วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ยักยอกทรัพย์ ยักยอกทรัพย์นายจ้าง ยอมความได้

คดียักยอกทรัพย์ ยักยอกทรัพย์นายจ้าง 

เป็นความผิดอันยอมความได้ ไม่ติดคุก...



ภาพสมมุติ..ยักยอกที่ดินไปขาย

ผมโดนคดียักยอกทรัพย์สินค้าบริษัท จะทำยังไงดีท่านทนาย ?

สวัสดีครับ ผมทนายธีรวัฒน์  นามวิชา พบกันอีกครั้งกับความทุกข์ของนายจ้างและของลูกจ้าง คือ
คดียักยอกทรัพย์นายจ้าง นายจ้างทุกข์เพราะโดนลูกจ้างโกงเงินหรือโกงสินค้าไป ลูกจ้างทุกข์เพราะจะเสียอิสรภาพ ต้องติดคุกติดตะราง...ตัวเอง ครอบครัว พ่อแม่ ลูกเมีย
ตลอดจนผู้ค้ำประกันต้องเดือนร้อนด้วย

คดียักยอกทรัพย์ คดียักยอกทรัพย์นายจ้าง กฎหมายเพื่อความสุข
มีทางออกสำหรับทั้งสองฝ่ายแบบ win win ดังต่อไปนี้ครับ

1.ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ หรือยักยอกทรัพย์นายจ้าง
เป็นความผิดตามมาตรา 352  ที่บัญญัติว่า " ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ "

จากกฎหมายมาตรา 352 ดังกล่าว ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ จะต้องมีการครอบครองทรัพย์ของคนอื่น แต่ถ้าไม่มีการครอบครองทรัพย์ ก็จะไม่เป็นความผิดฐานยักยอก...

ตัวอย่าง ความผิดฐานยักยอกทรัพย์นายจ้าง ตามมาตรา 352 วรรคแรก เช่น นายจ้างมอบสินค้าให้ลูกจ้างเอาไปขาย ขายได้แล้วให้รับเอาเงินกลับมาส่งบริษัท พร้อมกับสินค้าที่เหลือด้วย...
วันดีคืนดีลูกจ้างหลงผิด ขายสินค้าได้แล้วเอาเงินบริษัทไปใช้ส่วนตัวและหายไปพร้อมกับสินค้าที่เหลือ...

หรือกรณี ผู้จัดการมรดกครอบครองมรดกแทนทายาท ผู้จัดการมรดกโอนเอาทรัพย์มรดกเป็นของตนเองหรือให้กับบุคคลอื่น โดยไม่เเบ่งปันให้กับทายาทผู้มีสิทธิได้รับ ก็เป็นความผิดฐานผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์มรดก...เป็นต้น

2.ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ยักยอกทรัพย์นายจ้าง มีโทษ จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ...โดยโทษยักยอกทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์นายจ้างนั้นนับเป็นกระทงๆ ไป เช่น วันนี้ยักยอกไป 5,000 บาท เมื่อเดือนก่อนยักยอกไป 10,000 บาท ก็จะเป็นการทำความผิดฐานยักยอกหรือยักยอกทรัพย์นายจ้าง 2 ครั้ง ก็จะมีโทษจำคุกครั้งละไม่เกินสามปีเป็นต้นครับ...

แต่ความผิดฐานยักยอกทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์นายจ้าง มีเมื่อรวมทุกกระทงแล้ว
มีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 10 ปี คับ ตามกฎหมายอาญา มาตรา 91 (1) ครับผม..
เช่นบางท่านทำผิด 100 กระทง ศาลตัดสินโทษ 300 ปี แต่ลงสูงสุดไม่เกิน 10 ปี เป็นต้น

3.ความผิดฐานยักยอกทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์นายจ้าง ยอมความได้ ตามมาตรา 356 ที่บัญญัติว่า " ความผิดในหมวดนี้ ( หมวด 5 ความผิดฐานยักยอก ) เป็นความผิดอันยอมความได้ "

เป็นความผิดอันยอมความได้ คือ ผู้เสียหาย หรือนายจ้าง ได้ให้อภัยลูกจ้างแล้วเนื่องจากความสงสาร หรือลูกจ้างได้ชำระค่าเสียหายคืนแก่นายจ้างจนเป็นที่พอใจแก่นายจ้างแล้ว
นายจ้างไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไปอีก คดียักยอกทรัพย์นายจ้าง ก็เป็นอันจบกัน

คดียักยอกทรัพย์นายจ้าง สามารถยอมความกัน จับกันได้ทั้งที่ชั้นตำรวจ ชั้นอัยการ
โดยการถอ คดียักยอกทรัพย์นายจ้าง อัยการจะเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ผู้เสียหายหรือนายจ้าง
จะถอนฟ้องไม่ได้ แต่จะแถลงขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลแทน....

แต่นายจ้างบางบริษัท บางท่าน ถึงจ่ายเงินค่าเสียหายครบ...แต่ก็ยังประสงค์ให้ดำเนินคดีต่อลูกจ้างต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุดนะครับ เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ลูกจ้างคนอื่นๆในบริษัทต่อไป...

4.ยักยอกทรัพย์ ยักยอกทรัพย์นายจ้าง อายุความกี่ปี ความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์นายจ้าง มีอายุความ 10 ปี ตามกฎหมายอาญามาตรา 95 แต่เนื่องจากเป็นความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายหรือนายจ้างต้องแจ้งความร้องทุกข์หรือฟ้องร้องดำเนินคดี
ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด มิฉะนั้น คดีเป็นอันขาดอายุความ
ตามกฎหมายอาญา มาตรา 96

ก็คือ คดียักยอกทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์นายจ้าง ผู้เสียหายหรือนายจ้างต้องไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่รู้เรื่อง หลังจากนั้นพนักงานตำรวจก็ต้องดำเนินการติดตามจับกุมผู้กระทำผิดหรือลูกจ้างให้ได้ตัวมาส่งศาลภายใน 10 ปี นับแต่วันกระทำความผิด

เพราะถ้าตำรวจไม่ได้ตัวผู้ต้องหามาส่งศาลอัยการก็ส่งฟ้องไม่ได้ คดีก็ขาดอายุความ คดีจบกันไปในข้อหานั้น เช่น คดีดังคดีทายาทกระทิงแดงขับรถชนตำรวจตาย ที่คดีขาดอายุความไปแล้วในบางข้อหา...

5. คดียักยอกทรัพย์นายจ้าง เมื่อคดีขาดอายุความ หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตามกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) และ (6) ก็คือถือว่าคดียักยอกทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ของนายจ้างในคดีดังกล่าว จบกันไป จะนำมาฟ้องร้องดำเนินคดีกันอีกไม่ได้ต่อไป.... ยกเว้นกระทำความผิดใหม่...

ปัจจุบัน คดียักยอกทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์นายจ้าง อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ศาลจะใช้วิธีสมานฉันท์ให้โอกาสจำเลย( ลูกจ้าง ) กับผู้เสียหาย คือนายจ้าง ได้มีโอกาสพูดคุยเจรจาชดใช้ค่าเสียหายกัน เมื่อคู่ความเข้าใจกันแล้ว สามารถตกลงกันได้ ก็จะเป็นการได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย เป็นการชนะแบบ win win เพราะนายจ้างก็ได้เงินได้ค่าเสียหายคืน ลูกจ้างก็ได้อิสระภาพไม่ต้องติดคุก...

เพราะนายจ้างก็มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้เงินค่าเสียหายคืนเหมือนกัน ถ้าตกลงกันไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าจำเลยหรือลูกจ้างจะมีทรัพย์สินอะไรให้ยึดมาขายทอดตลาดเพื่อชดใช้ค่าเสียหายคืนหรือเปล่า...บางท่านอาจจะได้แค่คำพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหาย ได้แต่กระดาษแต่ไม่ได้เงิน...

สุดท้าย ลูกจ้างก็บอกว่าอย่างนี้ก็ดีซิ ยักยอกทรัพย์เงินนายจ้างไปใช้ก่อน จับได้ค่อยไปใช้คืน...ทนายอยากบอกว่า การเป็นคดีขึ้นโรงขึ้นศาล ไม่ใช่เรื่องสนุก เสียทั้งเงิน ทั้งเวลา ทั้งประวัติ เพราะเมื่อถูกดำเนินคดีลูกจ้างก็ต้องถูกจับเข้าคุก ลูกจ้างหรือจำเลย ก็ต้องหาเงินมาประกันตัว และถึงแม้ว่าสามารถพูดคุยเจรจากับนายจ้างได้ จนนายจ้างไม่ติดใจเอาความต่อ ท่านได้อิสรภาพกลับคืนมาแต่สิ่งสำคัญคือประวัติของลูกจ้าง ลูกจ้างที่มีประวัติติดตัวข้อหายักยอกทรัพย์ของนายจ้าง แล้วท่านไปสมัครงานที่ไหน นายจ้างสักกี่คนที่จะยินดีรับท่านเข้าทำงาน ถ้าทราบว่าท่านเคยโกง เคยยักยอกทรัพย์นายจ้างมาก่อน....กฎหมายเพื่อความสุขครับ....

แล้วพบกันใหม่ที่บทความต่อไปครับผม...

    กฎหมายเพื่อความสุข

   ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา
ทนายความจังหวัดศรีสะเกษ




11 ความคิดเห็น:

  1. ออกจากงานมาได้ 1 ปี(ออก 14 มค. 60) มาวันที่ 23 มค.61 มีหมายเรียกคดียักยอกทรัพย์ ควรทำยังไงคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ดูว่าทำจริงหรือเปล่าครับ...ทำจริงก็หาเงินไปคืนครับ เจรจาไกล่เกลี่ย จ่ายครบ คดีจบได้ครับ

      ลบ
  2. ตอนนี้ตำรวจนัดไปไกเกลี่ยกันกับตัวแทนนายจ้าง ไปตามหมายเรียกมีแนวโน้มที่จะติดคุกภายในวันนั้นเลยไหมคะ. แล้วหากเราไปมีเงินติดตัวไปประกันด้วยอย่างนี้ต้องทำอย่างไรค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. คงไม่ถูกจับครับ เพราะตำรวจเรียกไปไกล่เกลี่ย ถ้าเรียกแล้วไม่ไป ออกหมายจับ จึงมีสิทธิไม่ได้ประกันตัวครับ

      ลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ3 มีนาคม 2561 เวลา 00:19

    มีญาติโดนคดียักยอกทรัพย์ แต่เขายังไม่แจ้งตำรวจเอาผิดแต่เขาขู่ว่าจะจับตายญาติดิฉันเลยต้องหลบไปก่อนเพราะเขาก็มีอิทธิพลพอตัวค่ะต้องทำไงดีค่ะขอความกรุณาค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ก็ไปแจ้งตำรวจครับว่าเขามาขู่ฆ่า...หรือคุยกับคุนขู่ครับ ถ้าจ่ายเงินคืนให้จบเรื่องกันไป..เพราะเป็นคดีที่ยอมความได้ครับ..ยักยอกทรัพย์..

      ลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ23 มีนาคม 2561 เวลา 01:47

    คือผมได้รับมอบหมายจากบริษัทให้ไปเก็บเงินจากลูกค้า แต่ผมไม่ได้นำเงินไปส่งคืนบริษัท และทำหลายครั้ง นี่นับแต่ละครั้งเป็นกระทงๆไปใช่มั้ยครับ แล้วตอนนี้ ผมตกงานแล้ว ไม่มีทั้งเงินและทรัพย์สินนำไปขายหรือให้ยึดยอดเงินมากพอสมควรครับถ้ามีหมายศาลมาผมต้องไปใช่มั้ยครับ แล้วติดคุกเลยใช่มั้ยครับ ในเมื่อผมไม่มีเงินติดตวเลยตอนนี้

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ได้รับหมายศาลถ้าเป็นคดีอาญา ก็ต้องไปศาลครับ ไม่ไปถูกออกหมายจับ...คดีประเภทนี้ถ้าไม่จ่ายเงินคืนก็มีโอกาสติดคุกสูงครับผม...

      ลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ6 สิงหาคม 2562 เวลา 22:15

    เอาเงินนายจ้างมา69000แล้วนายจ้างไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้ในใบบันทึกประจำวันกำหนดชำระทั้งหมด11สิงหาคม​2562​ แต่ตอนนี้ยังหาเงินไม่ได้เลยเราจะติดคุกไหมค่ะ

    ตอบลบ
  6. ทางบริษัทให้ผมหาเงินไปชดใช้ประมาณ64,000บาทภายใน2วัน ซึ่งผมได้เซ็นยินยอมในหนังสือรับสภาพหนี้ไปแล้ว หากไม่นำเงินไปชำระจะแจ้งความ แต่ผมไม่มีเงินก้อนไปให้ ผลจะออกมาเป็นอย่างไรบ้างครับ

    ตอบลบ
  7. แล้วกรณี. พนักงาน. ร้านสะดวกชื้อยักยอกทัพย์
    แล้วเขาปรับ. 10เท่าเราจ่ายไปครึ่งนึ่งแล้วไม่มี. ใบเสร็จแบบนี้เขามีความผิดฐานกรรโชกทัพย์ใหมค่ะเพราะค่าเสียหายหลักพันแต่เราจ่ายไปหลักหมื่นแล้วไม่มีใบเสร็จ

    ตอบลบ