วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

อีตอแหล เป็นความผิดอาญา ยอมความไม่ได้

การด่าผู้อื่นว่า " อีตอแหล "เป็นความผิดอาญาหรือไม่ ?

การที่จำเลยกล่าวกับผู้เสียหายว่า "อีตอแหล มาดูผลงานของแก " เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายหรือไม่ ?



สวัสดีครับผม ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา ทนายความศรีสะเกษ กับกฎหมายเพื่อความสุข

วันนี้ขอเสนอคำว่า " อีตอแหล"   ด่าเพื่อนคำนี้จะติดคุกหรือเปล่า ?

1.ก่อนอื่นมาดูว่า อีตอแหล เป็นคำชม หรือคำด่า ?

สามัญชนคนธรรมดาทั่วไป 99 % ย่อมรู้สึกว่า อีตอแหล เป็นคำด่า ไม่ใช่คำชมเชยแน่ๆ
ตอแหล มีความหมายตามพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑฺิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า " เป็นคำด่าคนที่พูดเท็จ ซึ่งมีความหมายไปในทางเสื่อมเสีย

 2. การด่าคนอื่น ว่า ตอแหล จึงเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า เป็นความผิดอาญา 
เป็นความผิดอันยอมความไม่ได้....

การดูหมิ่นผู้อื่น หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย

ดังนั้น การกล่าวคำว่า ตอแหล ต่อบุคคลอื่น จึงเป็นการด่า เป็นการดูถูกเหยียดหยาม
และสบประมาทผู้อื่นว่าเป็นคนพูดเพ็จ จึงเป็นการดูหมิ่นอื่น อันเป็นความผิดตาม ปอ.มาตรา ๓๙๓

การด่าผู้อี่นว่า อีตอแหล เป็นความผิดอาญาฐานดูหม่ินผู้อื่นซึ่งหน้า ตามมาตรา ๓๙๓  มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถือเป็นความผิดลหุโทษ เป็นความผิดเล็กน้อย แต่เป็นความผิดอันยอมความไม่ได้....

ตัวอย่างฎีกา อีตอแหล 

ฎีกาที่ 8919/2552 โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91,136 และ 391

ศาลชั้นต้น พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ปรับ 400 บาท ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง  คงปรับ 200 บาท
ไม่ชำระค่าปรับ ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30 ข้อหาอื่นให้ยก

จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน

จำเลยฎีกา ว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 68

ศาลฎีกา วินิจฉัยตามฎีกาของจำเลย ประการแรกว่า  ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวต่อผู้เสียหายว่า
"อีตอแหล มาดูผลงานของแก " เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายหรือไม่ เห็นว่า การดูหมิ่นผู้อื่น หมายถึง
การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย การวินิจฉัยการกล่าววาจาอย่างไรเป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่า ถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยาม สบประมาทผู้ที่ถูกกล่าวหา หรือเป็นการทำให้ผู้ท่ีถูกกล่าวอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือว่าเป็นการดูหมิ่นแล้ว เมื่อตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายคำว่า "ตอแหล" ว่า เป็นคำด่าคนทีี่พูดเท็จ ซึ่งมีความหมายในทางเสื่อมเสีย การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำดังกล่าวต่อผู้เสียหายจึงเป็นการผูดด่าผู้เสียหาย เป็นการดูถูกเหยียดหยามและสบประมาทผู้เสียหายว่าเป็นคนพูดเท็จ จึงเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

ประเด็นข้อกฎหมายว่าเป็นการด่าเพื่อป้องก้ันตนเองนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า คดีนี้ จำเลยไม่ได้สืบข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ปรากฎในศาลชั้นต้นไว้  เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่นอกเหนือจากที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา เพื่อจะนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามไม่ให้จำเลยอุทธรณ์  ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ไม่ได้ ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้ ฎีกาจำเลยในข้อนี้ การป้องกันตัว ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
พิพากษายืน...

จากคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว การด่าคนอื่นว่าตอแหล เป็นความผิดอาญา มีโทษจำคุกหรือโดนปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท...

แต่ด่า " อีตอแหล "ได้ไม่มีความผิด ถ้าเป็นกันด่าเพื่อป้องกันตนเอง....

กฎหมายเพื่อความสุข

ทนายธีรวัฒน์  นามวิชา

ทนายความศรีสะเกษ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น