 

....ดังนั้นเจ้าของหมา วัว ควาย จึงต้องรับผิดแทนหมาครับ
สรุปต้องจ่ายเงินให้คนชนครั

...เสียทั้งควาย วัวหรือสุนัข และต้องเสียทั้งเงิน....


ชดใช้ความเสียหายให้คนชน

ต้องรับผิดตาม กฎหมายเเพ่ง มาตรา ๔๓๓ 

๓.กฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้นครับ...

เจ้าของสุนัข วัวควาย ไม่ต้องรับผิด

เมื่อพิสูจน์ได้ว่า ดูแลดีแล้ว เพียงพอแล้ว
เป็นความประมาทของคนขับรถเอง...


เช่นขับรถมาด้วยความเร็วสูง มีป้ายวัวควายเตือน ก็ไม่ใช้ความระมัดระวัง
เห็นวัว ควาย หรือสุนัขอยู่ข้างหน้า ก็ไม่ชะลอความเร็วรถลง เป็นต้น

กรณีนี้ คนขับรถชนควาย ชนวัว หรือชนสุนัขเป็นฝ่ายผิด


ข้อกฎหมาย ขับรถชนวัว ชนควาย หรือชนสุนัข


พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๑๑๑ 

พรบ.ทางหลวง พ.ศ.๒๕๓๕ มาตรา ๔๖, ๑๔๘

ฎีการถชนวัว ชนควาย ๕๑๙๗ /๒๕๕๖

ฎีกาข้างต้น ซึ่งเจ้าของวัวถูกฟ้องเป็นคดีอาญา ศาลฎีกาได้โปรดวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ โดยให้เหตุผลไว้ว่า " ซึ่งกฎหมายทั้งสองมาตราดังกล่าวบัญญัติในทำนองเดียวกันว่า " ห้ามมิให้ผู้ใดขี่ จูง ไล่ต้อน หรือปล่อยสัตว์ไปบนทางในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร เเละไม่มีผู้ควบคุมเพียงพอ"
 

โดยกฎหมายดังกล่าวไม่มีบทสันนิฐานให้ถือว่าเจ้าของสัตว์เป็นผู้กระทำความผิด หรือบัญญัติให้เจ้าของสัตว์จะต้องรับผิดตามบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว แม้จะมิได้เป็นผู้จูง ไล่ต้อน ปล่อยหรือเลี้ยงสัตว์ด้วยตนเองก็ตาม " เมื่อโจทก์สืบไม่ได้ศาลฎีกาจึงยกฟ้อง... 

แต่ตามประมวลกฎหมายเเพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๓๓ กลับให้สันนิฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของสัตว์ หรือผู้รับเลี้ยงสัตว์นั้นเป็นฝ่ายผิด  ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่คนขับรถชน

เว้นแต่  จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยง การรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์ หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสุจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น "

จากกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปได้ว่า วัวควาย สุนัข เดินในถนนได้ แต่เจ้าของ หรือผู้ดูแลต้องดูแลให้ดี ให้เพียงพอ ไม่ให้กีดขวางการจราจร....

แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น กรณีรถชนควาย รถชนวัว หรือรถชนสุนัข 
ต้องดูว่า ใครฝ่ายไหนเป็นฝ่ายประมาทมากน้อยกว่ากัน 
ฝ่ายที่ประมาทน้อยกว่าก็สามารถเรียกค่าเสียหายจากฝ่ายที่ประมาทมากกว่าได้...

แต่ฝ่ายที่มีภาระพิสูจน์ในกรณีค่าเสียหายทางแพ่ง คือ เจ้าของวัว เจ้าของควาย หรือเจ้าของสุนัข  
ที่่ต้องพิสูจน์ว่าได้ใช้ความระมัดระวังที่เพียงพอแล้ว....

สรุป รถชนวัว รถชนควาย รถชนสุนัข ฝ่ายไหนถูก ฝ่ายไหนผิด

ต้องไปดูว่าใครประมาทมากน้อยกว่ากัน หรือผิดทั้งสองฝ่าย

หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ

ปล. ถ้าชอบให้กด Like ถ้าใใช่กดShare  แต่ถ้ารักให้กด Love

กฎหมายเพื่อความสุข

ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา


1 ความคิดเห็น:

  1. กรณีนี้ คนเดือดร้อนคือ ประชาชนผู้ยากไร ต้องไปชดใช้ซ่อมรถราคา มากกว่าราคาวัวควายอีก,/ถ้าควายเป็นฝ่ายชน เองรถคงไม่เสียหายมากขนาดนั้น /รถเป็นฝ่ายชน ควาย

    ตอบลบ